การใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นดูแลแผลเรื้อรังในผู้ป่วยเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 2 แห่ง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการดูแลแผลเรื้อรัง เพราะประกอบของไขมันอิ่มตัว กรดลอริก และกรดพาลมิโทอิก โดยเฉพาะกรดลอริคมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียมีฤทธิ์ต้านการอักเสบเป็นสารที่ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง และไม่เป็นพิษยับยั้งการอักเสบ และปกป้องผิวหนังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้ก๊อซชุบน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นกับการดูแลแผลเรื้อรัง และศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยในการทำแผลเรื้อรังด้วยน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
วิธีการศึกษา: การศึกษาเฉพาะกรณีเชิงประเมิน กลุ่มตัวอย่างเลือกเจาะจงเป็นผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจำนวน 30 คน ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การดำเนินการทดลอง แบบประเมินการหายของแผล และคำถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกความพึงพอใจของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยประเมินการหายของแผลตามสเกล ที่กำหนดเป็นจำนวน ร้อยละ ข้อมูลความพึงพอใจของผู้ป่วยโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และแบบกึ่งโครงสร้าง
ผลการศึกษา: ผลของการใช้ก๊อซชุบน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นกับการดูแลแผลเรื้อรังในเรื่องระยะเวลาการหายของแผล ลักษณะการหายของของแผล ก๊อซติดแผล จากการประเมินติดตามการหายของแผลเรื้อรัง ตามองค์ประกอบการประเมินได้แก่ ขนาดพื้นที่แผล สิ่งขับหลั่ง พื้นที่ผิว และการประเมินผลของบาดแผลมีประสิทธิภาพดี และผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการทำแผลเรื้องรังด้วยน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
สรุป: การใช้ก๊อซชุบน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นปิดแผลเรื้อรังมีประสิทธิภาพดีช่วยลดการหายของบาดแผล ซึ่งเป็นทางเลือกในการใช้ทำแผลให้ผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังและผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลมีความพึงพอใจ
ในการทำแผลเรื้องรังด้วยน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทักษิณาร์ ไกรราช, พระมหาโยธิน โยธิโก. นวัตกรรมการรักษาแผลเรื้อรังเพื่อป้องกันความพิการผู้ป่วยเบาหวานด้วยยาสมุนไพรและการรักษาเชิงพุทธ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564;6(2):175-90.
พัชรินทร์ คำนวล, นิภาภรณ์ เชื้อยูนาน, ศิริพร เดชอุปการะกุล. ผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลพะเยา. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2560;3(2):89-101.
พลอยแก้ว ดวงแก้ว, วีรนุช อุ่นซิม, อนุชตรา วรรณเสวก, กัญชพร สิงห์คำ, สุดารัตน์ หอมแพง. รายงานผลการสำรวจความชุกแผลกดทับในผู้ป่วยมะเร็ง. [อินเตอร์เน็ท]. 2561. [สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://thaidj.org/index.php/BDMJ/article/view/7711/7109.
รัชฎา สหะวรกุลศักดิ์. การศึกษาความชุกตามระดับความเสี่ยงของการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556;30(1):71-82.
นงนุช หอมเนียม. บทบาทพยาบาลในการใช้หลักโภชนาการที่ส่งเสริมการหายของแผล. วารสารพยาบาลตำรวจ 2557;6(2):234-49.
ขวัญจิตร ปุ่นโพธิ์ และ จิณพิชญ์ชา มะมม. การศึกษาผลของกระบวนการดูแลแผลในการส่งเสริมการหายของแผลการลดความเสี่ยงในการเกิดแผลใหม่และความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ; 2555.
ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์, รัชชนก สิทธิเวช. มิติใหม่ในการดูแลบาดแผล. [อินเตอร์เน็ท]. 2561. [สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL http://app2.pnc.ac.th/km/?p=767.
ไพฑูรย์ เพชรแก้ว. ใบตองน้ำมันมะพร้าว ลดปัญหาผ้าก๊อซติดแผล. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559;25(5):840-5.
เอกชัย ปัญญาวัฒนานุกูล. การดูแลแผลเรื้อรังด้วยการแพทย์ผสมผสาน. [อินเตอร์เน็ท]. 2559. [สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://thaicam.go.th/
เสาวลักษณ์ ภูนวกุล, สุธาทิพย์ แตรไชย. ผลการทำแผลเรื้อรังด้วย Sucrose syrup เปรียบเทียบกับ Normal saline solution. [อินเตอร์เน็ท]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565]. ค้นได้จาก: URL:http://pichithosp.net/pchweb/index.php/km/2019-11-07-04-06-34.
กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. แผลเบาหวานกับการแพทย์แผนไทย : องค์ความรู้การ บูรณาการ และประยุกต์ใช้. [อินเตอร์เน็ท]. 2560. [สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565]. ค้นได้จาก: URL:https://www.dtam.moph.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2250:dl0026&catid= 42&Itemid=326&lang=en.
นุชรี จันทร์เอี่ยม, ศรีวรรณ เรืองวัฒนา, มาลีวรรณ เกษตรทัต, ศศิธร พิชัยพงศ์, แสงอรุณ ใจวงศ์ผาบ. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยแผลเรื้อรัง โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2562;15(1):1-13.
เอมอร สุวรรณพิวัฒน์, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร} โขมพักตร์ มณีวัต. ผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าวต่ออาการเยื้อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารสภาการพยาบาล 2560;32(1):16-31.
Zakaria ZA, Somchit MN, Mat Jais AM, Teh LK, Salleh MZ, Long K. In vivo antinociceptive and anti-inflammatory activities of dried and fermented processed virgin coconut oil. Med Princ Pract 2011;20(3):231-6. doi: 10.1159/000323756.
เพ็ญพิชชา อาจฤทธิรงค์, สุภัค กิ่งรุ้งเพชร์, เสาวภัค ตั้งบูรณะกุล, อาภา จันททร์เทวี, อาริยา รัตนทองคำ, นาฏศจี นวลแก้ว, มาลินี เหล่าไพบูลย์. ผลของกรดลอริกในรูปแบบเจลต่อการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส มิวแทนส์ในห้องปฏิบัติการ. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2561;20(1):1-8.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการสำรวจการเกิดแผลเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2564. บุรีรัมย์ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ; 2564. (เอกสารอัดสำเนา).
National Pressure Ulcer Advisory Panel. Pressure Ulcer Scale for Healing (PUSH). บ[Internet]. 2015. [Cited 2022 May 20]. Available from: URL:https://cdn.ymaws.com/npiap.com/resource/resmgr /online_store/push_tool_information_form.pdf