การพัฒนาระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ระยะคลอดในสถานการณ์โควิด-19 โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

อรกัญญา ฟังสูงเนิน
บังอร ตุพิมาย
บุญจันทร์ สีก้อมวงษา
โสภา บุตรดา

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 งานห้องคลอดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ พบว่าจำนวนสตรีตั้งครรภ์ระยะคลอดที่ติดเชื้อและเสี่ยงสูง เข้ารับบริการมากกว่าจำนวนเตียงในห้องแรงดันลบ ปัญหาข้อจำกัดของสถานที่ ระบบระบบอากาศ ความไม่พร้อมของ อุปกรณ์และแนวทางปฏิบัติไม่ชัดเจน ทำให้บุคลากรติดเชื้อโรคโควิด 19 จากการปฏิบัติงานและเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในห้องคลอด
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ระยะคลอด ในสถานการณ์โรคโควิด 19
2) ศึกษาผลของการพัฒนาระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ระยะคลอดได้แก่ การติดเชื้อของบุคลากรในหน่วยงาน และการแพร่ระบาดเชื้อโรคโควิด 19 ในห้องคลอด
3) เปรียบเทียบผลของการจัดระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ระยะคลอดของผู้ให้บริการก่อนและหลังการพัฒนา
4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของบุคลากรต่อระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ระยะคลอดในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ทำการศึกษาตั้งแต่ 10 กันยายน พ.ศ.2565 ถึง 31ตุลาคม พ.ศ.2565 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหา 2) พัฒนาระบบการดูแล 3) ลงสู่การปฏิบัติ 4) ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด จำนวน 32 คน และสตรีตั้งครรภ์ระยะคลอดที่มารับบริการ จำนวน 905 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการปฏิบัติ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t- test
ผลการศึกษา: 1.ได้ระบบการการดูแลสตรีตั้งครรภ์ระยะคลอดในสถานการณ์โรคโควิด19 ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติตามกระบวนการดูแลตั้งแต่แรกรับจนจำหน่ายจากห้องคลอด 2)แนวปฏิบัติผู้ให้บริการ 3)แนวปฏิบัติผู้รับบริการ 4) แนวปฏิบัติด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 2.ผลของการพัฒนาระบบไม่พบการติดเชื้อโรคโควิด19ของบุคลากร และไม่เกิดการแพร่ระบาดโรคโควิด19 ในห้องคลอด 3.หลังการพัฒนาระบบ มีการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดเพิ่มขึ้น 4.บุคลากรมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดเฉลี่ย (Mean=4.5, SD=0.8)
สรุป: ระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ระยะคลอด ในสถานการณ์โรคโควิด 19 ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สุปิยา วิริไฟ, พิมลดา ลัดดางาม. Coronavirus Disease 2019(COVID-19) และการตั้งครรภ์ :ความท้าทายของพยาบาลผดุงครรภ์.วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม2564;22(43):89-102.

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.กรมอนามัยห่วงหญิงตั้งครรภ์แนวโน้มติดเชื้อโควิด-19. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://pr.moph.go.th/index.php?url=pr/detail/2/02/171679/

ประชาไท.ผลการศึกษาชี้บุคลากรทางการแพทย์ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มสูงที่จะติดเชื้อโควิด-19 ในที่ทำงาน.[อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2565]. ค้นได้จาก: URL: https://prachatai.com/journal/2022/04/98242

สภาการพยาบาล. ข้อมูลนโยบายและทิศทางการผลิต การพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาล ปัญหาการขาดแคลนและการธำรงรักษาพยาบาล. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://www.tnmc.or.th/news/723

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. นิยามและแนวปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคสำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยง ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปรับปรุงวันที่ 21 พฤษภาคม 2565. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: http://www.spko.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/06/control-covid.pdf

ชนิดาภา ขอสุขวรกุล, จิรา ขอบคุณ, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, สุภาพักตร์ หาญกล้า.โรคโควิด-19: แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในสถานการณ์การระบาดของโรค.วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2564;22(2) :138-49.

คณะทำงานวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข.คำแนะนำการเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลรองรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Checklist for Health facilities on COVID-19 response). [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 22 มิถุนายน 2565] . ค้นได้จาก:URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g06_facility_030463.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ส่วนบุคคลป้องกันการติดเชื้อ(Personal Protective Equipment, PPE) ฉบับวันที่ 20 เมษายน 2563. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565]. ค้นได้จาก: URL:https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g07_ppe.pdf

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อและเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.ข้อแนะนำแนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ กรณีโรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Novel Corona virus: nCoV) (ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563). [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565]. ค้นได้จาก:URL : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/G32.pdf

เครือข่ายพยาบาลควบคุมการติดเชื้อจังหวัดบุรีรัมย์. แนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ กรณีโรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19): 2563. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: ipc-when-covid-19-is-suspected-thai-final-final.pdf (who.int)

ตรีญดา โตประเสริฐ. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ สถาบันบำราศนราดูร.วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2564:15(1):25-36.

สุธารัตน์ แลพวง. การบริหารจัดการภายใต้มาตรการคัดกรองเพื่อรับมือสถานการณ์โรคไวรัส COVID-19 ของโรงพยาบาลปทุมธานี. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2565] ค้นได้จาก:URI:

http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/viewIndex/316

ชรี จันทร์เอี่ยม, มาลีวรรณ เกษตรทัต, พรพิมล คุณประดิษฐ์,ศศิประภา ตันสุวัฒน์.การบริหารจัดการระบบบริการพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) โรงพยาบาลลำพูน.วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2564;29(1):115-28.