การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากช่องคลอดด้วยวิธีรังสีรักษา : รายงานผู้ป่วย

Main Article Content

ปฐวี โชติทวีศักดิ์

บทคัดย่อ

     โรคมะเร็งปากช่องคลอดพบได้ไม่บ่อย เกิดจากความผิดปกติของเซลล์กลายเป็นก้อนหรือบาดแผล การรักษามาตรฐานหลักคือการผ่าตัด แต่มีรักษาทางเลือกคือการฉายรังสีกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้
     รายงานผู้ป่วยนี้นำเสนอประสบการณ์และผลการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากช่องคลอดระยะต้นด้วยวิธีรังสีรักษาจำนวน 2 ราย ในระหว่างช่วงวันที่ 1 มกราคม – 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ณ โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา โดยผู้ป่วยหญิงรายที่ 1 อายุ 65 ปี วินิจฉัยมะเร็งปากช่องคลอดระยะที่ 1 ได้รับการรักษาด้วยวิธีรังสีรักษา ปริมาณรังสี 70 Gray (Gy) จำนวน 35 ครั้ง พบภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ได้แก่ ไข้จากเม็ดเลือดขาวต่ำ ภาวะเนื้อเยื่อบริเวณที่ฉายรังสีอักเสบเปื่อยยุ่ย และการเกิดแผลอักเสบติดเชื้อ ต้องพักฉายรังสีเป็นเวลา 5 วัน รวมใช้ระยะเวลารักษา 8 สัปดาห์จากเดิมกำหนดไว้ 7 สัปดาห์ หลังการรักษาพบรอยโรคหายขาด และพบต่อมน้ำเหลืองขาหนีบข้างขวาโตขึ้นร่วมกับมีการแพร่กระจายไปที่ปอดภายหลังการรักษาที่ระยะเวลา 9 เดือน ผู้ป่วยหญิงรายที่ 2 อายุ 87 ปี โรคประจำตัวลิ้นหัวใจตีบ วินิจฉัยมะเร็งปากช่องคลอด ระยะที่ 2 ให้การฉายรังสีปริมาณ 54 Gray (Gy) จำนวน 18 ครั้ง แปลงสมการเทียบปริมาณรังสีเป็นแบบ Conventional Fractionation (Equivalence dose as 2 Gy; EQD2) ได้เท่ากับ 70.2 Gy พบอาการแทรกซ้อนเล็กน้อย สามารถดำเนินการรักษาได้ตามแผนที่วางไว้ ใน 4 สัปดาห์ หลังรักษาพบรอยโรคหายขาด ผู้ป่วยเกิดสภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจวายจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตที่ระยะเวลา 12 เดือนภายหลังการรักษา แต่ไม่พบหลักฐานการหวนกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็งปากช่องคลอด ผลการรักษาโรคมะเร็งปากช่องคลอดด้วยการใช้รังสีรักษาเพียงอย่างเดียวในผู้ป่วยทั้ง 2 รายนี้ ได้ผลลัพธ์หายขาดจากโรคสูง แต่มีระยะเวลาที่ปราศจากโรค ค่อนข้างสั้น ที่ 9 เดือน และ 12 เดือน ตามลำดับ เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว และหรือไม่สามารถรับการผ่าตัดได้

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

Siegel R, Ward E, Brawley O, Jemal A. Cancer statistics, 2011: The impact of eliminating socioeconomic and racial disparities on premature cancer deaths. CA Cancer J Clin 2011;61(4):212-36. doi: 10.3322/caac.20121.

Alteri R, Bertaut T, Brooks D, Chambers W, Chang E, DeSantis C, et al. Cancer Facts and Figures 2015. Atlanta, Georgia: American Cancer Society, 2015.

Imsamran W, Chaiwerawattana A, Wiangnon S, Pongnikorn D, Suwanrungrung K, Sangrajrang S, editors. Cancer in Thailand vol VIII, 2010-2012. National Cancer Institute, Ministry of Public Health. Bangkok; 2015.

Gustavo S. Montana, Song K, Kang Carcinoma of the vulva. In : Halperin EC, Perez CA, Brady LW, Editors. Perez and Brady’s Principles and Practice of Radiation Oncology. 5th ed. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins ; 2008 ; 1692-707.

Amin MB, Edge SB, Greene FL, Byrd DR, Brookland RK, Washington MK,. AJCC Cancer Staging Manual. 7th.ed. New York: Springer International Publishing; 2018.

Haffty BG, Wilson LD, editor. Handbook of Radiation Oncology: Basic Principles and Clinical Protocols. Boston: Jones and Bartlett Publishers; 2009.

Ajani JA, Winter KA, Gunderson LL, Pedersen J, Benson AB 3rd, Thomas CR Jr, et al. Fluorouracil, mitomycin, and radiotherapy vs fluorouracil, cisplatin, and radiotherapy for carcinoma of the anal canal: a randomized controlled trial. JAMA 2008;299(16):1914-21. doi: 10.1001/jama.299.16.1914.

Nishino M, Jagannathan JP, Ramaiya NH, Van den Abbeele AD. Revised RECIST guideline version 1.1: What oncologists want to know and what radiologists need to know. AJR Am J Roentgenol 2010;195(2):281-9. doi: 10.2214/AJR.09.4110.