การจัดการความกลัวการคลอดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

Main Article Content

มลิวัลย์ รัตยา
วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี
เบญจวรรณ ละหุการ

บทคัดย่อ

     บทความวิชาการฉบับนี้เขียนจากการทบทวนวรรณกรรมและประสบการณ์การทำงานของผู้เขียน ซึ่งกล่าวถึงความกลัวและวิธีการจัดการความกลัวการคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นความกลัวเป็นความรู้สึกด้านลบ เป็นสภาวะทางอารมณ์ที่ซับซ้อน และเป็นความรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ อันเกิดจากการคาดเดาเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเองในอนาคตว่ามีอันตราย ความกลัวการคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นจึงเป็นการตอบสนองทางด้านอารมณ์ความรู้สึกและการคาดคิดเกี่ยวกับการคลอดที่กำลังจะมาถึงว่าเป็นอันตราย โดยเฉพาะในระยะใกล้ถึงกำหนดคลอด ความกลัวที่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นต้องเผชิญเมื่อมาคลอด ได้แก่ กลัวความเจ็บปวด กลัวถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว และกลัวบุคลากรในห้องคลอด ประกอบกับหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีการพัฒนาทางด้านจิตใจยังไม่สมบูรณ์จึงไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นส่วนใหญ่จะมีอารมณ์รุนแรง อ่อนไหว เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ส่งผลให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาไม่เหมาะสมดังนั้นวิธีการจัดการความกลัวการคลอดของหญิงตั้งครรภ์มี 2 แบบด้วยกันคือ แบบมุ่งจัดการอารมณ์ และแบบมุ่งจัดการกับปัญหา บทความฉบับนี้เป็นการทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับความกลัวและการจัดการความกลัวรวมถึงผลงานการวิจัยที่ผ่านมาซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดประเด็นการวิจัยเกี่ยวกับความกลัวและการจัดการความกลัวการคลอดได้ในอนาคต
คำสำคัญ: การจัดการความกลัวการคลอด หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

Article Details

บท
บทความฟื้นฟูวิชาการ

References

1. กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. นนทบุรี : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.

2. ศรุตยา รองเลื่อน, ภัทรวลัย ตลึงจิตร, สมประสงค์ ศิริบริรักษ์. การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น: การสำรวจปัญหาและความต้องการการสนับสนุนในการรักษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศิริราช 2555;5(1):14-28.

3. ทองพูล บัวศรี. ชีวิตของพ่อแม่วัยรุ่นในแหล่งก่อสร้าง. ใน: ประสงค์ ตันมหาสมุทร, พฤหัส จันทร์ประภาพ, อรรถพล ใจชื่น, ธันยารัตน์ วงค์วนานุรักษ์, ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์, บรรณาธิการ. สูตินรีเวชทันยุค. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เอ. ลิฟวิ่ง; 2557: 7-12.

4. ดลฤดี เพชรขว้าง, จรรยา แก้วใจบุญ, เรณู บุญทา, กัลยา จันทร์สุข. รายงานการวิจัยการตั้งครรภ์วัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น. พะเยา : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา; 2554.

5. นันทพร แสนศิริพันธ์. ความกลัวการคลอดบุตร. พยาบาลสาร 2556;40(พิเศษ) :103-12.

6. ธวัลรัตน์ กิตติศักดิ์ชัย. ความกลัวการคลอดบุตรในสตรีมีครรภ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

7. เรวดี แป้นย้อย, ศศิธร พุมดวง, เบญญาภา ธิติมาพงษ์. ความกลัวการคลอดและกลวิธีการจัดการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2558;38(4):34-43.

8. Waldenström U, Hildingsson I, Ryding EL. Antenatal fear of childbirth and its association with subsequent caesarean section and experience of childbirth. BJOG 2006;113(6):638-46. doi: 10.1111/j.1471-0528.2006.00950.x.

9. Nerum H, Halvorsen L, Sørlie T, Oian P. Maternal request for cesarean section due to fear of birth: can it be changed through crisis-oriented counseling?. Birth 2006;33(3):221-8. doi: 10.1111/j.1523-536X.2006.00107.x.

10. Laursen M, Johansen C, Hedegaard M. Fear of childbirth and risk for birth complications in nulliparous women in the Danish National Birth Cohort. BJOG 2009;116(10):1350-5. doi: 10.1111/j.1471-0528.2009.02250.x.

11. Räisänen S, Lehto SM, Nielsen HS, Gissler M, Kramer MR, Heinonen S. Fear of childbirth predicts postpartum depression: a population-based analysis of 511 422 singleton births in Finland. BMJ Open 2013;3(11):e004047. doi: 10.1136/bmjopen-2013-004047.

12. Salomonsson B, Gullberg MT, Alehagen S, Wijma K. Self-efficacy beliefs and fear of childbirth in nulliparous women. J Psychosom Obstet Gynaecol 2013;34(3):116-21. doi: 10.3109/0167482X.2013.824418.

