อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำภายหลังการผ่าตัดกระดูกต้นคอทางด้านหน้า

Main Article Content

ปิยพงษ์ ติยวรนันท์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การผ่าตัดลดการกดทับไขสันหลังและเชื่อมกระดูกต้นคอทางด้านหน้าเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะกระดูกต้นคอเสื่อมกดทับไขสันหลัง กระดูกต้นคอติดเชื้อ และ กระดูกต้นคอหักและเคลื่อน โดยวิธีการ ผ่าตัดดังกล่าวข้างต้นเป็นการผ่าตัดเข้าทางด้านหน้าของคอ ผ่านโครงสร้างที่สำคัญซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ได้ถึงแม้ว่าภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวมีอุบัติการณ์ค่อนข้างน้อย แต่ล้วนเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาของระบบทางเดินหายใจ การผ่าตัดลดการกดทับไขสันหลังและเชื่อมกระดูกต้นคอทางด้านหน้าในโรงพยาบาลศรีสะเกษระหว่าง พ.ศ.2556 – 2560 มีจำนวน 135 รายพบภาวะแทรกซ้อนของทางเดินหายใจภายหลังการผ่าตัดที่ต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำรวมทั้งสิ้น 10 ราย โดยในจำนวนนี้เสียชีวิต 3 ราย
วัตถุประสงค์: ศึกษาทบทวนอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำและเสียชีวิตภายหลังการผ่าตัดกระดูกต้นคอทางด้านหน้า
ระเบียบวิธีวิจัย: ศึกษารูปแบบ Retrospective cohort study โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการผ่าตัดเชื่อมกระดูกต้นคอทางด้านหน้าทั้งหมด ระหว่าง พ.ศ.2556 - พ.ศ. 2559 ใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของประชากรได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ chi-square และ fisher exact test และใช้สถิติเชิงอนุมานแบบ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multivariable regression) เพื่อหาปัจจัยเสี่ยง
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดลดการกดทับไขสันหลังและเชื่อมกระดูกต้นคอทางด้านหน้าจำนวน 135 รายเป็นชาย 85 ราย หญิง 50 ราย อายุเฉลี่ย 53.9 ปี ทุกรายไม่มีปัญหาของระบบทางเดินหายใจก่อนได้รับการผ่าตัด การวินิจฉัยแบ่งเป็น Non traumatic case 99 ราย (Cervical spondylotic myelopathy 91 ราย, Herniated nucleus pulposus 2 ราย และ Vertebral osteomyelitis 6 ราย) และ Traumatic case 36 ราย พบภาวะแทรกซ้อนของทางเดินหายใจที่ต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำหลังผ่าตัด 10 ราย (ร้อยละ 8) แบ่งเป็น traumatic case 5 ราย และ non traumatic case 5 รายโดยในจำนวนนี้เสียชีวิต 3 ราย (ร้อยละ 2.4) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำภายหลังการผ่าตัดพบว่าผู้ป่วย traumatic case ที่มีภาวะ complete spinal cord injury จะมีโอกาสใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำภายหลังการผ่าตัดมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและพบว่าผู้ป่วยเพศชาย ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว (alcoholism, HT, COPD) และผู้ป่วย traumatic case จะมีโอกาสใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำภายหลังการผ่าตัดกระดูกต้นคอทางด้านหน้ามากกว่าแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ผู้ป่วย traumatic case ที่มีภาวะ complete spinal cord injury จะมีโอกาสใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำภายหลังการผ่าตัดมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผู้ป่วยเพศชาย ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ( alcoholism, HT, COPD) และผู้ป่วย traumatic case จะมีโอกาสใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำภายหลังการผ่าตัดกระดูกต้นคอทางด้านหน้ามากกว่าแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Marawar S, Girardi FP, Sama AA, Ma Y, Gaber-Baylis LK, Besculides MC, et al. National trends in anterior cervical fusion procedures. Spine (Phila Pa 1976) 2010;35(15):1454-9. doi: 10.1097/BRS.0b013e3181bef3cb.

Angevine PD, Arons RR, McCormick PC. National and regional rates and variation of cervical discectomy with and without anterior fusion, 1990-1999. Spine (Phila Pa 1976) 2003;28(9):931-9; discussion 940. doi: 10.1097/01.BRS.0000058880.89444.A9.

