ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพและการอบรมทางการพยาบาล กับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์เขตอีสานใต้

Main Article Content

นาคินทร์ สดไสย์
อภิญญา จำปามูล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในหอผู้ป่วยมีความซับซ้อน พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการประเมินอาการ อาการแสดง ที่เปลี่ยนแปลง ผิดปกติ และตัดสินใจให้การช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาแก่ผู้ป่วย แนะนำให้ข้อมูลแก่ครอบครัวหรือผู้ดูแล หากพยาบาลมีประสบการณ์ในการทำงานไม่มาก ได้รับการอบรมทางการพยาบาลเป็นส่วนน้อย อาจจะทำให้มีการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการดูแลที่ไม่เหมาะสม
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ การอบรมทางการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ กับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยพยาบาลวิชาชีพ
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ในโรงพยาบาลศูนย์เขตอีสานใต้ จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการอบรมทางการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ และแบบสอบถามการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน
ผลการศึกษา: การรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ด้านความรู้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 64.6, SD = 10.2) ด้านความมั่นใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 18.7, SD = 5.6) และด้านความเชื่ออยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 17.0, SD = 0.9) ประสบการณ์ทำงานในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ และความถี่ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะปานกลางถึงรุนแรงมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ด้านความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.294, 0.212, p-value < 0.01) การอบรมการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยเฉพาะ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ด้านความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.389, p-value < 0.01) ประสบการณ์ทำงานในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ และการอบรมการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยเฉพาะ ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ด้านความมั่นใจและด้านความเชื่อ
สรุป: การอบรมการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยเฉพาะสัมพันธ์กับระดับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ด้านความรู้ สามารถนำไปส่งเสริมการอบรมเฉพาะทางแก่พยาบาลวิชาชีพได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Lee JH, Kim MJ, Hong JY, Myung J, Roh YH, Chung SP. The elderly age criterion for increased in-hospital mortality in trauma patients: a retrospective cohort study. Scand J Trauma Resusc Emerg Med 2021;29 (1) :133.

Vardon-Bounes F, Gracia R, Abaziou T, Crognier L, Seguin T, Labaste F, et al. A study of patients' quality of life more than 5 years after trauma: a prospective follow-up. Health Qual Life Outcomes 2021;19 (1) :18.

สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร. รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลอย่างเร่งด่วนตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะที่มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง: กรณีศึกษา. 2561;5 (1) :5-18.

ชุติมา เขตต์อนันต์, กัญญดา ประจุศิลป. ปัจจัยทำนายสมรรถนะพยาบาลไตเทียม. 2557;6 (1) :71-87.

Barton G, Bruce A, Schreiber R. Teaching nurses teamwork: Integrative review of competency-based team training in nursing education. Nurse Educ Pract 2018;32:129-37.

Kakemam E, Gharaee H, Rajabi MR, Nadernejad M, Khakdel Z, Raeissi P, et al. Nurses' perception of patient safety culture and its relationship with adverse events: a national questionnaire survey in Iran. BMC Nurs 2021;20 (1) :60.

Oyesanya TO, Brown RL, Turkstra LS. Caring for Patients with traumatic brain injury: a survey of nurses' perceptions. J Clin Nurs 2017;26 (11-12) :1562-74.

Oyesanya TO, Thomas MA, Brown RL, Turkstra LS. Nurses' Beliefs About Caring for Patients With Traumatic Brain Injury. West J Nurs Res 2016;38 (9) :1114-38.

Ernst WJ, Trice AD, Gilbert JL, Potts H. Misconceptions about traumatic brain injury and recovery among nursing students. J Head Trauma Rehabil 2009;24 (3) :213-20.

McCormick EJ, Ilgen DR. Industrial and Organizational Psychology. London: Person; 1984.

Sterner A, Ramstrand N, Palmér L, Hagiwara MA. A study of factors that predict novice nurses' perceived ability to provide care in acute situations. Nurs Open 2021;8 (4) :1958-69.

วรรณชนก จันทชุม. การวิจัยทางการพยาบาล : การเลือกตัวอย่างและการกำหนดตัวอย่าง. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2545.

Oyesanya TO, Turkstra LS, Brown RL. Development, Reliability, and Validity of the Perceptions of Brain Injury Survey. J Nurs Meas 2020;28 (2) :229-58.

นันทกา สวัสดิพานิช, สุจิตรา เทียนสวัสดิ์. การแปลเครื่องมือเพื่อใช้ในงานวิจัยข้ามวัฒนธรรม : เทคนิคและประเด็นที่ต้องพิจารณา. วารสารสภาการพยาบาล 2554;26 (1) :19-28.

Watts DD, Gibbons S, Kurzweil D. Mild traumatic brain injury: a survey of perceived knowledge and learning preferences of military and civilian nurses. J Neurosci Nurs 2011;43 (3) :122-9; quiz 130-1.

สมศรี ทาทาน, อัมพร ยานะ. ปัจจัยที่มีผลต่อทักษะปฏิบัติการพยาบาลและทัศนคติต่อวิชาชีพ ตามการรับรู้ของ นักศึกษาพยาบาลที่ขึ้นฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา 2557;15 (2) :46 - 54.

Cook RS, Gillespie GL, Kronk R, Daugherty MC, Moody SM, Allen LJ, et al. Effect of an educational intervention on nursing staff knowledge, confidence, and practice in the care of children with mild traumatic brain injury. J Neurosci Nurs 2013;45 (2) :108-18.

Duff MC, Stuck S. Paediatric concussion: Knowledge and practices of school speech-language pathologists. Brain Inj 2015;29 (1) :64-77.

Swift TL, Wilson SL. Misconceptions about brain injury among the general public and non-expert health professionals: an exploratory study. Brain Inj 2001;15 (2) :149-65.

Karami A, Farokhzadian J, Foroughameri G. Nurses' professional competency and organizational commitment: Is it important for human resource management? PLoS One 2017;12 (11) :e0187863.

Keeley C. Conscious competence model and medicine. FASTRAC 2021;1 (3) :100053.

Cross HH, Roe CA, Wang D. Staff nurse confidence in their skills and knowledge and barriers to caring for patients with ostomies. J Wound Ostomy Continence Nurs 2014;41 (6) :560-5.