ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ระหว่างสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นกับสตรีตั้งครรภ์วัยผู้ใหญ่ : การศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุม

Main Article Content

พูลสวัสดิ์ วงศ์วิชิต

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุข ซึ่งมีความซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารกแรกเกิดได้
วัตถุประสงค์: เพื่อหาความสัมพันธ์ของผลลัพธ์การตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นกับสตรีตั้งครรภ์วัยผู้ใหญ่ และผลลัพธ์ต่างๆ ของทารกแรกเกิด ซึ่งได้แก่ ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด การคลอดก่อนกำหนด ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกน้ำหนักน้อยแรกเกิด เป็นต้น
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบมีกลุ่มควบคุม เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของสตรีตั้งครรภ์เดี่ยวที่มาคลอดบุตรในโรงพยาบาลสกลนคร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 176 ราย แบ่งเป็น กลุ่มศึกษา คือสตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จำนวน 88 ราย และกลุ่มควบคุม คือสตรีตั้งครรภ์วัยผู้ใหญ่ จำนวน 88 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test หรือ Fishers’ exact test และ Binary logistic regression กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: สตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีจำนวนครั้งการฝากครรภ์ ความชุกของการผ่าตัดคลอด และภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์น้อยกว่าสตรีตั้งครรภ์วัยผู้ใหญ่ ขณะที่มีภาวะโลหิตจางมากกว่าสตรีตั้งครรภ์วัยผู้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของทารกแรกเกิดพบว่า สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดมากกว่าวัยผู้ใหญ่ แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนภาวะความดันโลหิต การคลอดก่อนกำหนด ภาวะน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์ การเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ผิดปกติ ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกน้ำหนักน้อยแรกเกิด ในทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ผลลัพธ์ของทารกแรกเกิดในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีแนวโน้มของภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดมากกว่าวัยผู้ใหญ่ ซึ่งอาจจะนำไปศึกษาต่อในงานวิจัยแบบเก็บรวบรวมข้อมูลไปข้างหน้าเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับการกู้ชีพทารกแรกเกิด วางระบบการดูแลครรภ์เสี่ยงก่อนคลอดและการดูแลขณะคลอดอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มอายุ เพื่อลดอุบัติการณ์ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Chandra-Mouli V, Camacho AV, Michaud PA. WHO guidelines on preventing early pregnancy and poor reproductive outcomes among adolescents in developing countries. J Adolesc Health 2013;52(5):517-22. doi: 10.1016/j.jadohealth.2013.03.002.

นวลอนงค์ วงศ์ขันแก้ว, ธัญจิรา ทองกรณ์, ปนัฐดา กันทาเศษ, พงศ์ศิริ หงส์สีธิ. อายุมารดากับผลลัพธ์การตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลแพร่. Journal of the Phrae Hospital 2021;29(1):1-15.

สมโภชน์ กังวานธีรวัฒน์. ผลทางสูติกรรมและผลทางปริกำเนิดของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นคลอดครั้งแรกในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563; 35(2):341-8.

Mulugeta T, Sebsibe G, Fenta FA, Sibhat M. Risk Factors of Perinatal Asphyxia Among Newborns Delivered at Public Hospitals in Addis Ababa, Ethiopia: Case–Control Study. Pediatric Health Med Ther 2020;11:297-306. doi: 10.2147/PHMT.S260788.

วิชญา เวชยันต์ศฤงคาร. ผลของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นที่คลอดครรภ์แรกในโรงพยาบาลบางใหญ่. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2555;29(2):82-92.

Adhikari J , Kharel S , Bahl L , Poudel D , KC R. Neonatal Outcome Among Adolescent and Adult Pregnancy in a Tertiary Care Center of Nepal. JNGMC 2016;14(2):56-9.

Ara RF, Alam, J. Risk of Teenager Pregnancy in Adverse Neonatal Outcome: A Hospital Based Case-Control Study. J Adv Med Med Res 2018;4(2):44–7. https://doi.org/10.3329/jcamr.v4i2.36354

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช, ช่อผกา หนูรอด, หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด, สุทธิพงษ์ รักเล่ง, พีระวัฒน์ มุททารัตน์. ปัจจัยเสี่ยงของมารดาวัยรุ่นกับภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกคลอด อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559;25(4):643-9.

กรรณิการ์ บูรณวนิช, กฤษณ์ เชี่ยวชาญประพันธ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิดในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2020:64(1):11-22.

สุนิดา พรรณะ. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลหนองคาย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563;35(3):278-86.

Azevedo WF, Diniz MB, Fonseca ES, Azevedo LM, Evangelista CB. Complications in adolescent pregnancy: systematic review of the literature. [Article in English, Portuguese] Einstein (Sao Paulo) 2015;13(4):618-26. doi: 10.1590/S1679-45082015RW3127.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสรุปผลที่สำคัญ การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย; 2563.

Areemit R, Thinkhamrop J, Kosuwon P, Kiatchoosakun P, Sutra S, Thepsuthammarat K. Adolescent pregnancy: Thailand's national agenda. J Med Assoc Thai 2012;95 (Suppl 7):S134-42.

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 เล่ม 133/ตอนที่ 30ก/หน้า 1/31มีนาคม 2559, 2559.

Rosner B. Fundamentals of biostatistics. 8th.ed. Boston: Cengage Learning; 2015.