ความชุก และลักษณะของผู้ป่วยประคับประคองกลุ่มโรคมะเร็งในอำเภออุทุมพรพิสัย พ.ศ.2563

Main Article Content

แสงระวี ศรีเสน

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การดูแลประคับประคอง (Palliative care) เน้นการดูแลแบบองค์รวม มุ่งเน้นการจัดการอาการไม่สุขสบายทั้งทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ การทราบสถานการณ์ จำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่เข้าเกณฑ์ดูแลแบประคับประคอง ลักษณะของผู้ป่วย จะทำให้สามารถเตรียมทรัพยากร และแผนการดูแลได้เหมาะสม เวลาที่มากพอจึงจะทำให้ผู้ป่วยสามารเข้าถึงการดูแลประคับประคองได้เร็วขึ้น ลดความทรมานนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์: mเพื่อศึกษาความชุก ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยและโรคของผู้ป่วยประคับประคองกลุ่มโรคมะเร็ง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนารูปแบบ Descriptive study เพื่อศึกษาความชุกและลักษณะของผู้ป่วยประคับประคองกลุ่มโรคมะเร็งในอำเภออุทุมพรพิสัย พ.ศ.2563 เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม พ.ศ.2563 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนย้อนหลัง และโปรแกรม H.I.M.Pro ,โปรมแกรม JHCIS แฟ้มครอบครัว ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ข้อมูลเกี่ยวกับโรค วิเคราะห์หาอัตราความชุกและข้อมูลลักษณะทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับโรค ด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วย ความถี่ ร้อยละ พิสัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนj มาตรฐาน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งที่มารักษาที่โรงพยาบาลอำอุทุมพรพิสัย พ.ศ.2563จำนวน 123 ความชุกของผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ประคับประคองเท่ากับ 120 ต่อประชากรแสนคน คน เพศชายมาก กว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ย 67 ปี(SD=13) ดัชนีมวลกาย18.5 ถึง 22.9 kg/m2 สถานภาพสมรสร้อยละ 82.1 ไม่มีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่ภูมิลำเนาตำบลสระกำแพงใหญ่ ระดับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง คะแนน 40-60 ร้อยละ 84.6 โรคที่พบมากที่สุด 4 อันดับแรกได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ และ มะเร็งโรคเลือด โรคที่พบเมื่อผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายสามอันดับแรก ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรักษาและการกระจายของโรค กลุ่มที่โสด มีผู้ดูแล เป็น บิดามารดา กลุ่มที่แต่งงานมีผู้ดูแลเป็น สามีหรือภรรยา กลุ่มที่หย่าร้าง มีผู้ดูแลเป็น ลูก น้องสาวน้องชาย ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพสมรส และการมีผู้ดูแลของผู้ป่วยประคับประคอง ของกลุ่มโสดแตกต่างกับกลุ่มที่แต่งงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)
สรุป: ความชุกของผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ประคับประคองเท่ากับ 120 ต่อประชากรแสนคน เพศชายมากกว่าเพศหญิงอายุเฉลี่ย 67 ปี โรคที่สี่อันดับแรก มะเร็งปอด มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ และ มะเร็งโรคเลือด ทำให้สามารถ วางแผน เพิ่มการคัดกรองโรค วางแผนการดูแลล่วงหน้าในโรคที่พบเมื่อผู้ป่วยอยู่ในระยะท้าย และผู้ป่วยกลุ่มโสดมีโอกาสที่จะไม่มีผู้ดูแล สามารถวางแผนการดูแลให้เหมาะสมจนวาระสุดท้าย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล, ปาริชาติ เพียสุพรรณ์. คู่มือแนวทางการดำเนินงานศูนย์ดูแลประคับประคองในโรงพยาบาลของศูนย์การุณรักษ์. ขอนแก่น: ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.

ศูนย์การุณรักษ์โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Handbook of Palliative care guideline. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2561.

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว. หลักการของ Palliative care [อินตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://med.mahidol.ac.th/fammed/th/postgrad/doctorpalliative1th.

World health organization. Palliative care. [Internet]. [cited 2022 May 9]. Available from:URL: https://www.who.int/health-topics/palliative-care.

The Gold Standards Framework Centre. The GSF Prognostic Indicator Guidance. [Internet]. [cited 2022 May 9]. Available from https://www.goldstandardsframework.org.uk/cd-content/uploads/files/General%20Files/Prognostic%20Indicator%20Guidance%20October%202011.pdf

สำนักงานสถติแห่งชาติ. จำนวนผู้ป่วยนอก จำแนกตามกลุ่มสาเหตุป่วย 21 โรค จากสถานบริการสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2548 - 2557 [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2565 ]. ค้นได้จาก:URL: http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries09.html.

กลุ่มงานเวชสถิติ โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย . จำนวนผู้ป่วยมะเร็ง พ.ศ.2561-2563. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย; 2563. (เอกสารอัดสำเนา).

Bakitas MA, Tosteson TD, Li Z, Lyons KD, Hull JG, Li Z, et al. Early Versus Delayed Initiation of Concurrent Palliative Oncology Care: Patient Outcomes in the ENABLE III Randomized Controlled Trial. J Clin Oncol 2015;33(13):1438-45. doi: 10.1200/JCO.2014.58.6362

Temel JS, Greer JA, Muzikansky A, Gallagher ER, Admane S, Jackson VA, Dahlin CM, et al. Early palliative care for patients with metastatic non-small-cell lung cancer. N Engl J Med 2010;363(8):733-42. doi: 10.1056/NEJMoa1000678.

Dionne-Odom JN, Azuero A, Lyons KD, Hull JG, Tosteson T, Li Z, et al. Benefits of Early Versus Delayed Palliative Care to Informal Family Caregivers of Patients With Advanced Cancer: Outcomes From the ENABLE III Randomized Controlled Trial. J Clin Oncol 2015;33(13):1446-52. doi: 10.1200/JCO.2014.58.7824.

ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. ข้อมูลประชากรอำเภออุทุมพรพิสัย. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2565]. ค้นได้จาก:URLhttp://sisaket.kapook.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A2

สมพร จันทระ, ชาคริต โชติอมรศักดิ์, ว่าน วิริยา. การติดตามตรวจสอบการเผาในที่โล่งในภาคเหนือของประเทศไทยสำหรับการประเมินการปล่อยและการเคลื่อนที่ของมลพิษทางอากาศเพื่อการวางแผนการจัดการปัญหาหมอกควัน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2561.

หน่วยงานทะเบียนมะเร็ง กลุ่มงานดิจิทัลการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์(ประเทศไทย) จำกัด ; 2563.

งานทะเบียน โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี. สถิติโรคมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ปีพ.ศ. 2561. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี; 2561.

Chula cancer รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา. มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://www.chulacancer.net/education-inner.php?id=375.

Schabath MB, Cote ML. Cancer Progress and Priorities: Lung Cancer. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev 2019;28(10):1563-79. doi: 10.1158/1055-9965.EPI-19-0221.

สุปรีดา มั่นคง, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, ศุภร วงศ์วทัญญู. บทบาทของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง: การศึกษาเบื้องต้นเชิงคุณภาพ. วารสารสภาการพยาบาล 2559;31(4):104-21.