การศึกษาการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์โควิด-19 โรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

สมคิด สุทธิคำภา
นครินทร์ อสิพงษ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: สถานการณ์ของมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ต้องมีการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการให้บริการทั้งรักษา ป้องกันและคัดกรองผู้ป่วย รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานก็ต้องมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามมาตรฐาน
วัตถุประสงค์: 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและระบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลศรีสะเกษ
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในบุคลากรโรงพยาบาลศรีสะเกษ
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) กลุ่มตัวอย่าง 416 คน เก็บข้อมูลจากเอกสาร เช่น แบบบันทึกปริมาณมูลฝอย บันทึกตารางการทำงาน คู่มือการปฏิบัติงาน และใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: โรงพยาบาลศรีสะเกษได้มีการให้บริการผู้ป่วยจำนวนมาก ทั้งในด้านของการคัดกรองในคลินิก PUI, ARI และแผนกผู้ป่วยใน ทั้งสิ้น 103,873 ราย เป็นผู้ป่วยติดเชื้อและเข้ารับการรักษาทั้งหมด 62,738 ราย และการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้ถึง 151,054 ราย สถานการณ์ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่ส่งกำจัดเฉลี่ยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เฉลี่ยอยู่ที่ 26,809.9 กิโลกรัมต่อเดือน ข้อมูลด้านพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พบว่าความรู้ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรโรงพยาบาลศรีสะเกษอยู่ในระดับปานกลาง โดยค่าเฉลี่ยของความรู้เท่ากับ 12.9 คะแนน (SD= 2.8,95%CI : 12.6-13.2) ด้านการสนับสนุนของโรงพยาบาลพบว่าอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยของการสนับสนุนเท่ากับ 59.1 คะแนน (SD= 11.1,95%CI : 58.1-60.2) ความตระหนักในการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยของความตระหนักเท่ากับ 63.3 คะแนน (SD= 8.2,95%CI : 62.4-64.1) และด้านการปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อพบว่ามีการปฏิบัติในระดับสูง ค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติเท่ากับ 28.2 คะแนน (SD= 4.4,95%CI : 27.8-28.6)
สรุป: ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 และการให้บริการทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่บุคลากรมีความรู้ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับปานกลาง จึงทำให้มูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ควรมีการศึกษาข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆและศึกษาวิธีการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อเพื่อให้การจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Global analysis of healthcare waste in the context of COVID-19: status, impacts and recommendations. Geneva : World Health Organization ; 2022.

กรมอนามัย สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. โปรแกรมกำกับการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL:https://envmanifest.anamai.moph.go.th/?summary_year_list.

สิริวรรณ จันทนจุลกะ, สมชาย ตู้แก้ว, ประโชติ กราบกราน, ทัยธัช หิรัญเรือง, ปาณิสา ศรีดโรมนต์. การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของประเทศไทย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2564;44(3):115-28.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลศรีสะเกษ. ข้อมูลการให้บริการทั่วไปโรงพยาบาลศรีสะเกษ ปี 2564 (1 ตุลาคม 2563-30 กันยายน 2564) จากระบบ Data center โรงพยาบาลศรีสะเกษ.

ข้อมูล ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2564. ศรีสะเกษ : โรงพยาบาล ; 2564. [เอกสารอัดสำเนา].

Wayne WD. Cross CL. Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences. 6th ed. California : Malloy Lithographing ; 1995: 177-8.

ไพรัช มโนสารโสภณ. พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรคลินิกสถานบริการ จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(4):730–42.

Waltz CF, Strickland OL, Lenz ER. Measurement in Nursing and Health Research. 4th ed. New York: Springer ; 2010.

มณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุข. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาลและสังคมศาสตร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564;8(2):329-43.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากการบริการวัคซีนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19)). [อินเตอร์เน็ต] 2564. [สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565]. ค้นได้จาก:URL:https://covid19.anamai.moph.go.th/webupload/2xdccaaf3d7f6ae30ba

ae1459eaf3dd66/m_document/6730/35236/file_download/9009a8138cc4ac6ca07ffa3775552ebb.pdf.