การศึกษาเพื่อหาความรุนแรงและปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

Main Article Content

กาญจนา เทียบกลาง
ธันยพร จันทร
เฉลิมชัย เลิศอนันต์สิทธิ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นมีกลไกที่การทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง (immune exhaustion) ทั้งจากตัวโรคมะเร็งเอง รวมถึงจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 หรือหากติดจะมีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามมีบางการศึกษาพบว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดไม่ได้เพิ่มความรุนแรงของโรค การศึกษานี้จึงต้องการศึกษาหาความรุนแรงและปัจจัยพยากรณ์ที่มีผลต่อความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาในบริบทโรงพยาบาลศูนย์ในประเทศไทย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งและมีการติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ในศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลสุรินทร์ เพื่อศึกษาหา ความชุก ความรุนแรงและปัจจัยพยากรณ์โรคที่มีผลต่อความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยโรคมะเร็งติดเชื้อโควิด-19 ทั้งสิ้น 189 ราย (ร้อยละ 4.4) ซึ่งมากกว่าเมื่อเทียบกับความชุกของการติดเชื้อโควิด-19 ในประชากรทั่วไปของจังหวัดสุรินทร์ (ร้อยละ 3.8) เป็นเพศชาย 123 ราย (ร้อยละ 65.1) มีอายุเฉลี่ย 58.9 ปี (SD 13.6) ได้รับยาเคมีบำบัดอยู่ขณะติดเชื้อ 54 ราย (ร้อยละ 28.6) ได้รับ covid vaccine อย่างน้อย 1 เข็ม 145 ราย (ร้อยละ 76.7) ได้รับ covid vaccine เข็ม 3 เป็นต้นไป 51 ราย (ร้อยละ 27.0) โดยมีการติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยที่ทางเดินหายใจส่วนต้น (covid upper respiratory tract infection) 158 ราย (ร้อยละ 83.6) มีการติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรงที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง (covid pneumonia) 31 ราย (ร้อยละ 16.4) โดยในจำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต 4 ราย (ร้อยละ 2.1) ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อทำให้การติดเชื้อโควิด-19 มีความรุนแรงมากขึ้นคือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 75 ปี การมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค และกลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เมื่อนำปัจจัยมาวิเคราะห์แบบ multivariate พบว่ามี 2 ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 มีความรุนแรงของการติดเชื้อมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือ กลุ่มที่มีอายุมากกว่า 75 ปี (OR 4.47; 95% CI 1.752 – 11.416; p = 0.002) และกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด (OR 2.66; 95% CI 1.131-6.235; p = 0.025)
สรุป: ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีความชุกของติดเชื้อโควิด-19 มากกว่ากลุ่มประชากรทั่วไป โดยปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 75 ปี หรือผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวัคซีน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Sica A, Colombo MP, Trama A, Horn L, Garassino MC, Torri V. Immunometabolic Status of COVID-19 Cancer Patients. Physiol Rev 2020;100(4):1839-50. doi:10.1152/physrev.00018.2020.

Wang H, Zhang L. Risk of COVID-19 for patients with cancer. Lancet Oncol 2020;21(4):e181. doi: 10.1016/S1470-2045(20)30149-2.

Yang F, Shi S, Zhu J, Shi J, Dai K, Chen X. Clinical characteristics and outcomes of cancer patients with COVID-19. J Med Virol 2020;92(10):2067-73. doi: 10.1002/jmv.25972

Lee LY, Cazier JB, Angelis V, Arnold R, Bisht V, Campton NA, et al. COVID-19 mortality in patients with cancer on chemotherapy or other anticancer treatments: a prospective cohort study. Lancet 2020;395(10241):1919-26. doi: 10.1016/S0140-6736(20)31173-9.

Izcovich A, Ragusa MA, Tortosa F, Lavena Marzio MA, Agnoletti C, Bengolea A, et al. Prognostic factors for severity and mortality in patients infected with COVID-19: A systematic review. PLoS One 2020;15(11):e0241955. doi: 10.1371/journal.pone.0241955.

Napoli C, Tritto I, Mansueto G, Coscioni E, Ambrosio G. Immunosenescence exacerbates the COVID-19. Arch Gerontol Geriatr 2020;90:104174. doi: 10.1016/j.archger.2020.104174.

Bajaj V, Gadi N, Spihlman AP, Wu SC, Choi CH, Moulton VR. Aging, Immunity, and COVID-19: How Age Influences the Host Immune Response to Coronavirus Infections? Front Physiol 2021;11:571416. doi: 10.3389/fphys.2020.571416.

Robilotti EV, Babady NE, Mead PA, Rolling T, Perez-Johnston R, Bernardes M, et al. Determinants of COVID-19 disease severity in patients with cancer. Nat Med 2020;26(8):1218-23. doi: 10.1038/s41591-020-0979-0.

Guo T, Shen Q, Guo W, He W, Li J, Zhang Y, et al. Clinical Characteristics of Elderly Patients with COVID-19 in Hunan Province, China: A Multicenter, Retrospective Study. Gerontology 2020;66(5):467-75. doi: 10.1159/000508734.

Guan WJ, Liang WH, Zhao Y, Liang HR, Chen ZS, Li YM, et al. Comorbidity and its impact on 1590 patients with COVID-19 in China: a nationwide analysis. Eur Respir J 2020;55(5):2000547. doi: 10.1183/13993003.00547-2020

Bajpai J, Kant S, Verma A, Patwa AK, Atam V, Chaudhary SC, et al. The Severity of COVID 19 Pneumonia in Vaccinated vs. Non-vaccinated Patients in the Second Wave: An Experience From a Tertiary Care Center in India. Cureus 2022;14(5):e25378. doi: 10.7759/cureus.25378.

Abbasi J.COVID-19 mRNA Vaccines Blunt Breakthrough Infection Severity. JAMA 2021;326(6):473. doi: 10.1001/jama.2021.12619.

Lopez Bernal J, Andrews N, Gower C, Robertson C, Stowe J, Tessier E, et al. Effectiveness of the Pfizer-BioNTech and Oxford-AstraZeneca vaccines on covid-19 related symptoms, hospital admissions, and mortality in older adults in England: test negative case-control study. BMJ 2021;373:n1088. doi: 10.1136/bmj.n1088.

Lei H, Yang Y, Zhou W, Zhang M, Shen Y, Tao D, et al. Higher mortality in lung cancer patients with COVID-19? A systematic review and meta-analysis. Lung Cancer 2021;157:60-65. doi: 10.1016/j.lungcan.2021.05.002.