ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและภาวะซึมเศร้า ในสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบล ในอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

บัญชา จันสิน

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ทั่วโลก ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เกิดภาระงานที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความกดดันสูง มีโอกาสเสี่ยงสูงในการสัมผัสเชื้อโรคจากผู้ป่วย รวมถึงความต้องการของผู้ป่วยและญาติ ส่งผลให้เกิดความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้
วัตถุประสงค์: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและภาวะซึมเศร้า ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ประชากรคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวัดความเครียด กรมสุขภาพจิต (SPST - 20) จำนวน 20 ข้อ และแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 Q จำนวน 9 ข้อ เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ การศึกษาปัจจัยที่ละตัวแปร (Univariate analysis) และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ (Multivariable logistic regression) ช่วงเชื่อมั่น 95% โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 (p-value < 0.05)
ผลการศึกษา: จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 123 คน พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เพศ (adj.OR 4.34 ; p-value 0.01) รายได้ไม่เพียงพอ (adj.OR 3.67 ; p-value 0.03) ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เวลาการนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง (adj.OR 9.54; p-value 0.009) รายได้ไม่เพียงพอ (adj.OR 9.20; p-value 0.008) ดื่มแอลกอฮอล์ (adj.OR 6.9; p-value 0.01) มีปัญหาภายในครอบครัว (adj.OR 9.02; p-value 0.01)
สรุป: พบว่า มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดได้แก่ เพศและรายได้ไม่เพียงพอ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าได้แก่ เวลาการนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง รายได้ไม่เพียงพอ ดื่มแอลกอฮอล์ และมีปัญหาภายในครอบครัว ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการวางแผนหรือกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความเครียดและภาวะซึมเศร้าไม่ให้เพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. ความรู้พื้นฐาน COVID-19 2563 [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564]. ค้นได้จาก:URL: http://phoubon.in.th/covid-19/ความรู้เรื่อง%20COVID%20รามา.pdf.

Coronavirus disease (COVID-19) – World Health Organization [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 731 ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค วันที่ 7 มกราคม 2565. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2565]. ค้นได้จาก:URL:situation-no731-070165.pdf (moph.go.th)

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). 2563. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_ km/handout001_12032020.pdf

ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.). สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). [อินเตอร์เน็ท]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/ source/310165.pdf.

สุริยะ หาญพิชัย, ฑัชวงษ์ จุลสวัสดิ์. ผลกระทบของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สู่การปรับตัวสู่ชุมชนวิถีใหม่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร. 2021;6(9):126-41.

อนุทิน ชาญวรีกูล. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคมุโรคตดิตอ่ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2565 . [อินเตอร์เน็ท]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1382022 0117070403.pdf.

Cheng PK, Wong DA, Tong LK, Ip SM, Lo AC, Lau CS, et al.Viral shedding patterns of coronavirus in patients with probable severe acute respiratory syndrome. Lancet 2004;363(9422):1699-700. doi: 10.1016/S0140-6736(04)16255-7.

Kampf G, Todt D, Pfaender S, Steinmann E. Persistence of coronaviruses on inanimate surfaces and their inactivation with biocidal agents [published correction appears J Hosp Infect 2020;104(3):246-51. doi:10.1016/j.jhin.2020.01.022

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. Corona Virus Disease (COVID-19). [อินเตอร์เน็ท]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://www.ph.mahidol.ac.th/news/covid19/Edited_ COVID-19%20by- DDC-MOPH.pdf

van Doremalen N, Bushmaker T, Munster VJ. Stability of Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) under different environmental conditions.

Euro Surveill 2013;18(38):20590. doi: 10.2807/1560-7917.es2013.18.38.20590.

จารุวรรณ ประภาสอน. ความเครียด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564;15(38):469-83.

เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์, สิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์. ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2563;65(4): 400-8.

อมรรัตน์ ตันติทิพย์พงศ์. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าและภาวะเครียดจากการทำงาน ของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2562;33(1):203-16.

วีรนันท์ ชนาภัทรจิระประไพ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานสอบสวนโรคในสถานการณ์ COVID-19 : กรณีศึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: 6217950069.pdf (ru.ac.th)

Lai J, Ma S, Wang Y, Cai Z, Hu J, Wei N, et al. Factors Associated With Mental Health Outcomes Among Health Care Workers Exposed to Coronavirus Disease 2019. JAMA Netw Open 2020;3(3):e203976. doi: 10.1001/jamanetworkopen.2020.3976.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, พิมมาศ ตาปัญญา. การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง. 2540;13(3):1-20.

ศูนย์ความรู้โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ 2558. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบคืนเมื่อ 5 มกราคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: www.thaidepression.com/www/news54/CPG-MDD-GP.pdf.

พรนิภา หาญละคร, ธารินี เพชรรัตน์, นิภาพรรณ ฤทธิรอด, สุดถนอม กมลเลิศ, เตือนใจ พิทยาวัฒนชัย, อธิบดี มีสิงห์. ความเครียด ความกังวล และผลกระทบของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;36(4):488-94.

นิรัญกาญจ์ จันทร, สมฤดี วงษ์วัฒนะ, ณัฐวุฒิชัย สีโน, ณัฐพล พิลาแสง, มลระวีสดากร, กรรณิกา ศรีเทพ, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความเครียดของบุคลากรโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ; 2019 : 406-13.