Alosh H, Riley LH 3rd, Skolasky RL. Insurance status, geography, race, and ethnicity as predictors of anterior cervical spine surgery rates and in-hospital mortality: an examination of United States trends from 1992 to 2005. Spine (Phila Pa 1976) 2009;34(18):1956-62. doi: 10.1097/BRS.0b013e3181ab930e.

Jiang SD, Jiang LS, Dai LY. Anterior cervical discectomy and fusion versus anterior cervical corpectomy and fusion for multilevel cervical spondylosis: a systematic review. Arch Orthop Trauma Surg 2012;132(2):155-61. doi: 10.1007/s00402-011-1402-6.

King JT Jr, Abbed KM, Gould GC, Benzel EC, Ghogawala Z. Cervical spine reoperation rates and hospital resource utilization after initial surgery for degenerative cervical spine disease in 12,338 patients in Washington State. Neurosurgery 2009;65(6):1011-22; discussion 1022-3. doi: 10.1227/01.NEU.0000360347.10596.BD.

Wang MC, Chan L, Maiman DJ, Kreuter W, Deyo RA. Complications and mortality associated with cervical spine surgery for degenerative disease in the United States. Spine (Phila Pa 1976) 2007;32(3):342-7. doi: 10.1097/01.brs.0000254120.25411.ae.

Daniels AH, Riew KD, Yoo JU, Ching A, Birchard KR, Kranenburg AJ, et al. Adverse events associated with anterior cervical spine surgery. J Am Acad Orthop Surg 2008;16(12):729-38. doi: 10.5435/00124635-200812000-00005.

Fountas KN, Kapsalaki EZ, Nikolakakos LG, Smisson HF, Johnston KW, Grigorian AA, et al. Anterior cervical discectomy and fusion associated complications. Spine (Phila Pa 1976) 2007;32(21):2310-7. doi: 10.1097/BRS.0b013e318154c57e.

Emery SE, Smith MD, Bohlman HH. Upper-airway obstruction after multilevel cervical corpectomy for myelopathy. J Bone Joint Surg Am 1991;73(4):544-51.

Sagi HC, Beutler W, Carroll E, Connolly PJ. Airway complications associated with surgery on the anterior cervical spine. Spine (Phila Pa 1976) 2002;27(9):949-53. doi: 10.1097/00007632-200205010-00013.

Epstein NE, Hollingsworth R, Nardi D, Singer J. Can airway complications following multilevel anterior cervical surgery be avoided? J Neurosurg 2001;94(2 Suppl):185-8. doi: 10.3171/spi.2001.94.2.0185.

Kwon B, Yoo JU, Furey CG, Rowbottom J, Emery SE. Risk factors for delayed extubation after single-stage, multi-level anterior cervical decompression and posterior fusion. J Spinal Disord Tech 2006;19(6):389-93. doi: 10.1097/00024720-200608000-00002.

Suk KS, Kim KT, Lee SH, Park SW. Prevertebral soft tissue swelling after anterior cervical discectomy and fusion with plate fixation. Int Orthop 2006;30(4):290-4. doi: 10.1007/s00264-005-0072-9.

Marquez-Lara A, Nandyala SV, Fineberg SJ, Singh K. Incidence, outcomes, and mortality of reintubation after anterior cervical fusion. Spine (Phila Pa 1976) 2014;39(2):134-9. doi: 10.1097/BRS.0000000000000098.

Souter MJ, Manno EM. Ventilatory management and extubation criteria of the neurological/neurosurgical patient. Neurohospitalist 2013;3(1):39-45. doi: 10.1177/1941874412463944.

Quintard H, l'Her E, Pottecher J, Adnet F, Constantin JM, De Jong A, et al. Experts' guidelines of intubation and extubation of the ICU patient of French Society of Anaesthesia and Intensive Care Medicine (SFAR) and French-speaking Intensive Care Society (SRLF) : In collaboration with the pediatric Association of French-speaking Anaesthetists and Intensivists (ADARPEF), French-speaking Group of Intensive Care and Paediatric emergencies (GFRUP) and Intensive Care physiotherapy society (SKR). Ann Intensive Care 2019;9(1):13. doi: 10.1186/s13613-019-0483-1.