ผลของการใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังการผ่าตัดคลอดเพื่อลดอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัด

Main Article Content

ขวัญสุดา เย็นศรี

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: จากการศึกษาพบว่าผู้ผ่าตัดคลอดที่มีการเคลื่อนไหวได้ดีหลังผ่าตัด จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ แต่ปัญหาที่พบคือความเจ็บปวด ซึ่งในปัจจุบันมีการให้ยาแก้ปวด แต่ก็ไม่เพียงพอ จึงควรมีการดูแลรักษาเสริม มีการศึกษาพบว่าการใช้ผ้ารัดบริเวณสะโพกครอบคลุมเชิงกรานจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้
วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังผ่าตัดคลอดกับคะแนนความเจ็บปวดในภาพรวมของผู้ป่วยในกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังการผ่าตัด และปริมาณการใช้ยาแก้ปวดหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม (โดยเก็บข้อมูลที่ 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด)
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ แบบ Prospective study ประชากร คือ สตรีที่มาผ่าตัดคลอดบุตรในโรงพยาบาลพนัสนิคม โดยกลุ่มศึกษาคือผู้คลอดที่ใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังผ่าตัด 56 ราย กลุ่มควบคุมคือผู้คลอดที่ไม่ได้ใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังการผ่าตัด 56 ราย รวม 112 ราย
ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสิ้น 112 ราย มีอายุอยู่ในช่วง 17-42 ปี โดยข้อมูลทั่วไปไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาคะแนนความเจ็บปวดของกลุ่มศึกษาต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (วันที่หนึ่ง 4.6± 1.9ในกลุ่มศึกษา และ 4.9 ± 2.5ในกลุ่มควบคุม p-value 0.528 วันที่สอง 3.2 ± 1.8 ในกลุ่มศึกษา 3.8 ± 2.1 ในกลุ่มควบคุม p-value 0.086) แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนความเจ็บปวดวันที่สองลดลงกว่าวันที่หนึ่งแต่ไม่ต่างกันในทางสถิติ (1.4 และ 1.0 p value 0.415) ในด้านการใช้ยาแก้ปวด tramadol และ NSAID พบว่าทั้งสองกลุ่มมีปริมาณการใช้ยาแก้ปวดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.463 ในการใช้ยา tramadol และ p-value 0.160 ในยา NSAID)
สรุป: คะแนนความเจ็บปวดและปริมาณการใช้ยาแก้ปวด tramadol และ NSAID ไม่แตกต่างกันในกลุ่มที่ใช้ผ้ารัดหน้าท้องและกลุ่มไม่ใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังการผ่าตัดคลอด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. ความรู้เรื่องการผ่าท้องทำคลอดสำหรับประชาชนทั่วไป [บทความสำหรับประชาชน]. [อินเตอร์เน็ท ]. 2554. [สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560]. ค้นได้จาก:URL:http://www.rtcog.or.th/.

ธีระ ทองสง. Cesarean section rate: How to control. [อินเทอร์เน็ต]. 2557. [สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560]. ค้นได้จาก:URL: http://www.medicine.cmu.ac.th/.

ธีระ สินเดชารักษ์, สิริอร ศักดาบุณยเดชา, เกตน์สิรี กอบกิจไพศาลสุข. การผ่าคลอด: การคลอดที่เราควรเลือกจริงหรือ. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560]. ค้นได้จาก:URL:http://doc.qa.tu.ac.th/.

Fuchs F, Benhamou D. [Post-partum management after cesarean delivery. Guidelines for clinical practice]. [Article in French] J Gynecol Obstet Biol Reprod (Paris) 2015;44(10):1111-7. doi: 10.1016/j.jgyn.2015.09.020.

Singh S, Nutan K, SP Jaiswar. Effective ness of early ambulation on post-operative recovery among ceasarean mothers. Int J Curr Res 2020;12(6):11938-45. DOI: https://doi.org/10.24941/ijcr.38983.06.2020

วิวัฒน์ ภัทรีชวาล. ประสิทธิผลของยา diclofenac ในการบำบัดอาการปวดภายหลังการผ่าตัดคลอดบุตรในโรงพยาบาลปทุมธานี. วชิรเวชสาร 2549;50(3):173-8.

การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ Diclofenan injection. จดหมายข่าว HPVC Safty News. [อินเตอร์เน็ท]. 2561. [สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2562]. ค้นได้จาก:URL:https://hpvcth.fda.moph.go.th/newsletter-54-2561/.

Karaca I, Ozturk M, Alay I, Ince O, Karaca SY, Erdogan VS, et al. Influence of Abdominal Binder Usage after Cesarean Delivery on Postoperative Mobilization, Pain and Distress: A Randomized Controlled Trial. Eurasian J Med 2019;51(3):214-8. doi: 10.5152/eurasianjmed.2019.18457.

Abd-ElGawad M, Said Ali A, Abdelmonem M, Elshamy NH, Abdeltawab AK, Abd El-Shafea M, et al. The effectiveness of the abdominal binder in relieving pain after cesarean delivery: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Int J Gynaecol Obstet 2021;154(1):7-16. doi: 10.1002/ijgo.13607.

LeBlanc KA. Laparoscopic incisional and ventral hernia repair: complications-how to avoid and handle. Hernia 2004;8(4):323-31. doi: 10.1007/s10029-004-0250-5.

Mustafa G, Alam S, Al Mamun A, Ahmad N, Alam K, Khan M. Percutaneous liver biopsy: technique and safety. Hepatogastroenterology 2011;58(106):529-31.

สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ. Pain assessment and Measurement. [อินเทอร์เนต]. [สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2562]. ค้นได้จาก:URL:http://www.hospital.tu.ac.th/doc/workshop/CPG%20Acute%20Pain.pdf.

Gustafson JL, Dong F, Duong J, Kuhlmann ZC. Elastic Abdominal Binders Reduce Cesarean Pain Postoperatively: A Randomized Controlled Pilot Trial. Kans J Med 2018;11(2):1-19.

Chankhunaphas W, Charoenkwan K. Effect of elastic abdominal binder on pain and functional recovery after caesarean delivery: a randomised controlled trial.

J Obstet Gynaecol 2020;40(4):473-8. doi: 10.1080/01443615.2019.1631768.

Jasim HH, Sulaiman SABS, Khan AH, S Rajah UA. Factors Affecting Post Caesarean Pain Intensity among Women in the Northern Peninsular of Malaysia. J Clin Diagn Res 2017;11(9):IC07-IC11. doi: 10.7860/JCDR/2017/25364.10630.

Habib AS, Wahl K, Gu J, Gan TJ; Adenosine Study Group. Comparison of postoperative pain outcomes after vertical or Pfannenstiel incision for major gynecologic surgery. Curr Med Res Opin 2009;25(6):1529-34. doi: 10.1185/03007990902959168.

Karlström A, Engström-Olofsson R, Norbergh KG, Sjöling M, Hildingsson I. Postoperative pain after cesarean birth affects breastfeeding and infant care. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2007;36(5):430-40. doi: 10.1111/j.1552-6909.2007.00160.x.