ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลปักธงชัย

Main Article Content

ชูสง่า สีสัน
ธณกร ปัญญาใสโสภณ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างเพียงพอมีการติดตาม กระตุ้นเตือน การให้คำปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ และการเยี่ยมบ้านสามารถส่งผลให้ผู้ป่วยมีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วและน้ำตาลสะสมได้ดีขึ้นกว่าเดิม
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลปักธงชัย
รูปแบบการศึกษา: การศึกษากึ่งทดลอง
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารักษาประจำและต่อเนื่อง จำนวน 30 ราย เป็นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 คนสำหรับเข้าร่วมกิจกรรมตามปกติของโรงพยาบาล โดยการสุ่มแบบเจาะจงร่วมกับการสมัครใจ ระยะเวลา 20 สัปดาห์ เครื่องมือการวิจัยได้แก่ โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วและน้ำตาลสะสม จากเวชระเบียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลการศึกษา: 1) ภายหลังได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มทดลอง มีความรอบรู้ด้านสุขภาพดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ภายหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) 2) ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มทดลอง มีระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว เท่ากับ 117.6 (SD=14.5) มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และค่าน้ำตาลสะสมหลังการทดลอง เท่ากับร้อยละ 7.3 (SD=1.2)
สรุป: โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ และปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองได้ดีขึ้น ดังนั้น ควรนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อให้สามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยลดหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน
คำสำคัญ: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประสิทธิผลของโปรแกรม โรคเบาหวานชนิดที่ 2

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promot Int 2000;15(3):259 – 67.

อัศนี วันชัย, ภาวดี โตท่าโรง, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก. ประสบการณ์การจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อาศัยอยู่ในเขตชนบท. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2020;30(1):69-81.

World Health Organization. Diabetes. [Internet]. 2020. [cited 2021 Aug. 26]. Available from : URL: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง 2562. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

Mori Y, Futamura A, Murakami H, Kohashi K, Hirano T, Kawamura. Increased detection of mild cognitive impairment with type 2 diabetes mellitus using the Japanese version of the Montreal Cognitive Assessment: Apilot study. Increased detection of mild cognitive impairment with type 2 diabetes mellitus using the Japanese version of the Montreal Cognitive Assessment: A pilot study. Neurol Clin Neurosci 2015;3(3):89-93.

อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์. การขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสื่อสารสุขภาพ [อินเทอร์เนต]. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2564]. ค้นได้จาก : URL: http://doh.hpc.go.th/data/HL/HL_DOH_drive.pdf.

ปกาสิต โอวาทกานนท์. ผลการดูแลรักษาเบาหวานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลทรายมูล. ศรีนรินทร์เวชสาร 2554;24(6):339-49.

นดี ใจแสน. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับวิธีการควบคุมโรคในบุคคลที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, นิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;6(3):103-9.

Baker DW, Wolf MS, Feinglass J, Thompson JA, Gazmararian JA, Huang J. Health literacy and mortality among elderly persons. Arch Intern Med 2007;167(14):1503-9. doi: 10.1001/archinte.167.14.1503.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, รสติกร ขวัญชุม, ลัดดา เรืองด้วง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต.คลองฉนาก อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4(1):253-64.

สุภาพ พุทธปัญโญ, นิจฉรา ทูลธรรม, นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพ พฤติกรรมการลดน้ำหนักและน้ำหนักของบุคลากร ที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2559;9(4):42-59.

อารยา เชียงของ. ผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน [ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต]. สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ; 2561.

เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว, วัชรีวงค์ หวังมั่น. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2020;29(3):419-29.

โรงพยาบาลปักธงชัย นครราชสีมา. ข้อมูลสารสนเทศโรงพยาบาลปักธงชัย นครราชสีมา. นครราชสีมา: โรงพยาบาลปักธงชัย; 2562. (สำเนาอัด).

ชูสง่า สีสัน, ธณกร ปัญญาใสโสภณ. ผลของโปรแกรมความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2563;6(2):155-69.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

Cavanaugh K, Wallston KA, Gebretsadik T, Shintani A, Huizinga MM, Davis D, et al. Addressing literacy and numeracy to improve diabetes care: two randomized controlled trials. Diabetes Care 2009;32(12):2149-55. doi: 10.2337/dc09-0563.

Hill-Briggs F, Renosky R, Lazo M, Bone L, Hill M, Levine D, et al. Development and pilot evaluation of literacy-adapted diabetes and CVD education in urban, diabetic African Americans. J Gen Intern Med 2008;23(9):1491-4. doi: 10.1007/s11606-008-0679-9.

Ntiri DW, Stewart M. Transformative learning intervention: effect on functional health literacy and diabetes knowledge in older African Americans. Gerontol Geriatr Educ 2009;30(2):100-13. doi: 10.1080/02701960902911265.

Kandula NR, Nsiah-Kumi PA, Makoul G, Sager J, Zei CP, Glass S, et al. The relationship between health literacy and knowledge improvement after a multimedia type 2 diabetes education program. Patient Educ Couns 2009;75(3):321-7. doi: 10.1016/j.pec.2009.04.001.

Chiarella D, Keefe L. Creating a consumer health outreach program for Western New York senior citizens: continuing a library school project. Med Ref Serv Q 2008;27(2):221-8. doi: 10.1080/02763860802114710.

Susic J. NIH Senior Health Classes for Senior Citizens at a Public Library in Louisiana. Journal of Consumer Health on the Internet 2009;13(4):417-419.