ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในผู้ป่วยเบาหวาน และนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้ การตรวจคัดกรองจอประสาทตาและรักษาอย่างทันเวลาสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ ที่เข้ารับการตรวจตาด้วยเครื่องถ่ายภาพจอประสาทตาแบบไม่ต้องขยายรูม่านตา ช่วงระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 645 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติก
ผลการศึกษา: พบความชุกของภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาร้อยละ 8.5 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระยะเวลาที่ป่วยเป็นเบาหวานตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป (adjusted OR=2.56, 95%CI: 1.37-4.81, p=0.003) ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) ≥ 7% (adjusted OR=2.02, 95%CI: 1.09-3.74, p=0.025) และโรคไตเรื้อรัง (adjusted OR=1.98, 95%CI: 1.10-3.57, p=0.022)
สรุป: ผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่เป็นเบาหวานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ระดับน้ำตาลสะสมตั้งแต่ 7% ขึ้นไป มีโรคไตเรื้อรัง ควรได้รับการตรวจจอประสาทตาเพื่อคัดกรองภาวะแทรกซ้อน และวางแผนการดูแลเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการป้องกันภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization: Diabetes 2017. [internet]. 2017 [cited 2017 July 29]. Available from:URL: https://www.who.int /mediacentre/ factsheets/fs312/en/.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์การเกิดโรคเบาหวานใน ประเทศไทย ประจำปี 2561. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ ; 2561.
กองยุทธศาสตร์และแผน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ ; 2561.
ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย. The Blueprint for Change Programme. [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก:URL:https//www.novonordisk.com.
Yau JW, Rogers SL, Kawasaki R, Lamoureux EL, Kowalski JW, Bek T, et al. Global prevalence and major risk factors of diabetic retinopathy. Diabetes Care 2012;35(3):556-64. doi: 10.2337/dc11-1909.
Chetthakul T, Deerochanawong C, Suwanwalaikorn S, Kosachunhanun N, Ngarmukos C, Rawdaree P, et al. Thailand diabetes registry project: prevalence of diabetic retinopathy and associated factors in type 2 diabetes mellitus. J Med Assoc Thai 2006;89 Suppl 1:S27-36.
Arunratanachote W, Jongsareejit A, Potisat S, Krairittichai U, Sattaputh C. The Thai DMS Diabetes Complications (DD.Comp.) project: prevalence and risk factors of diabetic retinopathy in Thai patients with type 2 diabetes mellitus. J Med Assoc Thai 2013;96(11):1476-82.
World Health Organization. Prevention of blindness from diabetes mellitus [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2006. [cited 2015 June 23]. Available from:URL: http://www.who.int/diabetes/publications/prevention_diabetes2006/en/.
Isipradit S, Sirimaharaj M, Charukamnoetkanok P, Thonginnetra O, Wongsawad W, Sathornsumetee B, et al. The first rapid assessment of avoidable blindness (RAAB) in Thailand. PLoS On 2014;9(12):e114245. doi: 10.1371/journal.pone.0114245.
Ferris FL 3rd. How effective are treatments for diabetic retinopathy? JAMA 1993;269:1290-1391.
Pradeepa R, Anitha B, Mohan V, Ganesan A, Rema M. Risk factors for diabetic retinopathy in a South Indian Type 2 diabetic population--the Chennai Urban Rural Epidemiology Study (CURES) Eye Study 4. Diabet Med 2008;25(5):536-42. doi: 10.1111/j.1464-5491.2008.02423.x.
เด่นชัย ตั้งมโนกุล. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561:33(3):225-36.
Ahmed RA, Khalil SN, Al-Qahtani MA. Diabetic retinopathy and the associated risk factors in diabetes type 2 patients in Abha, Saudi Arabia. J Family Community Med 2016;23(1):18-24. doi: 10.4103/2230-8229.172225.
นิภาพร พวงมี, กรรณิการ์ คำเตียม, สุภเลิศ ประคุณหังสิต. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจโรคจักษุโรงพยาบาลศิริราช. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2560;17(3):336-45.
Giloyan A, Harutyunyan T, Petrosyan V. The prevalence of and major risk factors associated with diabetic retinopathy in Gegharkunik province of Armenia: cross-sectional study. BMC Ophthalmol 2015;15:46. doi: 10.1186/s12886-015-0032-0.
อนุพจน์ สมภพสกุล, ยุพเยาว์ เอื้ออารยาภรณ์, พนม สุขจันทร์, ปวริศ หะยีอามะ, ฟาดีละห์ เจ๊ะสนิ, กรชนก ตั้งนภาดลและคณะ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2555;4(3):29-43.
ขวัญเรือน วรเตชะ. ปัจจัยทางเมตะบอลิกที่มีผลต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2555;3:10-23.
He F, Xia X, Wu XF, Yu XQ, Huang FX. Diabetic retinopathy in predicting diabetic nephropathy in patients with type 2 diabetes and renal disease: a meta-analysis. Diabetologia 2013;56(3):457-66. doi: 10.1007/s00125-012-2796-6.
Chen MS, Kao CS, Chang CJ, Wu TJ, Fu CC, Chen CJ, et al. Prevalence and risk factors of diabetic retinopathy among noninsulin-dependent diabetic subjects. Am J Ophthalmol 1992;114(6):723-30. doi: 10.1016/s0002-9394(14)74051-6.
ณัฐพงศ์ เมฆาสิงหรักษ์, สิรินันท์ ตรียะเวชกุล, จีราวัฒน์ สวัสวิทยะยง, หญิง สุพัฒนวงศ์, ปณตศม เง่ายุธากร, อรณิชา พิมพะและคณะ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาจากเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 6 แห่งในเครือข่ายโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558;23(3):35-45.
ธนวัฒน์ คงธรรม. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 : ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35(1):13-25.
Rema M, Deepa R, Mohan V. Prevalence of retinopathy at diagnosis among type 2 diabetic patients attending a diabetic centre in South India. Br J Ophthalmol 2000;84(9):1058-60. doi: 10.1136/bjo.84.9.1058.
Lee KM, Sum WM. Prevalence of diabetic retinopathy in patients with recently diagnosed diabetes mellitus. Clin Exp Optom 2011;94(4):371-5. doi: 10.1111/j.1444-0938.2010.00574.x.
วรัทพร จันทร์ลลิต. ภาวะแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวาน. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2559;23(2):36-45.
งามแข เรืองวรเวทย์. ภาวะแทรกซ้อนที่จอตาและความผิดปกติอื่นๆทางตาในผู้ป่วยเบาหวาน. ใน: สุทิน ศรีอัษฎาพร, วรรณี นิธิยานันท์, บรรณาธิการ. โรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์ ; 2546 : 390-405.