พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งเสมียนตรา ตำบลบ้านขาม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

สุภาภรณ์ สุวรรณโรจน์
ปัณณทัต บนขุนทด
จิรวรรณ ชาประดิษฐ์
ชุมศรี ต้นเกตุ
ปัณณทัต บนขุนทด
ณรงค์กร ชัยวงศ์
รังสันต์ ไชยคำ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: เนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุส่วนมากมักมีโรคประจำตัวเช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง โรคเหล่านี้ทำให้ต้องใช้ยาในการรักษาจำนวนมาก และก่อให้เกิดปัญหาจากการใช้ยามา ดังนั้นจึงมีความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังเนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรหลักที่มารับบริการในหน่วยบริการ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง การรับรู้ความรุนแรงของโรคการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคของการรับประทานยา และศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยทั้ง 3 ด้านต่อ พฤติกรรมการรับประทานยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง
วิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยดำเนินการศึกษาผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งเสมียนตรา และมารับบริการตั้งแต่ช่วงวันที่ 1 มีนาคม ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ.2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อายุมากกว่า 60 ปี จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 226 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบรวบรวมข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยจากแบบสอบถามโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับดี การรับรู้ความรุนแรงของโรคและการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาอยู่ในระดับมาก การรับรู้อุปสรรคของการรับประทานยาอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ทั้ง 3 ด้านร่วมกันสามารถทำนายพฤติกรรมการรับประทานยาได้ร้อยละ 16 (R2=0.16, F= 5.51, p<0.01) โดยการรับรู้อุปสรรคเป็นตัวแปรเดียวที่สามารถทำนายพฤติกรรมการรับประทานยาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β=-0.34, t=-3.42, p<0.01)
สรุป: พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน โดยเป็นการลดอุปสรรคที่เป็นสิ่งขัดขวางเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่รับประทานยาไม่สม่ำเสมอและไม่มาตรวจตามนัด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กาญจนา ปัญญาธร, ณัฎฐากุล บึงมุม. พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2562;27(2):119-27.

World health Organization. New data highlight increases in hypertension, diabetes incidence. [Internet]. 2013. [Cited 2022 May 10]. Available from:URL: http://www.who.int/topics/hypertension/en/

เอมอร ส่วยสม. พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง. ชัยภูมิเวชสาร 2563;40(1):6-13.

สมเกียรติ โพธิสัตย์, เนติมา คูนีย์, รัชนีบูลย์ อุดมชัยรัตน์, พรทิพย์ ปรีชาไชยวิทย์, สุรีพร คนละเอียด, ศุภลักษณ์ มิรัตนไพร, เกตุแก้ว สายน้ำเย็น. การทบทวนวรรณกรรม: สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี: อาร์ต ควอลิไฟท์. 2556.

Becker MH. The health belief model and sick role behavior. Health Educ Monographs 1974;2(4):409-19. Doi. https://www.jstor.org/stable/45240625

Bandura A. Social Lerning Theory. Michigan : Prentice – Hall; 1997.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607-10.

ศิริมาส บุญประสาร. การปฏิบัติตามแผนการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์เชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย; เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

ดวงเนตร ธรรมกุล, กัลยารัตน์ อนนท์รัตน์. การพยาบาลโดยใช้ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง: มิติสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2564;37(1):14-24.

ศักดิ์นรินทร์ หลิมเจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

Pender NJ, Pender AR. Health promotion in nursing practice. 3rd ed. Michigan: Appleton and Lange; 1996.

มงคล ณ สงขลา. กรอบการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข [Internet]. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มประสานงานคณะรัฐมนตรี รัฐสภา สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ [สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2565]. ค้นได้จาก:URL:http://uto.moph.go.th/strategy/data/naltang_mongkon_n_songkar.pdf

บรรลุ ศิริพานิช. ผู้สูงอายุไทย: ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรของสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย; 2556.

ปิยนุช เสาวภาคย์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2559.

นุจรี อ่อนสีน้อย, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีภาวะก่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560;

(1):63-74.