ภาวะเยื่อบุตาและกระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อหนองใน ในวัยผู้ใหญ่ : รายงานผู้ป่วย

Main Article Content

เธษฐา คันธา

บทคัดย่อ

     เยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อหนองใน ในวัยผู้ใหญ่ เป็นการติดเชื้อหนองในที่อวัยวะอื่นนอกเหนือจากอวัยวะเพศที่พบได้น้อย การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการที่เยื่อบุตาสัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะ สารคัดหลั่งหรืออวัยวะต่างๆที่เป็นช่องทางของการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่ อวัยวะเพศ ทวารหนัก ช่องปากที่มีเชื้อหนองในปนเปื้อนอยู่หรืออาจเป็นการสัมผัสทางอ้อมโดยไม่ได้ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์โดยตรงแต่มีพาหะวัตถุพาเชื้อโรคมา ซึ่งพบได้น้อยมาก ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ล่าช้า ซึ่งการรักษาที่ไม่เหมาะสมและล่าช้า สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาที่รุนแรงได้แก่ กระจกตาอักเสบเป็นแผลเปื่อยและกระจกตาทะลุ นำมาซึ่งการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรหรือตาบอดได้ การวินิจฉัยอย่างทันท่วงทีร่วมกับการรักษาที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ป้องกันการเกิดปัญหาความเจ็บป่วยทางตาอื่นๆตามมาได้ ยิ่งไปกว่านั้นการรักษาที่เหมาะสมยังมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบันที่มีปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะที่เพิ่มมากขึ้น
     รายงานผู้ป่วยนี้นำเสนอหญิงไทยอายุ 60 ปี มีประวัติตาซ้ายแดง มีขี้ตามาก 1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาลก่อนหน้านี้รักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล อาการไม่ดีขึ้นจึงส่งตัวมาที่โรงพยาบาลพนัสนิคม ได้รับการรักษายาปฏิชีวนะหยอดตาวันละ 4 ครั้ง แนะนำเช็ดตาร่วมด้วย หลังจากนั้น 3 วันต่อมาอาการไม่ดีขึ้น มีอาการเปลือกตาบวม ตาแดงทั้ง 2 ตา มีขี้ตามากเป็นหนอง ร่วมกับมีกระจกตาซ้ายอักเสบร่วมด้วย ผลการป้ายขี้ตาที่เยื่อบุตาไปตรวจ พบเป็น gram-negative intracellular diplococci ผลเพาะเชื้อที่ 5 วันพบเชื้อ Neisseria gonorrhoeae พิจารณานอนโรงพยาบาลให้ยา Ceftriaxone 1 กรัมทางกล้ามเนื้อ 5 วันร่วมกับให้ยา Azithromycin 1 กรัมชนิดรับประทาน ยาปฏิชีวนะหยอดตาร่วมกับยาน้ำตาเทียมชนิดไม่มีสารกันเสีย อาการทางตาดีขึ้นทั้งสองตา ผลป้ายขี้ตาที่เยื่อบุตาและผลเพาะเชื้อที่ 5 วันไม่พบเชื้อ มีการตรวจติดตามผู้ป่วยต่อเนื่องพบอาการหายปกติและไม่มีการกลับเป็นซ้ำหลังหยุดยาปฏิชีวนะ 1 สัปดาห์

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

Lee JS, Choi HY, Lee JE, Lee SH, Oum BS. Gonococcal keratoconjunctivitis in adults. Gonococcal keratoconjunctivitis in adults 2002;16(5):646-9. doi: 10.1038/sj.eye.6700112.

McAnena L, Knowles SJ, Curry A, Cassidy L. Prevalence of gonococcal conjunctivitis in adults and neonates. Eye (Lond) 2015;29(7):875-80. doi: 10.1038/eye.2015.57.

Kestelyn P, Bogaerts J, Stevens AM, Piot P, Meheus A. Treatment of adult gonococcal keratoconjunctivitis with oral norfloxacin. m J Ophthalmol 1989;108(5):516-23. doi: 10.1016/0002-9394(89)90427-3.

Schwab L, Tizazu T.Destructive epidemic Neisseria gonorrheae keratoconjunctivitis in African adults. Br J Ophthalmol 1985;69(7):525-8. doi: 10.1136/bjo.69.7.525.

Soukiasian SH, Baum J. Bacterial conjunctivitis. In; Krachmer JH, Mannis MJ, Holland EJ, editor. Cornea. 3rd ed. Cincinnati: Elsevier Inc; 2011: 521 - 33.

Otu A, Danhoundo G, Toskin I, Govender V, Yaya S. Refocusing on sexually transmitted infections (STIs) to improve reproductive health: a call to further action. Reprod Health 2021;18(1):242. doi: 10.1186/s12978-021-01296-4.

Bureau of Epidemiology MOPH Thailand. National disease surveillance (Report 506): Gonorrhoeae 2013 – 2019. [internet] 2019. [cited 2022 May 1]. Available from:URL: http://www.boe.moph.go.th.

Kawashima M, Kawakita T, Den S, Tomita M, Shimazaki J. Surgical management of corneal perforation secondary to gonococcal keratoconjunctivitis. Eye (Lond) 2009;23(2):339-44. doi: 10.1038/sj.eye.6703051.

รสพร กิตติเยาวมาลย์, ศุภโชค คงเทียน, บรรณาธิการ, แนวทางการดูแลรักษาโรคหนองใน พ.ศ.2562 กรมควบคุมโรค สำนักงานโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2562.

Workowski KA, Bachmann LH, Chan PA, Johnston CM, Muzny CA, Park I, et al. Sexually Transmitted Infections Treatment Guidelines, 2021. MMWR Recomm Rep 2021;70(4):1-187. doi: 10.15585/mmwr.rr7004a1.

Hegde V, Smith G, Choi J, Pagliarini S. A case of gonococcal kerato-conjunctivitis mimicking orbital cellulitis. Acta Ophthalmol Scand. 2005 Aug;83(4):511-2. doi: 10.1111/j.1600-0420.2005.00501.x.