ความเข้าใจและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้ยาหยอดตาในผู้ป่วยนอกโรคต้อหิน โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

เธษฐา คันธา

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคต้อหินเป็นความเสื่อมของขั้วประสาทตา ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการของโรคได้โดยการติดตามการรักษาและการใช้ยาอย่างถูกวิธีตามที่จักษุแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องแนะนำ ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาประเมินความเข้าใจเรื่องการใช้ยาหยอดยาของผู้ป่วยโรคต้อหินในโรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเข้าใจและเทคนิคการใช้ยาหยอดตาของผู้ป่วยนอกโรคต้อหิน โรงพยาบาลพนัสนิคม
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์จากเหตุไปหาผลแบบไปข้างหน้า โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโรคต้อหินที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลพนัสนิคม จำนวน 285 ราย ระหว่าง 1 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ.2565 โดยการใช้แบบสอบถามและใช้โปรแกรม SPSS หาค่าร้อยละ ความถี่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Chi-square test และ Multiple logistic regression
ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเข้าใจและเทคนิคการใช้ยาหยอดตาได้ถูกวิธี มีความเข้าใจเรื่องการใช้ยาหยอดตาถูกข้างมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 98.2 ผู้ป่วยเคยลืมหยอดยาคิดเป็นร้อยละ 43.9 ไม่ทราบผลเสียของการหยอดยาไม่ต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 35.8 ผู้ป่วยทราบวิธีการใช้ยาหยอดตาจากแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 63.9, 23.5 และ 2.5 ตามลำดับ ผู้ป่วยมีการเว้นระยะเวลาหยอดยาแต่ละตัวห่างกัน 5-10 นาที ร้อยละ 86.3 มีการตรวจสอบชื่อยา ตาข้างที่หยอดและเวลาหยอดยา ร้อยละ 86.0 ผู้ป่วยเก็บยาหยอดตาที่เปิดใช้แล้วในตู้เย็น ร้อยละ 84.9 โดยตำแหน่งที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เก็บยาในตู้เย็น คือ ประตูตู้เย็นร้อยละ 80.0 พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเข้าใจและเทคนิคการใช้ยาหยอดตา ได้แก่ เพศ อายุ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.01) นอกจากนั้นพบว่าระยะเวลารักษาโรคต้อหินและการมีโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน(p<0.05)
สรุป: การศึกษาพบว่า เพศ อายุ ระยะเวลาการเป็นโรคต้อหินและการมีโรคประจำตัวเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์การใช้ยาหยอดตาในผู้ป่วยโรคต้อหิน ผลการศึกษานี้มีประโยชน์ต่อแพทย์และสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถนำผลการวิจัยมาเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยต้อหิน มีความปลอดภัยในการใช้ยามากขึ้นและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ยากับโรคตา หู คอ จมูก. เอกสารการประชุมวิชาการ เภสัชศาสตร์ ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยรังสิตร่วมกับ สํานักงานอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2548 ห้องประชุม 1-301 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์. ปทุมธานี: นิวไทยมิตรการพิมพ์; 2548.

รจิต ตู้จินดา. ต้อหิน. ใน: อภิชาติ สิงคาลวณิช, ญาณี เจียมไชยศรี, บรรณาธิการ. จักษุวิทยา. กรุงเทพฯ: บริษัท โฮลิสติก พับลิสซิ่ง จํากัด; 2542: 176-89.

Allison K, Patel D, Alabi O. Epidemiology of Glaucoma: The Past, Present, and Predictions for the Future. Cureus 2020;12(11):e11686. doi: 10.7759/cureus.11686.

Chan EW, Li X, Tham YC, Liao J, Wong TY, Aung T, et al. Glaucoma in Asia: regional prevalence variations and future projections. Br J Ophthalmol 2016;100(1):78-85. doi: 10.1136/bjophthalmol-2014-306102.

เดชาทร อาสนทอง. ความชุกของผู้ป่วยโรคต้อหินในโรงพยาบาลศรืสะเกษเนื่องในวันต้อหินโลก. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35(3):749-56.

ยุพิน ลีละชัยกุล. การรักษาต้อหินโดยใช้ยา. กรุงเทพมหานคร: กอไผ่การพิมพ์; 2550.

Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd. ed. New York: Harper and Row; 1967.

สมชาย พรวิจิตรพิศาล, พิมพ์ปรียา ขจรชัยกุล, ฉัตรชนก บุริประเสริฐ. ความเข้าใจเรื่องการใช้ยาหยอดตาผู้ป่วยนอกโรคต้อหิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2561;62(2):187-95.

วนิดา ศรีม่วง. ผลการใช้แนวทางการหยอดยาในผู้ป่วยต้อหิน ปฐมภูมิ คลินิกจักษุ โรงพยาบาลศรีสังวร สุโขทัย. โครงการประชุมวิชาการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2 ปีงบประมาณ 2563 ภายใต้หัวข้อ “ต่อยอดคุณค่าสาธารณสุข ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุคดิจิตอล” วันที่ 10 – 11 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: MA2563-001-01-0000000166-0000000042.pdf

จิรัชยา เจียวก๊ก, สุภาวี หมัดอะ, อัสมา เกษตรกาลาม์. การรับรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยต้อหิน. วารสารจักษุธรรมศาสตร์ 2556;8(2):29-44.

วันทนา ลีพิทักษ์วัฒนา. ปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยโรคต้อหินในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2554;21(1):35-48.

Okeke CO, Quigley HA, Jampel HD, Ying GS, Plyler RJ, Jiang Y, et al.

Interventions improve poor adherence with once daily glaucoma medications in electronically monitored patients. Ophthalmology 2009;116(12):2286-93. doi: 10.1016/j.ophtha.2009.05.026.

Kawai-Tsuboi N, Kawai M, Minami Y, Yoshida A. A study of the association between patterns of eye drop prescription and medication usage in glaucoma subjects. J Glaucoma 2015;24(3):202-6. doi: 10.1097/IJG.0b013e31829e1b8b.