ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาสมาธิสั้นในเด็ก (2563-2564)

Main Article Content

ปัจฉิมา หลอมประโคน

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่พบบ่อยในจิตเวชเด็ก อาการที่สำคัญของโรคสมาธิสั้นคือ ขาดสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่นและดื้อต่อต้าน ประเทศไทยมีอัตราความชุกของโรคสมาธิสั้นประมาณร้อยละ 6 และพบมากในเพศชายมากกว่าหญิง 3-4 เท่า การรักษามีทั้งการใช้ยาและการปรับพฤติกรรม ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาเรื่องนี้ เพื่อจะได้นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาของโรคสมาธิสั้นในเด็ก ณ คลินิกโรคเด็กสมาธิสั้น โรงพยาบาลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Cross Sectional Comparative Study ลักษณะกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น ณ คลินิกเด็กสมาธิสั้น ในโรงพยาบาลประโคนชัย ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 เก็บข้อมูลโดยการทำแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปของครอบครัว ความรู้และทัศนคติของผู้ปกครอง รวมทั้งแบบประเมินพฤติกรรม SNAP-IV (Short Form) ก่อนและหลังรักษา 8 สัปดาห์ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติของผู้ปกครองและปัจจัยอื่นๆ กับผลการรักษาของเด็กสมาธิสั้นโดยใช้ Logistic regression Analysis
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นที่เข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้ จำนวนทั้งหมด 105 คน ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 5-10 ปี ร้อยละ 54.3 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 81.0 อยู่ระดับประถมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 63.8 ผลการเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 21.0 อายุของผู้ปกครองส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 40-49 ปี ร้อยละ 35.2 การศึกษาของผู้ปกครอง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 45.7 มีคนในครอบครัวช่วยเลี้ยงดู ร้อยละ 87.6 ประเมินพฤติกรรม SNAP-IV หลังการรักษา 8 สัปดาห์ อาการดีขึ้นโดยคะแนนในด้านต่างๆลดลง เช่น การประเมินอาการขาดสมาธิ คะแนนลดลง ร้อยละ 87.6 การประเมินการไม่อยู่นิ่ง หุนหันพลันแล่น พบว่า คะแนนลดลง ร้อยละ 82.9 การประเมินอาการต่อต้าน พบว่า คะแนนลดลง ร้อยละ 90.5 ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาสมาธิสั้นในเด็ก (ด้านอาการไม่อยู่นิ่ง หุนหันพลันแล่น) คือ ความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครอง ต่อโรคสมาธิสั้น (Odds =1.91, 95% CI=2.97, p=0.004)
สรุป: ผลการศึกษาพบว่าหลังการรักษา 8 สัปดาห์ เด็กสมาธิสั้นมีคะแนนรวมจาก SNAP-IV ดีขึ้น (คะแนนลดลง) ความรู้ความเข้าใจต่อโรคสมาธิสั้นของผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาของเด็กสมาธิสั้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Martin A, Volkmar FR, Lewis M. Lewis’s Child and Adolescent Psychiatry: A Comprehensive Textbook. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins ; 2007 : 430-53.

American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders: DSM-IV-TR. 4th ed. Washington, DC : American Psychiatric Association ; 2004 : 63-5.

Wiener JM. Textbook of Child and Adolescent Psychiatry. 2nd.ed. Washington DC, American Psychiatric Press, 2007: 118-29.

Trangkasombat U. Clinical characteristics of ADHD in Thai children. J Med Assoc Thai 2008 ;91(12):1894-8.

Benjasuwantep B, Ruangdaraganon N, Visudhiphan P. Prevalence and clinical characteristics of attention deficit hyperactivity disorder among primary school students in Bangkok. J Med Assoc Thai 2002;85(Suppl 4):S1232-40.

Biederman J, Mick E, Faraone SV. Age-dependent decline of symptoms of attention deficit hyperactivity disorder: impact of remission definition and symptom type. Am J Psychiatry 2000;157(5):816-8. doi: 10.1176/appi.ajp.157.5.816.

Buranasuksakul T, Pityaratsatian N. Validity and reliability of the Thai version of Swanson, Nolan and Pelham version IV (SNAP-IV). Bangkok : Chulalongkorn Hospital ; 2551.

Swanson JM. School-based assessments and interventions for ADD students. Irvine, CA : KC Publishing; 1992.

Swanson JM, Kraemer HC, Hinshaw SP, Arnold LE, Conners CK, Abikoff HB, et al. Clinical relevance of the primary findings of the MTA: success rates based on severity of ADHD and ODD symptoms at the end of treatment. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 2001;40(2):168-79. doi: 10.1097/00004583-200102000-00011.

American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, (DSM-IV). 4th.ed. Washington DC : American Psychiatric Press ; 1994.

Chacko A, Newcorn JH, Feirsen N, Uderman JZ. Improving medication adherence in chronic pediatric health conditions: a focus on ADHD in youth. Curr Pharm Des 2010;16(22):2416-23. doi: 10.2174/138161210791959908.

Corkum P, Rimer P, Schachar R. Parental knowledge of attention-deficit hyperactivity disorder and opinions of treatment options: impact on enrollment and adherence to a 12-month treatment trial. Can J Psychiatry 1999;44(10):1043-8. doi: 10.1177/070674379904401011.

Toomey SL, Sox CM, Rusinak D, Finkelstein JA. Why do children with ADHD discontinue their medication? Clin Pediatr (Phila) 2012;51(8):763-9. doi: 10.1177/0009922812446744.

นรวี พิมพ์รัตน์. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติของผู้ปกครองรวมทั้งความสัมพันธ์ของปัจจัยอื่น ๆ กับความสม่ำเสมอในการกินยา Methylphenidate ของเด็กสมาธิสั้น. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2559;61(1):15-26.

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, พรทิพย์ วชิรดิลก, พัชรินทร์ อรุณเรือง, ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล. ความชุกโรคสมาธิสั้นในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2557;21(2):66-75.