ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเท้าของตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

กฤษณา ตั้งขีวินศิริกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้โดยเฉพาะอาจนำมาซึ่งการสูญเสียอวัยวะ เช่น การเป็นแผลเรื้อรังที่เท้า การถูกตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขาได้ การส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าถึงการรักษาที่มี ณภาพทำให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจยังไม่มีความรู้ในการดูแลเท้าของตนเอง หากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้และมีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเท้าของตนเอง การศึกษาความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเท้าเป็นการเพิ่มความตระหนักรู้และช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้นช่วยเพิ่มทักษะในการดูแลตนเอง
วัตถุประสงค์: 1.เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ
2. เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
3.เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Cross-sectional descriptive study ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มา รับการรักษาที่คลินิกพิเศษเบาหวาน ณ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2565 –31 พฤษภาคม พ.ศ.2565
วิธีการศึกษา: แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ความรู้ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยนำเสนอข้อมูลในรูปตารางหรือร้อยละ ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูล โดยใช้ Chi-square Fisher’s exact test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มาเข้ารับบริการในคลินิกพิเศษเบาหวานจำนวน 150 ราย พบว่า ส่วนมากอยู่ในช่วงอายุ 51-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.3 มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ที่เท้าหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 66.0 ส่วนมากเคยได้รับการตรวจเท้าโดยบุคลากรทางการแพทย์คิดเป็นร้อยละ 79.3 เมื่อพิจารณาความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ดีเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ( = 11.98,SD = 2.97) พิจารณาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานมีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวดีเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ( = 28.34,SD = 4.58)
สรุป: การศึกษาความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นกลุ่มประชากรที่มีความรู้อยู่ในเกณฑ์ดี เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ( = 11.98,SD = 2.97) และมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวดีเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วย โรคเบาหวาน( = 28.34,SD = 4.58) และพบว่า เพศ อายุ ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลสะสม และความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

RobatSarpooshi D, Mahdizadeh M, Alizadeh Siuki H, Haddadi M, Robatsarpooshi H, Peyman N. The Relationship Between Health Literacy Level and Self-Care Behaviors in Patients with Diabetes. Patient Relat Outcome Meas 2020;11:129-35. doi: 10.2147/PROM.S243678.

Tan E, Khoo J, Gani LU, Malakar RD, Tay TL, Tirukonda PS, et al. Effect of multidisciplinary intensive targeted care in improving diabetes mellitus outcomes: a randomized controlled pilot study - the Integrated Diabetes Education, Awareness and Lifestyle modification in Singapore (IDEALS) Program. Trials 2019;20(1):549. doi: 10.1186/s13063-019-3601-3.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2565] ค้นได้จาก :URL:https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ill_2561_full_19Nov19.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2565] ค้นได้จาก :URL: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ill_2562_full_20200921.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2565] ค้นได้จาก :URL: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ill_2020_full_27092021%20v2.pdf

Diabetes Prevention Program Research Group. Hypertension, insulin, and proinsulin in participants with impaired glucose tolerance. Hypertension 2002;40(5):679-86. doi: 10.1161/01.hyp.0000035706.28494.09.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย; 2560.

แผนยุทธศาสตร์ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ. กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการดำเนินงานควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ปีพ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2564.

Sun H, Saeedi P, Karuranga S, Pinkepank M, Ogurtsova K, Duncan BB, et al. IDF Diabetes Atlas: Global, regional and country-level diabetes prevalence estimates for 2021 and projections for 2045. Diabetes Res Clin Pract 2022;183:109119. doi: 10.1016/j.diabres.2021.109119.

ดวงเนตร ธรรมกุล, ธณิดา พุ่มท่าอิฐ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2564;15(1):106-18.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า สุธิดา แก้วทา, บรรณาธิการ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง 2562. นนทบุรี : กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Sriussadaporn S, Mekanandha P, Vannasaeng S, Nitiyanant W, Komoltri C, Ploybutr S, et al. Factors associated with diabetic foot ulceration in Thailand: a case-control study. Diabet Med 1997;14(1):50-6. doi: 10.1002/(SICI)1096-9136(199701)14:1<50::AID-DIA292>3.0.CO;2-6.

กมลพรรณ จักรแก้ว. การดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่; 2561.