ผลต่อทารกและมารดาหลังคลอด ระหว่างเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A1 และ A2

Main Article Content

ยุทธภูมิ พินิจมนตรี
บุญจันทร์ สีก้อมวงษา

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: เบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนทางอายุรศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์และมารดาตั้งครรภ์ ซึ่งเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A1 ใช้การควบคุมอาหาร ส่วนเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A2 ต้องใช้อินซูลินในการรักษา จากการทบทวนวรรณกรรม ยังไม่มีการศึกษาผลต่อทารกและมารดาหลังคลอดของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ทั้งสองชนิดนี้ในจังหวัดบุรีรัมย์ ทางผู้วิจัยมีความสนใจทำการเปรียบเทียบผลต่อทารกและมารดาที่เกิดขึ้นหลังคลอด เพื่อเห็นผลที่ตามมา และนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลมารดาเบาหวานขณะตั้งครรภ์
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลต่อทารกและมารดาหลังคลอด ระหว่างเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A1 และ A2 ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: การศึกษา prognostic outcome research รูปแบบ retrospective observational design ในมารดาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A1 และ A2 ที่มาคลอดห้องคลอดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ในช่วง ตุลาคม 2561 - กันยายน 2563 ทบทวนเวชระเบียนผลต่อทารกและมารดาที่เกิดขึ้นหลังคลอดระหว่างกลุ่มเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A1 และ A2 วิเคราะห์หาความแตกต่างของผลลัพธ์การรักษาด้านทารก และด้านมารดาระหว่าง 2 กลุ่มด้วย multivariable Gaussian regression และ logistic regression โดยปรับอิทธิพลของปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวกวน
ผลการศึกษา: จำนวนมารดาเข้ามาในการศึกษาในกลุ่มเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A1 คือ 267 คน และในกลุ่ม A2 คือ 160 คน ช่วงอายุ 25-39 ปี หลังปรับอิทธิพลของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ พบว่าน้ำหนักทารกแรกเกิดในกลุ่มเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A2 สูงกว่ากลุ่มเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทารกที่คลอดจากมารดาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A2 เพิ่มโอกาส Large for gestational age และ macrosomia เมื่อเทียบกับกลุ่มเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A1 ถึง 5 เท่าและ 6 เท่าตามลำดับ ผลลัพธ์รองในด้านอื่นๆ เช่น การเกิด preterm, preeclampsia, cesarean delivery, และ neonatal hypoglycemia พบมากขึ้นในกลุ่มเบาหวานขณะตั้งครรภ์ A2 อย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน
สรุป: เบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์และมารดา โดยเฉพาะการเกิดภาวะ large for gestational age ดังนั้นในมารดาตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง จึงควรได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษา และคำแนะนำที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกและมารดาขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอดได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

The American College of Obstetricians and Gynecologists, Women’s Health care. Practice Bulletin No. 137: Gestational diabetes mellitus. Obstet Gynecol 2013;122(2 Pt 1):406-16. doi: 10.1097/01.AOG.0000433006.09219.f1.

Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Dashe JS, Hoffman BL, Casey BM, Spong CY. Williams Obstetrics 25th ed. United States of America: McGraw-Hill Education; 2018.

The American College of Obstetricians and Gynecologists, Women’s Health care. ACOG technical bulletin, Diabetes and pregnancy, Number 200-December 1994 (Replaces No. 92, May 1986). Committee on Technical Bulletins of the American College of Obstetricians and Gynecologists. Int J Gynaecol Obstet 1995;48(3):331-9.

ชญาดา เนตร์กระจ่าง. การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการภาวะเบาหวานของหญิงตั้งครรภ์. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2562;32(2):168-77.

Guariguata L, Linnenkamp U, Beagley J, Whiting DR, Cho NH. Global estimates of the prevalence of hyperglycaemia in pregnancy. Diabetes Res Clin Pract 2014;103(2):176-85. doi: 10.1016/j.diabres.2013.11.003.

มาสินี ไพบูลย์, จำรัส วงศ์คำ. การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2552;24(3):186-9.

Yensri K, Panburana P, Israngura Na Ayudhya N, untnarumit. The Comparative Study of The Large for Gestational Age Prevalence in Neonate of Diabetic Pregnant Women Between The Optimal and Suboptimal Glycemic Control Groups . Thai J Obstet Gynaecol 2014;22(2):74-80.

Boulvain M, Irion O, Dowswell T, Thornton JG. Induction of labour at or near term for suspected fetal macrosomia. Cochrane Database Syst Rev 2016;2016(5):CD000938. doi: 10.1002/14651858.CD000938.pub2.

Saldana TM, Siega-Riz AM, Adair LS, Suchindran C. The relationship between pregnancy weight gain and glucose tolerance status among black and white women in central North Carolina. Am J Obstet Gynecol 2006;195(6):1629-35. doi: 10.1016/j.ajog.2006.05.017.

Lucas MJ, Lowe TW, Bowe L, McIntire DD. Class A1 gestational diabetes: a meaningful diagnosis? Obstet Gynecol 1993;82(2):260-5.

สมชาย ธนวัฒนาเจริญ. โรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์. จุฬาปริทัศน์ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561: 421-22.

Johnstone FD, Prescott RJ, Steel JM, Mao JH, Chambers S, Muir N. Clinical and ultrasound prediction of macrosomia in diabetic pregnancy. Br J Obstet Gynaecol 1996;103(8):747-54. doi: 10.1111/j.1471-0528.1996.tb09868.x.

Perry SE, Hockenberry MJ, Lowdermilk DL, Wilson D, Alden KR, Cashion MC. Maternal Child Nursing Care, 6th. ed. St. Louis: Mosby; 2018.

Blackburn ST. Maternal, fetal, & neonatal physiology: A clinical perspective . 3rd. ed. St. Louis: Saunders; 2007.