ปัญหาคุณภาพการนอนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพยาบาลโรงพยาบาลบ้านด่าน

Main Article Content

สุธี คงนันทะ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: พยาบาลเป็นหนึ่งในวิชาชีพที่ทำงานเป็นกะ โดยลักษณะงานดูแลผู้ป่วยจำเป็นต้องมีพยาบาลทำงานตลอด 24 ชั่วโมง และพยาบาลส่วนใหญ่ต้องทำงานต่อเนื่องกันถึง 16 ชั่วโมง มีโอกาสสูงที่ทำให้เกิดปัญหาการนอน ซึ่งจะส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตถดถอยลงไปได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกปัญหาคุณภาพการนอนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาคุณภาพการนอนของพยาบาลโรงพยาบาลบ้านด่าน
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางในพยาบาลที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) พฤติกรรมสุขภาพ 3) คุณภาพการนอนหลับ เป็นแบบสอบถามที่แปลและดัดแปลงจากพิทส์เบิร์ก 4) แบบทดสอบภาวะซึมเศร้าแบบ 2 คำถาม และ 5) แบบทดสอบคัดกรองปัญหาสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติก กำหนดนัยสำคัญ
ผลการศึกษา: จากพยาบาลจำนวน 53 คน พบความชุกของปัญหาคุณภาพการนอน ร้อยละ 64.2 และพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับ คือ การดื่มชา/กาแฟ (Crude OR = 4.77, 95% CI = 1.03, 22.02) และการมีภาวะซึมเศร้า (Adjusted OR = 5.94, 95% CI = 1.54, 22.98)
สรุป: ความชุกของปัญหาคุณภาพการนอนของพยาบาลของโรงพยาบาลบ้านด่านเท่ากับ ร้อยละ 64.2และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับ คือ การดื่มชา/กาแฟ และการมีภาวะซึมเศร้า ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการวางแผนหรือกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อลดและป้องกันปัญหาการนอนของพยาบาลต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Sadock BJ, Sadock VA, Ruiz P, editors. Kaplan and Sadock's Synopsis of Psychiatry: Behavioral Sciences/Clinical Psychiatry. 11th ed. Philadelphia, PA: Walters Kluwer; 2015.

นาฏนภา อารยะศิลปธร, พัชนี สมกำลัง, จรัสศรี สีลาวุธ, จันทร์จิรา ภูบุญเอิบ, จิราภรณ์ มุลเมืองแสน. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560; 28(1): 38-50.

ชลธิชา แย้มมา, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. ปัญหาการนอนหลับ ความเหนื่อยล้า และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2556; 58(2): 183-96.

สุจินดา ริมสีทอง, สุดาพรรณ ธัญจิรา, อรุณศรี เตชัสหงส์, บรรณาธิการ. พยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาล เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2550.

Hauri PJ. Insomnia. Clin Chest Med 1998;19(1):157-68. doi: 10.1016/s0272-5231(05)70439-1.

Léger D, Guilleminault C, Bader G, Lévy E, Paillard M. Medical and socio-professional impact of insomnia. Sleep 2002;25(6):625-9.

Walsh JK, Engelhardt CL. The direct economic costs of insomnia in the United States for 1995. Sleep 1999;22 Suppl 2:S386-93.

Gold DR, Rogacz S, Bock N, Tosteson TD, Baum TM, Speizer FE, et al. Rotating shift work, sleep, and accidents related to sleepiness in hospital nurses. Am J Public Health 1992;82(7):1011-4. doi: 10.2105/ajph.82.7.1011.

Niu SF, Chu H, Chung MH, Lin CC, Chang YS, Chou KR. Sleep quality in nurses: a randomized clinical trial of day and night shift workers. Biol Res Nurs 2013;15(3):273-9. doi: 10.1177/1099800412439459.

Akerstedt T. Sleep/wake disturbances in working life. Electroencephalogr Clin Neurophysiol Suppl 1987;39:360-3.

Akerstedt T. Shift work and disturbed sleep/wakefulness. Sleep Med Rev. 1998;2(2):117-28. doi: 10.1016/s1087-0792(98)90004-1.

Boivin DB, Boudreau P. Impacts of shift work on sleep and circadian rhythms. Pathol Biol (Paris) 2014;62(5):292-301. doi: 10.1016/j.patbio.2014.08.001.

Chiba S. [Sleep disorders in shift workers and life-style related disease]. [Article in Japanese]. Nihon Rinsho 2012;70(7):1177-82.

ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์, วรัญ ตันชัยสวัสดิ์. ปัญหาคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2540 ; 42(3) : 123-32.

ฉันทนา แรงสิงห์, เดชา ลลิตอนันต์พงศ์. คุณภาพการนอนหลับและภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2551;52(ฉบับพิเศษ):71-85.

Aroca MS, García TG, Iborra ML, Poncelas EA, López XD. Sleep quality of nurses working in six hospitals of the spanish national health system. Sleep Med 2013;14(Suppl 1):e65

จิราภรณ์ ทับแสงสี, วิโรจน์ เจียมจรัสรังสี, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย. คุณภาพการนอนหลับของพยาบาลประจำการหออภิบาลผู้ป่วยหนักในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2551;52(6):465-75.

นาถฤดี เด่นดวง, กนกวรรณ ธราวรรณ. สุขภาพและความปลอดภัยของผู้หญิงในการทำงาน. ใน: พิมพ์วลัย บุญมงคล, นิภรณ์ สัณหจริยา, ศันสนีย์ เรืองสอน, บรรณาธิการ. รื้อสร้างองค์ความคิดผู้หญิงกับสุขภาพ. นครปฐม: เจนเดอร์เพรส; 2542: 137-354.

ธิติมา ณรงค์ศักดิ์, ฐิติมา สงวนวิชัยกุล, วรพงศ์ ตรีสิทธิวนิช. การนอนหลับและสุขอนามัยการนอนหลับ:บทความฟื้นฟูวิชาการ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2563;14(2): 69-85.

โชติมันต์ ชินวรารักษ์, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, นัฏศรา ดำรงพิวัฒน์. คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุที่หมู่บ้านประชานิเวศน์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561; 63(2): 199-210.

Wang B, Lu Q, Sun F, Zhang R. The relationship between sleep quality and psychological distress and job burnout among Chinese psychiatric nurses. Ind Health 2021;59(6):427-35. doi: 10.2486/indhealth.2020-0249.

วราภา แหลมเพ็ชร. การนอนหลับและปัจจัยรบกวนการนอนหลับของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแผนกอายุรกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2544.

นิจวรรณ เกิดเจริญ, ชัยพร วิศิษฐ์พงศ์อารีย์, ชัญญวัชร เผดิมพรร่มเย็น, ชิติพัทธ์ เจริญนพคุณศรี, ณัฎฐวุฒิ สิทธิศักดิ์, นทีธร อิ่มเอิบปฐม และคณะ. ปัจจัยด้านการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยใน คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2563;64(1):41-58.

Chaiard J, Deeluea J, Suksatit B, Songkham W, Inta N, Stone TE. Sleep disturbances and related factors among nurses. Nurs Health Sci 2019;21(4):470-8. doi: 10.1111/nhs.12626