มาตรฐานการผลิตน้ำดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิทของสถานประกอบการพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: น้ำดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท จัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารประเภทควบคุมเฉพาะ มีกฎหมายควบคุมจากข้อมูลกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. 2558 พบว่าน้ำดื่มมีคุณภาพได้มาตรฐาน ร้อยละ 56.6 โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน คือ ปัญหาด้านกายภาพและจุลินทรีย์ปัจจุบันความต้องการบริโภคน้ำดื่มในภาชนะบรรจุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ และมีการผลิตน้ำดื่มเพิ่มมากขึ้น มีโอกาสปนเปื้อนจุลินทรีย์ และสารเคมีอันตรายได้ งานวิจัยนี้จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานการผลิตและคุณภาพน้ำดื่ม เพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบการนำไปปรับปรุงมาตรฐานการผลิตน้ำดื่มให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษามาตรฐานการผลิตน้ำดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท ของสถานประกอบการในพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ
สถานที่ทำการศึกษา: สถานประกอบการผลิตน้ำดื่มบริโภค ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ Cross-sectional study กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สถานประกอบการผลิตน้ำดื่มบริโภคในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ จำนวน 28 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบตรวจประเมินมาตรฐานการผลิตน้ำดื่มตามหลักเกณฑ์จีเอ็มพี ชุดทดสอบคุณภาพน้ำดื่มภาคสนาม ได้แก่ การปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในนํ้า ความเป็นกรด-ด่าง ความกระด้าง และปริมาณคลอรีนอิสระในน้ำ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ไควสแควร์ (Fisher’s exact test), Odd ratio โดยยอมรับนัยสำคัญที่ p-value น้อยกว่า0.05 หรือ 95% CI สำหรับสถิติเชิงอนุมาน
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 28 แห่ง เป็นสถานประกอบการไม่เข้าข่ายโรงงาน 14 แห่ง (ร้อยละ 50) มีค่า มัธยฐานของกำลังแรงม้า 7.8 แรงม้า ระยะเวลาเปิดดำเนินการ5 ปี และจำนวนพนักงาน3 คน ใช้น้ำบาดาลเป็นแหล่งผลิต 21 แห่ง (ร้อยละ 75) มีสถานประกอบการผ่านมาตรฐานจีเอ็มพีในภาพรวมทั้งหมด 23 แห่ง (ร้อยละ 82.1) โดยมาตรฐานหมวด4 และหมวด8ผ่านมากที่สุดคือ 27 แห่ง (ร้อยละ 96.4) รองลงมาได้แก่ หมวด1 และหมวด6 จำนวน 25 แห่ง (ร้อยละ 89.3) สำหรับมาตรฐานจีเอ็มพีที่ผ่านน้อยที่สุดคือหมวด3 จำนวน 15 แห่ง (ร้อยละ53.6) ผลการศึกษาคุณภาพของน้ำดื่มพบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 14 แห่ง (ร้อยละ 50) ส่วนคุณภาพด้านความกระด้าง ปริมาณคลอรีนอิสระ และความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ผ่านมาตรฐานทั้งหมด การศึกษานี้พบว่ามาตรฐานการผลิตจีเอ็มพีหมวด7 มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำดื่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (χ2= 3.89, p-value=0.046)โดยสถานประกอบการที่ไม่ผ่านจีเอ็มพีหมวด7 ตรวจพบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำภาชนะบรรจุปิดสนิท ในสัดส่วนที่มากกว่าสถานที่ผลิตที่ผ่านจีเอ็มพีหมวด7 8 เท่า (OR=8.00, 95%CI =1.28-50.04)
สรุป: สถานประกอบการผลิตน้ำดื่มส่วนมากผ่านมาตรฐานจีเอ็มพีในภาพรวม แต่ในหมวด3 ผ่านมาตรฐานน้อยที่สุด และพบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำดื่มภาชนะบบรจุปิดสนิทโดยมีความสัมพันธ์กับมาตรฐานจีเอ็มพีหมวด 7 ดังนั้นควรเน้นย้ำให้ผู้ผลิตน้ำดื่มมีความเข้มงวดในการรักษาการผลิตตามมาตรฐานจีเอ็มพีดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
คำสำคัญ: สถานประกอบการผลิตน้ำดื่มบริโภคในภาชนะปิดสนิท มาตรฐานการผลิตจีเอ็มพี คุณภาพนํ้าดื่มบริโภค
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. Drinking water.[Internet]. 2019. [cited 2020,Nov 10]. Available from:URL: http://www.who.int/topics/Drinking_water/en.
ปวิต คตโคตร, บรรณาธิการ. แผนงานวิจัยด้านป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพ พ.ศ.2562-2564. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2562.
กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 61) พ.ศ.2524 เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ แผนกราชกิจจา 98 ร.จ.52ตอนที่ 157 (ลงวันที่24 กันยายน พ.ศ.2524).
อภิชัย มงคล.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจเฝ้าระวัง คุณภาพน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำแข็งทั่วประเทศปี 2558. [อินเตอร์เน็ท].(2558). [สืบค้น 10 มกราคม 2564 ]. ค้นได้จ าก:URL: http://www.dmsc.moph.go.th/secretary/pr/news_detail.php?cid=1&id=140.
ดุษณี สุทธปรียาศรี, อัญชลี ตัณฑศุภศิริ, นิภาพรรณกังสกุลนิติ. คุณภาพนํ้าดื่มในกรุงเทพฯ. วารสารมหิดล 2539; 3(4): 167-71.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานผลการตรวจประเมินสถานประกอบการผลิตอาหาร ปี พ.ศ.2563 รายงานผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานราชการตามตัวชี้วัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษปีงบประมาณ 2563. ศรีสะเกษ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ; 2563.
เมธาวี พลยิ่ง, วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์. การสํารวจสถานที่ผลิตนํ้าบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามหลักเกณฑ์ วิธีการผลิตที่ดี (จีเอ็มพี) ในจังหวัดกาฬสินธุ์. KKU Res J 2013;18(6):1049-62.
กัญญ์ศิริ จันทร์เจริญ. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (Identifying Population and Sample).[อินเตอร์เน็ท].(2558). [สืบค้น 17 มกราคม 2564 ]. ค้นได้จาก:URL: https://www.ict.up.ac.th/surinthips/ResearchMethodology_2554/เอกสารเพิ่มเติม/การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง.PDF.
เดชาวุธ นิตยสุทธิ. สถิติและการวิจัยในการจัดการสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : เอเอ็นที ออฟฟิศ เอ็กเพรส; 2557.
ชวัลวลัย เมฆสวัสดิชัย, ชิดชนก เรือนก้อน. คุณภาพของน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทในจังหวัดสระบุรีและแนวทางการปรับปรุง. วารสารเภสัชกรรมไทย 2559;8(1): 139-48.
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์, หทัยทิพย์ บรรเจิดจรัสเลิศ, วัชรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย. การประเมินคุณภาพของน้ำดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2557;33(5):454-9.