ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ธีรวัฒน์ พงศ์ภาณุพัฒน์
ปัณณทัต บนขุนทด
ปิยะอร รุ่งธนเกียรติ
นิยตา ประสงค์กุล
ถาวรีย์ แสงงาม
กัลยา มั่นล้วน

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาทางสังคมที่มีความสำคัญยิ่ง ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ในหลายส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มองปัญหาแบบองค์รวมในมุมมองต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ ความตระหนักในตนเองเกี่ยวกับการเสพสารเสพติด การเห็นคุณค่าในตนเอง ทักษะการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะการตัดสินใจเพื่อป้องกันการเสพสารเสพติด
วิธีการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ข้อตกลงเบื้องต้นได้กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสุขศึกษาก่อน และหลังการทดลองมีทักษะชีวิตไม่แตกต่างกัน ส่วนในด้านความตระหนักในตนเอง และด้านการเห็นคุณค่าในตนเองหลังการทดลองมีความแตกต่างก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสุขศึกษามีทักษะชีวิตไม่แตกต่างกับนักเรียนกลุ่มควบคุม ส่วนในด้านความตระหนักในตนเองพบว่า นักเรียนในกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุป: โปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านความตระหนักในตนเอง และด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง สามารถเพิ่มทักษะชีวิตในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาได้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม และนำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาอื่นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

บุรฉัตร จันทร์แดง, เสาวลักษณ์ โกศลกิติอัมพร, สุธินี อัตถากร. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนดงหลวงวิทยา อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วันที่ 20 มกราคม 2560. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม; 2560: 1487-97.

จุลจีรา จันทะมุงคุณ, ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์, ณัฐิกา ราชบุตร. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563;28(4):304-16.

ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์, อารยา ทิพย์วงศ์, ลักขณา ยอดกลกิจ, สายสมร เฉลยกิตติ. ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดของเยาวชน. เวชสารแพทย์ทหารบก 2562;72(1):33-42.

วสันต์ ศรีแก้วนิตย์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสพกัญชาของผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์: กรณีศึกษา สถานควบคุมตัว และสถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ เรือนจำกลางคลองเปรม. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม, สถาบันอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม, วิทยาลัยรัฐกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2560.

เปรมฤดี หงษ์สุทธิ, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดสารเสพติดของนักเรียนชายโรงเรียนขยายโอกาส. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2560;33(3):112-23.

พิพัฒน์พล พินิจดี, จุฬาภรณ์ โสตะ. โปรแกรมการประยุกต์การสร้างเสริมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2558;22(2):11-20.

วิไลลักษณ์ ลังกา, อรอุมา เจริญสุข, พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์, กัมปนาท บริบูรณ์. โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยภูมิคุ้มกันที่มีต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.). วารสารวิธีวิทยาการวิจัย 2560;30(1):101-18.

ชัชฎาภร พิศมร, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์. การประยุกต์ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อป้องกันการเสพยาบ้าซ้ำของผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด. วารสารสุขศึกษา 2562; 42(1):68-79.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปีผู้ป่วยใน. นนทบุรี; โรงพยาบาลศรีธัญญา: 2561.