คุณค่าเชิงวินิจฉัยของอัลตราซาวด์ในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน

Main Article Content

จุฑารัตน์ นรเศรษฐ์สิงห์

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเป็นภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมในช่องท้องที่พบบ่อย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการยังไม่ชัดเจน การตรวจทางรังสีมีบทบาทในการช่วยวินิจฉัยภาวะนี้ รวมถึงเพื่อการแยกโรคอื่นๆที่อาจทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องน้อยด้านล่างขวาออกไป ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วมากขึ้น ปัจจุบันอัลตราซาวด์เป็นการตรวจที่นำมาใช้ในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะไส้ติ่งอักเสบมากขึ้นเนื่องจากไม่มีปริมาณรังสี(radiation dose)
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแม่นยำของการใช้อัลตราซาวด์เป็นเครื่องมือตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นสำหรับภาวะไส้ติ่งอักเสบ เปรียบเทียบกับผลที่พบในการผ่าตัดและพยาธิวิทยาและเพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพทางอัลตราซาวด์ที่พบในผู้ป่วยที่สามารถเห็นไส้ติ่งจากการตรวจ รวมถึงลักษณะที่พบร่วมอื่นๆในผู้ป่วยที่ปวดท้องด้านล่างขวา
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษา diagnostic accuracy research แบบย้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospective cross-sectional design with population-based data collection) เก็บข้อมูลในผู้ป่วยที่ได้รับการส่งมาตรวจ อัลตราซาวด์ที่แผนกรังสีวิทยาโรงพยาบาลสุรินทร์แบบฉุกเฉินด้วยอาการปวดท้องน้อยด้านขวาล่าง หรือระบุว่าสงสัยไส้ติ่งอักเสบ ในระหว่าง 1 สิงหาคม พ.ศ.2563 ถึง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการติดตามต่อว่าได้รับการผ่าตัดหรือรักษาตามอาการโดยไม่ได้รับการผ่าตัดหากได้รับการผ่าตัด บันทึกผลพยาธิวิทยา ในรายที่ผลอัลตราซาวด์เป็นลบที่ไม่ได้ผ่าตัด เก็บข้อมูลสรุปวินิจฉัยผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน และเก็บข้อมูลในรายที่มีการมาติดตามอาการหลังกลับบ้านภายในระยะเวลา 1 เดือน
ผลการศึกษา: อัลตราซาวด์มีความไวในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบค่อนข้างต่ำเพียงร้อยละ 50(95% CI; 31.3-68.7)แต่มีความจำเพาะค่อนข้างสูงร้อยละ 95.7 (95% CI; 87.8-99.1)positive predictive valueร้อยละ 83.3(95% CI; 58.6-96.4) และnegative predictive valueร้อยละ81.5 (95% CI; 71.3-89.2) จากการอัลตราซาวด์ ไม่สามารถมองเห็นไส้ติ่งได้ร้อยละ 76.8เห็นไส้ติ่งมีขนาดมากกว่า 6 มิลลิเมตร ร้อยละ 18.2ไขมันในช่องท้องมี echogenicity เพิ่มขึ้น(echogenic fat) ร้อยละ 3มีน้ำในช่องท้องร้อยละ 12.1 และมีfluid collection ร้อยละ 6.1
สรุป: อัลตราซาวด์มีความจำเพาะสูงในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ แต่มีความไวต่ำในการวินิจฉัยดังนั้น อัลตราซาวด์จึงมีประโยชน์ในผู้ป่วยรายที่มีอาการปวดท้องน้อยด้านล่างขวาและมีการวินิจฉัยจากอาการได้ไม่ชัดเจน ในรายที่ตรวจพบไส้ติ่งมีขนาดมากกว่า 6 มิลลิเมตร สามารถช่วยวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบได้และช่วยลดความเสี่ยงการได้รับรังสีจากการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในคนไข้กลุ่มนี้แต่ในผู้ป่วยที่ผลอัลตราซาวด์เป็นลบ ควรต้องพิจารณาร่วมกับอาการ การตรวจร่างกาย และอาจส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพิ่มเติมในกรณีที่ยังสงสัย นอกจากนี้อัลตราซาวด์ยังมีประโยชน์ในแง่ของการช่วยวินิจฉัยโรคอื่นที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยปวดท้องน้อยด้านล่างขวาที่ไม่ใช่ไส้ติ่งอักเสบ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Ferris M, Quan S, Kaplan BS, Molodecky N, Ball CG, Chernoff GW, et al. The Global Incidence of Appendicitis: A Systematic Review of Population-based Studies. Ann Surg 2017;266(2):237-41. doi: 10.1097/SLA.0000000000002188.

