การเปรียบเทียบแบบวัดความรู้ด้านสุขภาพของประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ทิตยาวดี อินทรางกูร
ปิยะอร รุ่งธนเกียรติ
ประภาพรรณ สาวีรัมย์
กัญปะนา ภาพยนตร์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: สภาพโลกที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันประชาชนต้องมีความรู้ด้านสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งแบบประเมินการวัดความรู้ด้านสุขภาพ TOFHLA และ STOFHLA มีความสำคัญและพร้อมใช้ที่ เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่เนื่องจากรายงานผลวินิจฉัยได้เร็ว มีความแม่นยำ ประหยัดต้นทุนและไม่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวมาก
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบแบบความรู้ด้านสุขภาพ TOFHLA และ STOFHLA และศึกษาความสัมพันธ์ (เพศ อายุ การรับรู้ด้านสุขภาพตนเอง สถานะการเจ็บป่วย ระยะเวลาการศึกษา) ระหว่างแบบความรู้ด้านสุขภาพ TOFHLA และ STOFHLA ในตำบลบ้านยางและชุมเห็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง 120 คน ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางและชุมเห็ด ทำการศึกษาติดต่อกัน 2 ครั้ง ในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 แห่งที่มีขนาดเท่ากัน 60 คน ในตำบลบ้านยางช่วงสัปดาห์แรกใช้ TOFHLA ต่อมาอีก 1 สัปดาห์ใช้ STOFHLA และในตำบลชุมเห็ด 2 สัปดาห์แรกใช้ STOFHLA ต่อมาอีก 1 สัปดาห์ใช้ TOFHLA สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน Univariate analysis และ Multivariate analysis
ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยการทดสอบความรู้ด้านสุขภาพ TOFHLA 73.4 (ค่ามัธยฐาน 78; SD=17.9; ช่วง 0–100) STOFHLA 29.2 (ค่ามัธยฐาน 32; SD=6.1; ช่วง 0–36) เพศ ระยะเวลาการศึกษา และการรับรู้ด้านสุขภาพตนเองมีความสัมพันธ์กับแบบวัดความรู้ด้านสุขภาพ TOFHLA และ STOFHLA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.0, 0.0 และ 0.0 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่น TOFHLA 0.9 (การคำนวณ 0.7, การอ่านเพื่อความเข้าใจ 0.9) และ STOFHLA 0.9 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง TOFHLA และ STOFHLA 0.8 พื้นที่ภายใต้เส้นโค้งของการทดสอบทั้งสองคือ 0.7(95% CI; range,0.602–0.8)
สรุป: แบบวัดความรู้ด้านสุขภาพ TOFHLA และ STOFHLA สามารถคัดกรองความรู้ด้านสุขภาพได้เหมาะสม ไม่มีความแตกต่างระหว่างความน่าเชื่อถือและความถูกต้อง TOFHLA ควรมีการศึกษาต่อยอดใช้แบบวัดความรู้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ในชุมชน ซึ่งช่วยให้การบริหารจัดการ/ดำเนินการ/การส่งเสริมเกี่ยวกับความรู้ด้านสุขภาพเบื้องต้นและจัดโครงการแก้ปัญหาในชุมชน ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มระดับความรู้ด้านสุขภาพแก่ชุมชนได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ: ความรู้ด้านสุขภาพ ประชาชน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Davis TC, Long SW, Jackson RH, Mayeaux EJ, George RB, Murphy PW, et al. Rapid estimate of adult literacy in medicine: a shortened screening instrument. Fam Med 1993;25(6):391-5. PMID: 8349060

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. กลุ่มวัยทำงานอายุ 15 - 59 ปี ประจำปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

ขวัญเมือง แก้วดำ เกิง, ดวงเนตร ธรรมกุล. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558;9(2):1-8.

Bostock S, Steptoe A. Association between low functional health literacy and mortality in older adults: longitudinal cohort study. BMJ 2012;344:e1602. doi: 10.1136/bmj.e1602

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข. (ร่าง) แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 4 สิงหาคม2564]. เข้าถึงได้จาก:URL: http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20161115144754_1_แผน12.2559.pdf

Gazmararian JA, Baker DW, Williams MV, Parker RM, Scott TL, Green DC, et al. Health literacy among Medicare enrollees in a managed care organization. JAMA 1999;281(6):545-51. doi: 10.1001/jama.281.6.545.

ชนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร. การสำรวจความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy) ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

Baker DW, Wolf MS, Feinglass J, Thompson JA, Gazmararian JA, Huang J. Health literacy and mortality among elderly persons. Arch Intern Med 2007;167(14):1503-9. doi: 10.1001/archinte.167.14.1503

แก้ว ดำเกิง. เจาะลึก Health Literacy. ใน: ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. เอกสารการประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 18 เรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพยุค 4.0. วันที่

– 20 พฤษภาคม 2560 ณ โรงแรมจอมเทียน ปาล์มบีช โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560:8-23.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promot Intl 2000;15(3):259-67. https://doi.org/10.1093/heapro/15.3.259

Baker DW, Wolf MS, Feinglass J, Thompson JA, Gazmararian JA, Huang J. Health literacy and mortality among elderly persons. Arch Intern Med 2007;167(14):1503-9. doi: 10.1001/archinte.167.14.1503.