การพัฒนาและปรับปรุงสภาพการทำงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ในบุคลากร ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์สาขา 1

Main Article Content

ชมพูนุท ชีวะกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ก่อให้เกิดโรคกระดูกและกล้ามเนื้อมากที่สุด ทั้งนี้เกิดจากท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ระยะเวลาการทำงาน สภาพแวดล้อม และความเครียด
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษา กระบวนการ ปรับปรุง สภาพการทำงาน โดยประยุกต์ใช้ หลักการย-ศาสตร์ ในบุคลากรศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลบุรีรัมย์สาขา 1 และศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ
รูปแบบการศึกษา: วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้ผู้วิจัยมีส่วนร่วมคิดวางแผน ปฏิบัติตามแนวทาง ติดตามสังเกตผลและร่วมสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์สาขา 1 จำนวน 30 คน ปรียบเทียบคะแนนความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และความพึงพอใจในสภาพการทำงาน ก่อน-หลังการวิจัย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสังเกตการณ์กระบวนการวิจัย และแบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: หลังการปรับปรุงสภาพการทำงาน พบว่า คะแนนความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในการทำงานระดับความเสี่ยงลดลงอยู่ในความเสี่ยงต่ำ ร้อยละ 100 และระดับความพึงพอใจในสภาพการทำงานด้านการยศาสตร์ ระดับมากที่สุด ร้อยละ 85.8
สรุป: ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1) การมีส่วนร่วมของทุกคนในการวางแผน การค้นหาปัญหา วิเคราะห์และร่วมตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา 2) มีการสื่อสารที่มีศักยภาพ และความสัมพันธ์ที่ดี 3) มีการติดตามผล สรุป และถอดบทเรียน การพัฒนาและปรับปรุงสภาพการทำงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ทำให้บุคลากรศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์สาขา 1 ทำให้ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในการทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ลดลง บุคลากรพึงพอใจในสภาพการทำงานด้านการยศาสตร์เพิ่มขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจภาวะการทำงานของไทย ประจำปี 2561. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ ; 2561.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2560. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:. http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_60.pdf.

อิสรีย์รัช สืบศรี, มัณฑนา ดำรงศักดิ์, ธีรนุช ห้านิรัติศัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในผู้ประกอบอาชีพผลิตธูป. พยาบาลวารสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2556:40(พิเศษ):108-19.

วิวัฒน์ สังฆะบุตร, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกของ ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ในแรงงานนอกระบบกลุ่มดัดเหล็กปลอกเสาระบบมือโยก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2556;13(1):135-44.

กลุ่มงานแผนยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลบุรีรัมย์. รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 กลุ่มงานเวชกรรมสังคม. ผลการประเมินสุขภาวะองค์กรของศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์สาขา 1. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ; 2563. (เอกสารอัดสำเนา)

Kemmis S., McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd.ed. Geelong : Deakin University Press ; 1992.

Sonne M. The Rapid Office Strain Assessment (ROSA): Validity of online worker self-assessments and the relationship to worker discomfort. [A Thesis Submitted Graduate of Human Kinetics]. Partial Fulfillment, Faculty of Human Kinetics, Degree of Master; Canada : University of Windsor ; 2010

วิภาดา คงทรง, วรพจน์ พรหมสัตพรต, นภชา สิงห์วีรธรรม. การปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ในบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2564;7(4):167-80.

เมธินี ครุสันธิ์, สุนิสา ชายเกลี้ยง.การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานสำนักงานมหาวิทยาลัย. KKU Res J 2014; 19(5): 696-707 .

วรวรรณ ภูชาดา, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกของการปวดและระดับความรู้สึกไม่สบายบริเวณคอ ไหล่และหลังในพนักงานศูนย์บริการข้อมูล จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559;31(5):369-76.

อมร โฆษิดาพันธุ์, อริสา สำรอง และสุทธิ์ ศรีบูรพา. (15 – 17 ธันวาคม 2559). ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และอาการปวดที่ส่งผลต่อความบกพร่องของรยางค์แขนของพนักงานสำนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน. นำเสนอในการประชุมทางวิชาการ Thailand National Ergonomics Conference, ระหว่างวันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2559. กรุงเทพฯ : สมาคมการยศาสตร์ไทย ; 2559 : 170-82.

รัฐวุฒิ สมบูรณ์ธรรม. การปรับปรุงสภาพงานโดยใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความเสี่ยงบริเวณหลังส่วนล่างในพนักงานแผนกลอกยางของโรงงานยางพาราแผ่นรมควันแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย ; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2560.

พันธุ์เทพ นกแก้ว, นิศานาถ พัสดุสาร. หลักการประเมินด้านการยศาสตร์ (Ergonomics assessment). [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: http://thai-ergonomic-assessment.blogspot.com/2014/07/.

จุฑาทิพย์ วิญญูเจริญกุล, กลางเดือน โพชนา. การประเมินความเสี่ยทางการยศาสตร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยวิธี Rapid Office Strain Assessment (ROSA วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2558;45(2):148-58.