การศึกษาประสิทธิผลของการนวดกดจุด ประคบและพอกสมุนไพรเพื่อบำบัดอาการปวดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคข้อเข่าเสื่อมของโรงพยาบาลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ดลยา ถมโพธิ์
ลัดมะณี ศรีชา
สุนิษา ชูแสง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ในกลุ่มโรคกระดูกและข้อ การนวดกดจุดประคบร่วมกับการพอกสมุนไพร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ที่จะช่วยลดอาการปวดได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการนวดกดจุด ประคบและการพอกสมุนไพร ในการลดอาการปวดในผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม
วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนกลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองจะได้รับการนวด ประคบสมุนไพร และการพอกเข่าด้วยสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของไพล ขิง และข่า 1 ครั้ง ต่อ สัปดาห์ รวม 5 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ Pair t-test และ Independent t-test
ผลการศึกษา: ก่อนการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยระดับความปวดเข่าเท่ากับ 5.46±2.47 และ5.31±2.65 ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความปวดเข่า 2.57 ±1.28 ลดลงจากก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มควบคุม (3.49±1.80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: ข้อเข่าเสื่อม การนวด ประคบสมุนไพร การพอกเข่า

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. The burden of musculoskeletal conditions as the start of the new millennium: report of a WHO scientific group.[Internet]. 2003. [Cited cite 2020 Jan 26]. Available from : URL :https://www.apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/ 42721/WHO_TRS_919.pdf

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ.2557. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

Louati K, Vidal C, Berenbaum F, Sellam J. Association between diabetes mellitus and osteoarthritis: systematic literature review and meta-analysis. RMD Open 2015;1(1):e000077. doi: 10.1136/rmdopen-2015-000077

Newberry SJ, FitzGerald J, SooHoo NF, Booth M, Marks J, Motala A, et al Treatment of Osteoarthritis of the Knee: An Update Review [Internet]. Rockville (MD): Agency for Healthcare Research and Quality (US); 2017 May. Report No.: 17-EHC011-EF.

สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2548.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจและรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิช (กรุงเทพ) จำกัด; 2559.

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิช (กรุงเทพ) จำกัด; 2559.

ชุตินันท์ ขันทะยศ, กนกพร ปัญญาดี. ผลของถุงยาสมุนไพรประคบข้อเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. วารสารสุขภาพภาค2560;12(4):43-9.

ธวัชชัย เหล็กดี, ชิดชนก พืชผล. ผลของการพอกเข่าร่วมกับการให้ความรู้ตามหลัก 3 อ. ต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2562;36(1):39-46.

อนุสรณ์ ศรแก้ว, กฤษฎิ์ ทองบรรจบ, ดุสิดา ตู้ประกาย. ประสิทธิผลของการแพทย์แผนไทยต่ออาการข้อเข่าเสื่อมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2563;7(1):41-54.

Fleiss JL, edited. Statistical method for rate and proportions. 2nd. ed. New York : John Willey & Sons; 1981.

สุจิตรา บุญมาก. ผลการนวดไทยต่อผู้ป่วยอาการปวดข้อเข่าและอาการข้อเข่าฝืดในคลินิกแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2563;3(3):518-32.

Nivatananun W. Anti-inflammatory activity of some compounds found in Zingiber Cassumunar roxb. [Dissertations, academic ]. Filed of Pharmacology, Graduate School; Chiang Mai : Chiang Mai University; 1989

กิติศักดิ์ รุจิกาญจนรัตน์. ประสิทธิผลของการนวดไทยร่วมกับการทำท่าบริหารฤาษีดัดตนเพื่อบรรเทาอาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561;33(4):339-45.

สุระเพ็ญ สุวรรณสว่าง. ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาต่อระดับความปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2551.

ปิยะพล พลูสุข, สุชาดา ทรงผาสุก, เมริษา จันทา, เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงษ์, กิตรวี จิรรัตน์สถิต. ประสิทธิผลของยาพอกเข่าสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2560;18(1):104-11.

จันจิรา บิลหลี. ผลของโปรแกรมบรรเทาอาการปวดเข่าด้วยตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561;1(2):42-51.

Kuptniratsaikul V, Dajpratham P, Taechaarpornkul W, Buntragulpoontawee M, Lukkanapichonchut P, Chootip C, et al. Efficacy and safety of Curcuma domestica extracts compared with ibuprofen in patients with knee osteoarthritis: a multicenter study. Clin Interv Aging 2014;9:451-8. doi: 10.2147/CIA.S58535.