ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาที่มีต่อทัศนคติในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

อนุชิดา อายุยืน
ปัณณทัต บนขุนทด
ถาวรีย์ แสงงาม
กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร
ริรร์ พิมมานุรักษ์
กัลยา มั่นล้วน

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ไม่พร้อมและเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันการสอนเพศศึกษาจำกัดอยู่กับการสอนทฤษฎีทำให้วัยรุ่นขาดทักษะป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาที่มีต่อทัศนคติการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Simple paired t–test
ผลการศึกษา: ก่อนให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา ทัศนคติด้านบวกโดยรวมอยู่ในระดับดี ทัศนคติด้านลบโดยรวมอยู่ในระดับดี และหลังให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา ทัศนคติด้านบวกโดยรวมอยู่ในระดับดี ทัศนคติด้านลบโดยรวมอยู่ในระดับดี และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของทัศนคติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนก่อนและหลังให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาพบว่า ทัศนคติเชิงลบที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น มีนัยสำคัญทางสถิติทุกข้อ
สรุป: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์โปรแกรมทักษะชีวิตในการป้องกันความเสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรมีการนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับนักเรียนที่มีระดับการศึกษาใกล้เคียงกันต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ชลดา อานี, กรัณฑรัตน์ บุญชวยธนาสิทธิ์, ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดนนทบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 2560;32(2):137-43.

พิชญ์จิลักษณ์ เค้าแคน. รายงานการวิจัย ผลของการให้สุขศึกษาเรื่องเพศศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตตำบลหนองตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองตอกแป้น; 2560. (เอกสารอัดสำเนา)

World Health Organization, Stop TB Partnership. The global plan to stop TB 2011-2015: transforming the fight towards elimination of tuberculosis. Geneva: World Health Organization; 2013.

ครงการประเมินเทคโนโลยี และนโยบายด้านสุขภาพ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 และติดตามความก้าวหน้าปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2556.

สารประชากร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2559. [อินเตอร์เน็ท]. 2559. [สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565]. ค้นได้จาก: https://shorturl.asia/l4MSR.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2564: [อินเตอร์เน็ท]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565]. ค้นได้จาก: URL:https://rh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-1/download/?did=211184&id=97083&reload=.

Likert R. The Method of Constructing and Attitude Scale. In: Fishbein M, edited. Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley and Son; 1967: 90-95.

พอเพ็ญ ไกรนรา, เมธิณี เกตวาธิมาตร, มัณฑนา มณีโชติ. ผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยแกนนำนักศึกษาพยาบาลต่อความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2556;19(2):20-30.

ซอพียะห์ หะยีดาโอะ และชูศักดิ์ เพรสคอทท์. โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเองเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนมุสลิม อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุข ศาสตรมหาบัณทิต] คณะสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; สงขลา: มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา; 2558.

เอ็มวิกา แสงชาติ, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559;23(1):96-104.

จุติมาศ เม่งช่วย, กนกรัตณ์ ชลศิลป์, อรัญญา รักหาบ. ผลของโปรแกรมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดกระบี่. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี; 2561.

พัชนียา เชียงตา, ศิริวรรณ ทุมเชื้อ, มัณฑนา มณีโชติ, สุภัสสร เลาะหะนะ, พรพรรณ พุ่มประยูร, ศิริธร ยิ่งเรงเริง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางเพศเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเขตเทศบาลเมืองสระบุรีวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2561;34(2):67-79.

สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล, วิฐารณ บุญสิทธิ, วาณี วิสุทธิ์เสรีวงศ์, รัตนาวลัย นิติยารมณ์, อัจฉรา สัมบุญณานนท์. ตำรากุมารเวชศาสตร์ศิริราช ประเด็นสำคัญในเวชปฏิบัติ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2559.