Rybkin AV, Thoeni RF. Current concepts in imaging of appendicitis. Radiol Clin North Am 2007;45(3):411-22, vii. doi: 10.1016/j.rcl.2007.04.003.

Espejo OdJA, Mejía MEM, Guerrero LHU. Acute appendicitis: imaging findings and current Approach to diagnostic images. Rev Colomb Radiol 2014; 25(1): 3877-88.

Expert Panel on Gastrointestinal Imaging:, Garcia EM, Camacho MA, Karolyi DR, Kim DH, Cash BD, et al. ACR Appropriateness Criteria ® Right Lower Quadrant Pain-Suspected Appendicitis. J Am Coll Radiol 2018;15(11S):S373-S387. doi: 10.1016/j.jacr.2018.09.033.

Costello JE, Cecava ND, Tucker JE, Bau JL. CT radiation dose: current controversies and dose reduction strategies. AJR Am J Roentgenol 2013;201(6):1283-90. doi: 10.2214/AJR.12.9720.

Harris PA, Taylor R, Thielke R, Payne J, Gonzalez N, Conde JG. Research electronic data capture (REDCap)--a metadata-driven methodology and workflow process for providing translational research informatics support. J Biomed Inform 2009;42(2):377-81. doi: 10.1016/j.jbi.2008.08.010.

Puylaert JB. Acute appendicitis: US evaluation using graded compression. Radiology. 1986 Feb;158(2):355-60. doi: 10.1148/radiology.158.2.2934762.

D'Souza N, D'Souza C, Grant D, Royston E, Farouk M. The value of ultrasonography in the diagnosis of appendicitis. Int J Surg. 2015 Jan;13:165-169. doi: 10.1016/j.ijsu.2014.11.039.

Pacharn P, Ying J, Linam LE, Brody AS, Babcock DS. Sonography in the evaluation of acute appendicitis: are negative sonographic findings good enough?. J Ultrasound Med 2010;29(12):1749-55. doi: 10.7863/jum.2010.29.12.1749.

Prapruttam D, Klawandee S, Tangkittithaworn P, Wongwaisayawan S. Effect of alvarado score on the negative predictive value of nondiagnostic ultrasound for acute appendicitis. [Internet]. 2021. 2001 [cited 2022 Feb 25]; Available from:URL: https://www.jmuonline.org/temp/JMedUltrasound000-2451871_064838.pdf.

Cohen B, Bowling J, Midulla P, Shlasko E, Lester N, Rosenberg H, et al. The non-diagnostic ultrasound in appendicitis: is a non-visualized appendix the same as a negative study?. J Pediatr Surg 2015;50(6):923-7. doi: 10.1016/j.jpedsurg.2015.03.012.

Daga S, Kachewar S, Lakhkar D, Jethlia K, Itai A. Sonographic evaluation of acute appendicitis and its complications. West Afr J Radiol 2017;24(2):152-6. DOI: 10.4103/wajr.wajr_41_16

Hosseini A, Omidian J, Nazarzadeh R. Investigating Diagnostic Value of Ultrasonography in Acute Appendicitis. Adv Biomed Res 2018;7:113. doi: 10.4103/abr.abr_79_18.

Pedram A, Asadian F, Roshan N. Diagnostic Accuracy of Abdominal Ultrasonography in Pediatric Acute Appendicitis. Bull Emerg Trauma 2019;7(3):278-83. doi: 10.29252/beat-0703011.

Al-Ajerami Y. Sensitivity and specificity of ultrasound in the diagnosis of acute appendicitis. East Mediterr Health J 2012;18(1):66-9. doi: 10.26719/2012.18.1.66.

Chakraborty AK, Olcott EW, Jeffrey BR. Hyperechoic Abdominal Fat: A Sentinel Sign of Inflammation. Ultrasound Q 2019;35(2):186-94. doi: 10.1097/RUQ.0000000000000387.

Partain KN, Patel A, Travers C, McCracken CE, Loewen J, Braithwaite K, et al. Secondary signs may improve the diagnostic accuracy of equivocal ultrasounds for suspected appendicitis in children.

J Pediatr Surg 2016;51(10):1655-60. doi: 10.1016/j.jpedsurg.2016.03.005.