รูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดตามกรอบมิติคุณภาพการบริการผู้คลอด

Main Article Content

จุฬารัตน์ ห้าวหาญ
พรจิต จันโทภาส
ศีตรา มยูขโชติ
บุญสืบ โสโสม
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง

บทคัดย่อ

     การคลอดก่อนกำหนดยังเป็นปัญหาที่สำคัญทางสูติกรรมในประเทศไทย เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและภาวะทุพพลภาพของทารกแรกเกิด การป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นบทบาทที่สำคัญของพยาบาลในการช่วยลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่พัฒนาพัฒนาขึ้นตามกรอบมิติคุณภาพการบริการผู้คลอดที่กำหนดหน้าที่หลักทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพไว้ 7 ประการ ขั้นตอนการพัฒนาที่ประกอบไปด้วยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง การวิเคราะห์เอกสารแนวปฏิบัติที่ประกาศใช้ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้มาออกแบบรูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดแล้ว มีการประเมินคุณภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทดลองใช้ พร้อมประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลนี้
     รูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่พัฒนาขึ้นเป็นการทำงานร่วมกันหลายวิชาชีพ ให้การดูแลตั้งแต่แรกรับที่ห้องคลอด การดูแลที่ห้องเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จนจำหน่ายกลับบ้าน พร้อมกับการติดตามเยี่ยม ซึ่งได้ผลดีในการยืดอายุครรภ์ ลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดได้รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโรงพยาบาลอื่นได้
คำสำคัญ: การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด รูปแบบการพยาบาล หญิงตั้งครรภ์ กรอบมิติคุณภาพการบริการ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

อุ่นใจ กออนันตกุล. การคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนดเพื่อการรักษา. สูตินรีแพทย์สัมพันธ์ 2562;28(1):8-15.

ชลทิชา รักษาธรรม, ทวีศักดิ์ กสิผล, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. แนวปฏิบัติการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างต่อเนื่อง. วารสารพยาบาลทหารบก 2561;19(พิเศษ):348-56.

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. การประกันคุณภาพการพยาบาล: การประเมินคุณภาพการบริการพยาบาลผู้คลอด. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพ); 2554.

The AGREE Research Trust. Appraisal of guidelines for research & evaluation II. Canada : Agree Next Steps Consortium; 2013.

คณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก พ.ศ.2556-2558, คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556-2558. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดและถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2558.

ศิริวรรณ แสงอินทร์. การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2557;22(1): 27-38.

Cunniham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Dashe JS, Hoffman BL, Casey BN, Spong CY. Williams Obstetrics. 25thed. NY: Mc Graw Hill Education: 2018.

พรศิริ เสนธิริ, สุดใจ ศรีสงค์, รัศมีแข พรหมประกาย, มณีรัตน์ เพิ่มชาติ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2559; 34(2): 164-73.

กัลยา มณีโชติ, นิจ์สากร นังคลา. การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารกองการพยาบาล 2560; 44(2): 7-25.3.

วรรณทนีย์ ลีฬหาพงศธร, พรทิพย์ จันทาทิพย์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในห้องคลอด โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารกองการพยาบาล 2559;43(พิเศษ):46-62

นวรัตน์ ไวชมภู, อาภรณ์ คงช่วย. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2558;2(3):114-28.

ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, อัมพร คงจีระ, ราตรี ศิริสมบูรณ์, กาญจนา พิมล, อัมพัน เฉลิมโชคเจริญกิจ. การสนับสนุนทางสังคม ความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารสภาการพยาบาล 2550; 22(1): 60 - 71.

รุ้งตวรรณ์ ช้อยจอหอ, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, เอมพร รตินธร, เอกชัย โควาวิสารัช. ผลของการบำบัดทางการพยาบาลต่อการจัดการเพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การกลับมารักษาซ้ำและอายุครรภ์เมื่อคลอด ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. J Nurs Sci 2552; 27(2): 39-48.