13. World Health Organize [WHO]. Adolescent health: Issue in adolescent development. [Internet]. [Retrieved 2021 July 20]. Available from : URL: http://www.who.int/making_pregnancysafer/topics/ adolescentpregnancy/en/Index.html

14. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 30กรกฎาคม 2564]. ค้นได้จาก:URL: http://rh.anamai.moph.go.th/all_file/index/fact_sheet.pdf.

15. นันทพร แสนศิริพันธ์, สุกัญญา ปริสัญญกุล. การพยาบาลในระยะคลอด: แนวคิด ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. เชียงใหม่ : ครองช่างพริ๊นท์ติ้ง จำกัด; 2558.

16. บุษกรสีหรัตนปทุม. รายงานการวิจัย ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์: การตั้งครรภ์ขณะวัยรุ่น และ Unwanted child กับมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์. กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช; 2555.

17. Hamilton BE, Ventura SJ. Birth rates for U.S. teenagers reach historic lows for all age and ethnic groups. NCHS Data Brief 2012;(89):1-8.

18. Maternal and Child Health Bureau, Health Resources and Services Administration, U.S. Department of Health and Human Services. Developing adolescent: A reference for professionals. Washington, DC: American Psychological Association; 2002.

19. Sauls DJ. Promoting a positive childbirth experience for adolescents. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2010;39(6):703-12.

20. ดาริกา วรวงศ์, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, ชุดา ไชยศิวามงคล. ระดับความเจ็บปวดของมารดาในระยะที่ 1 ของการคลอดหลังได้รับการบรรเทาปวด โดยใช้เทคนิคการหายใจ การลูบหน้าท้อง และการนวดก้นกบ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ2554;34(3):31-9.

21. เนตรชนก แก้วจันทา. ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตั้งครรภ์: ปัจจัย ผลกระทบ และการป้องกัน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2555;35(1):83-90.

22. Mukamurigo JU, Berg M, Ntaganira J, Nyirazinyoye L, Dencker A. Associations between perceptions of care and women's childbirth experience: a population-based cross-sectional study in Rwanda. BMC Pregnancy Childbirth 2017;17(1):181. doi: 10.1186/s12884-017-1363-z.

23. แววดาว พิมลธเรศ. อุบัติการณ์การตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาลหนองใหญ่จังหวัดชลบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2555;29(4):301-10.

24. สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, ปราณิสา กิตติปฤษฎา. ผลของโปรแกรมให้ความรู้ และการช่วยเหลือของญาติต่อความเจ็บปวด ความกลัว และความวิตกกังวลของผู้คลอดครรภ์แรกในระยะที่หนึ่งของการคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2557;36(1):23-30.

25. ชุลีพร การะภักดี, วรรณี เดียวอิศเรศ, อุษา เชื้อหอม. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงต่อความกลัวการคลอดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดในผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2562;27(2):20-29.

26. ศิริวรรณ กำแพงพันธ์, ฐิตวี แก้วพรสวรรค์, สุพร อภินันทเวช. ปัจจัยทางจิตสังคมกับการตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่นที่โรงพยาบาลศิริราช. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2554; 56(3): 255-66.

27. ปราณิสา กิตติปฤษฎา. ผลของโปรแกรมการเตรียมญาติเพื่อลดความเจ็บปวด ความกลัวและความวิตกกังวลของผู้คลอดครรภ์แรกในระยะที่หนึ่งของการคลอด. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

28. de Gelder B, Snyder J, Greve D, Gerard G, Hadjikhani N. Fear fosters flight: a mechanism for fear contagion when perceiving emotion expressed by a whole body. Proc Natl Acad Sci U S A 2004;101(47):16701-6. doi: 10.1073/pnas.0407042101.

29. Stuart GW, Laraia MT. Principles and Practice of Psychiatric Nursing. 8th.ed. St. Louis: Mosby, Inc.; 2005.

30. วิชญา เวชยันต์ศฤงคาร. ผลของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นที่คลอดครรภ์แรกในโรงพยาบาลบางใหญ่. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2555;29 (2):82-92.

31. กชกร ตัมพวิบูลย์. ผลของการเตรียมตัวเพื่อคลอดต่อความกลัว พฤติกรรมการเผชิญภาวะเจ็บครรภ์และความพึงพอใจการคลอดในสตรีครรภ์แรก. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. ภาควิชาการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล: 2548.

32. Farangis Khosravy, Roonak Shahoei, Lila Hashemi Nasab, Fariba Ranaei, Mohamad Abdolahi. Fears associated with Pregnancy and Childbirth among Kurdish Women in Iran. Life Sci J 2013; 10 (2s): 367-73.

33. Lazarus RS., Folkman S. Stress, Appraisal, and Coping. New York : Springer Publishing Company; 1984.

34. Frydenberg E, Lewis R. Boys play sport and girls turn to others: age, gender and ethnicity as determinants of coping. J Adolesc 1993;16(3):253-66. doi: 10.1006/jado.1993.1024.