ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยประยุกต์ใช้การออกกำลังกายแบบโอทาโก ร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมในการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ

Main Article Content

ชมพูนุท ชีวะกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งปัญหาสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย พบว่าการหกล้มเป็นสาเหตุสำคัญของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยประยุกต์ใช้การออกกำลังกายแบบโอทาโก ร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมในการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ
รูปแบบการศึกษา: วิจัยกึ่งทดลอง
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์สาขา 1 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 36 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย เป็นระยะเวลาทั้งหมด 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วัดความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัว ทดสอบความสามารถในการทรงตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนาและ Paired Sample t-test และ Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการหกล้มมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม การทดสอบความสามารถในการทรงตัว กลุ่มทดลองมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม และมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุป: โปรแกรมการออกกำลังกาย โดยประยุกต์ใช้การออกกำลังกายแบบโอทาโก ร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมในการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุมีผลทำให้ความรู้ การรับรู้ พฤติกรรมการปฏิบัติตัว และความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
คำสำคัญ: หกล้ม การยืดกล้ามเนื้อ การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การฝึกการทรงตัว ผู้สูงอายุ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand). สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 2556;3(16), 1-19.

สำนักงานส่งสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุช. การเฝ้าระวังสถานะสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชนบท พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร : สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลเบื้องต้นการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. สำนักสถิติสังคม : สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. ภาวะหกล้มในผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

กลุ่มงานแผนยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลบุรีรัมย์. รายงานประจำปี พ.ศ. 2562 กลุ่มงานเวชกรรมสังคม, รายงานการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปี พ.ศ. 2562 ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์ สาขา 1. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลบุรีรัมย์; 2563.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก; 2557.

รัศมี มาลาหอม. ผลการใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญา สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.

อธิพงศ์ พิมพ์ดี. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม ร่วมกับการออกกำลังกาย โดยการเต้นรำจังหวะ Paslop เพื่อป้องกันการหกล้มในหญิงไทยก่อนวัยสูงอายุ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ. คณะศึกษาศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวิสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา; 2555.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. ยากันล้ม คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เดอะแฟรี คาราวาน จำกัด; 2557.

Thomas S, Mackintosh S, Halbert J. Does the 'Otago exercise programme' reduce mortality and falls in older adults?: a systematic review and meta-analysis. Age Ageing 2010;39(6):681-7. doi: 10.1093/ageing/afq102.

Songvut P, Srimuang P, Tudpor K. Fall prevention by Otago exercise program based on health belief model in community-dwelling older persons. Indian J Physiother Occup Ther 2020:14(1);245-524. doi 10.5958/0973-5674.2020.00044.1

Berg KO, Wood-Dauphinee SL, Williams JI, Maki B. Measuring balance in the elderly: validation of an instrument. Can J Public Health. 1992 Jul-Aug;83 Suppl 2:S7-11.

ศินาท แขนอก. ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่มารับบริการคลินิกผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

วิลาวรรณ สมตน. ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

พิมพ์วัสสา เกตุเพ็ชร. การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาสาธารณสุขศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.

อมรรัตน์ เนียมสวรรค์. ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิdโดยใช้ดนตรีโปงลางต่อสมรรถภาพทางกายและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2555;6(2):62–75.