ผลของกระบวนการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ถกลวรรณ บุญเต็ม
อ้อมแก้ว นิยมวัน
จีรนุช กองเมืองปัก
จารุวรรณ สุขศรีศิริวัชร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายในการให้การบริบาลฟื้นสภาพระยะกลาง (Intermediate care : IMC) ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพจนครบระยะเวลา 6 เดือน
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์และประเมินผลของกระบวนการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Retrospective analytic study) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตามกระบวนการที่มีการจัดกลุ่มในการให้บริการตามระดับความพิการหลังเกิดโรคลอดเลือดสมอง ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 320 ราย วิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลความแตกต่างการทำกิจวัตรประจำวัน ก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและทุกระยะของการติดตามในทุกกลุ่มโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA (p<0.05) ประเมินผลการนำแนวทางไปปฏิบัติของทีมสหสาขาใน รพ.สต.ทั้ง 24 แห่ง ด้วยสถิติเชิงบรรยาย
ผลการศึกษา: พบว่าทีมสหสาขาสามารถปฏิบัติตามกระบวนการอย่างสม่ำเสมอ กลุ่มตัวอย่างสามารถทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น โดยกลุ่ม MRS 3 และกลุ่ม MRS 4,5 มีค่าเฉลี่ยคะแนน BI ในเดือนที่ 3(91.4±19.1, 70.5±26.8) เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในกลุ่ม MRS 4,5 มีค่าเฉลี่ยคะแนน BI ในเดือนที่ 6 (76.5±28.6) เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: กระบวนการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพต้องใช้ความร่วมมือทีมสหวิชาชีพในการทำงานร่วมกัน โดยจัดบริการติดตามเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพกลุ่มผู้ป่วย MRS 3 ภายใน 3 เดือน ส่วนผู้ป่วย MRS 4,5 ควรจัดบริการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 4 ครั้งภายในระยะเวลา 6 เดือน เพื่อลดการสูญเสีย ช่วยกระตุ้นกระบวนการฟื้นตัวและเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีที่สุด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Chinchai P, Jindakham N, Apichai S. Functional abilities of stroke survivors receiving services at Community Rehabilitation Center. J Assoc Med Sci 2017;50(3):336-46.

Loewen SC, Anderson BA.Reliability of the Modified Motor Assessment Scale and the Barthel Index. Phys Ther 1988;68(7):1077-81. doi: 10.1093/ptj/68.7.1077.

ปิยะภัทร เดชพระธรรม, รัตนา มีนะพันธ์, ประเสริฐพร จันทร, สมลักษณ์ เพียรมานะกิจ, เสาวลักษณ์ จันทรเกษมจิต, อัมไพ อยู่วัลย์. ความน่าเชื่อถือของแบบประเมินบาร์เธลฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2549;16(1):1-9.

Sulter G, Steen C, De Keyser J. Use of the Barthel index and modified Rankin scale in acute stroke trials. Stroke 1999;30(8):1538-41. doi: 10.1161/01.str.30.8.1538.

Best JW, Kahn JV. Research in Education. New jersey: Prentice-Hall Inc.; 1981: 182-3.

van Swieten JC, Koudstaal PJ, Visser MC, Schouten HJ, van Gijn J. Interobserver agreement for the assessment of handicap in stroke patients. Stroke 1988;19(5):604-7. doi: 10.1161/01.str.19.5.604.

อนงค์ ถาวร, ศศิวิมล พงษ์นิลละอาภรณ์, กฤตพัทธ์ ฝึกฝน. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันเฉียบพลัน โรงพยาบาลพะเยา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557;32(3):110-8.

Shinohara T, Usuda S. Association of Ability to Rise from Bed with Improvement of Functional Limitation and Activities of Functional Limitation and Activities of Daily Living in Hemiplegic Inpatients with Stroke: a Prospective Cohort Study. J Phys Ther Sci 2010;22(1):29-34. DOI:10.1589/jpts.22.29

กัญจน์ณิชา เยียดไธสง, สุรชาติ สิทธิปกรณ์, สุพัตรา บัวที. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์ต่อการปรับตัวด้านร่างกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2558;30(5):491-7.