การศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

นันทิดา ทองอ้ม

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นภัยเงียบและปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตรวจประเมินภาวะซึมเศร้าตลอดจนไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การทำหน้าที่ในชีวิตประจำวันและอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง ตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้สูงอายุที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 421 คน สุ่มคัดเลือกตัวอย่างแบบสมัครใจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 5 ฉบับ และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ มีภาวะซึมเศร้าระดับน้อย ร้อยละ 17.6 และมีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางร้อยละ 5.5 และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านอายุ ดัชนีมวลกาย การมีโรคประจำตัวและความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.001
สรุป: ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเกิดจากปัจจัยด้านอายุ ดัชนีมวลกาย การมีโรคประจำตัวและความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน หากได้รับการคัดกรองและได้รับการดูแลที่เหมาะสมจะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2558.

แผนกสุขภาพจิตและสารเสพติด องค์การอนามัยโลก, กองทุนส่งเสริมสุขภาพแห่งวิคตอเรียและ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น. การส่งเสริมสุขภาพจิต แนวคิด หลักฐาน และแนวทางปฏิบัติ (รายงานสรุป).เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์; 2560.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: ละม่อม จำกัด; 2561.

Murray CJ, Lopez AD. Alternative Projections of Mortality and Disability by Cause 1990-2020: Global Burden of Diseases Study. Lancet 1997;349(9064):1498-504. doi: 10.1016/S0140-6736(96)07492-2.

BECK AT, WARD CH, MENDELSON M, MOCK J, ERBAUGH J. An inventory for measuring depression. Arch Gen Psychiatry 1961;4:561-71. doi: 10.1001/archpsyc.1961.01710120031004.

Beck AT. Depression: Clinical, experimental and theoretical aspects. New York: Hoeber Medical Division; 1967.

Volkert J, Schulz H, Härter M, Wlodarczyk O, Andreas S. The prevalence of mental disorders in older people in Western countries-a meta-analysis. Ageing Res Rev 2013;12(1):339-53. doi: 10.1016/j.arr.2012.09.004.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์.ข้อมูลประชากรปี 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2565].ค้นได้จาก:URL:https://drive.google.com/drive/folders/1Po9jg DU1xO2VbpXCNbTNx80hymjCiuFc;.

มาติกา รัตนะ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. วิชาเอกการจัดการการบริการสาธารณสุข, คณะสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยา; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607–10.

MAHONEY FI, BARTHEL DW. FUNCTIONAL EVALUATION: THE BARTHEL INDEX. Md State Med J 1965;14:61-5.

สุขสิน เอกา, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย, นพวรรณ เปียซื่อ, สุภามาศ ผาติประจักษ์. พฤติกรรมแสวงหาการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุไทยเขมร กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกสำโรงโคกเพชร จังหวัดสุรินทร์.วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2555;38(4):35-51.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร, วิชุดา จิรพรเจริญ, กนกพร ภิญโญพรพาณิชย์, ชัยสิริ อังกุระวรานนท์, อัศวิน โรจนสุมาพงศ์, ชลอวัฒน์ อินปา, นพคุณ นันท์ศุภวัฒน์. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ คลินิกผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564;29(1):1-11.

วิจิตร แผ่นทอง, อัจฉรา คำมะทิตย์, วรวุฒิ แสงทอง, อรอนงค์ นิลพัฒน์, สุนิสา ค้าขึ้น. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลชุมชน.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ 2563;7(2):114-26.

Bhamani MA, Karim MS, Khan MM. Depression in the elderly in Karachi, Pakistan: a cross sectional study. BMC Psychiatry 2013;13:181. doi: 10.1186/1471-244X-13-181.

Johnston E, Johnson S, McLeod P, Johnston M. The Relation of Body Mass Index to Depressive Symptoms. Can J Public Health 2004;95(3):179-83. doi: 10.1007/BF03403643.

Beck JS. Cognitive behavior therapy: Basics and beyond. 2nd ed. New York: Guilford Press; 2011.

อารีย์ สงวนชื่อ, ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, รัตนาภรณ์ อาษา. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2563;14(2):277-87.

นารีรัตน์ มงคลศรีสวัสดิ์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลซำสูง จังหวัดขอนแก่น.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2564;6(3):1-7.

อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, ธมลวรรณ สวัสดิ์สิงห์, ฐาติมา เพชรนุ้ย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพยาบาล 2564;70(4):20-7.

ชัยวัฒน์ อินไชยา, โสพิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ อินทจันทร์. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2559;30(1):17-33.