การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

วัชชรีภรณ์ รัตรสาร
ณัฐกานต์ บุญโก่ง
ปิติวดี กิ่งมณี

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การบาดเจ็บหลายระบบ (Multiple trauma) เป็นการบาดเจ็บจากแรงกระแทกภายนอกทำให้อวัยวะได้รับบาดเจ็บตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไปส่งผลคุกคามต่อชีวิต จากการทบทวนผู้ป่วยอุบัติเหตุ ปีงบประมาณ 2561 ผู้ป่วยที่มีค่าโอกาสรอดชีวิต(Ps > 0.75) เสียชีวิต ร้อยละ 40.3 พบความคลาดเคลื่อนทางการรักษาพยาบาลตั้งแต่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินหอผู้ป่วยหนักและหอผู้ป่วยใน จากการขาดรูปแบบการดูแลที่ชัดเจนในการดูแล
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบและประเมินผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2565 เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) FLOW การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ 2) แผนการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ 2) แบบสอบถามการรับรู้และการปฏิบัติตามแผนการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย/ญาติต่อการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ 4) แบบสอบถามความง่าย ความสามารถและความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอนุมานใช้ Chi- square test สถิติพรรณนาใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: ผลการใช้รูปแบบ พบว่า
1) มีการจัดการความปวดดีขึ้น เกิดแผลกดทับ ข้อเท้าติดปลายเท้าตกลดลง อาการทรุดลงจากการเฝ้าะวังไม่เพียงพอลดลง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
2) ผู้ป่วยหรือญาติมีความพึงพอใจต่อการดูแลในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.6)
3) พยาบาลรับรู้และปฏิบัติตามรูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบร้อยละ98.7, 98.4 ตามลำดับ
4) ความง่าย ความสามารถในการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 3.4 และ 3.5 ตามลำดับ 5) ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 8.1
สรุปผลการศึกษา: รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้นทั้งในด้านผลลัพธ์ทางการพยาบาล ด้านกระบวนการและด้านผู้ปฏิบัติผู้ป่วย/ญาติมีความพึงพอใจต่อการดูแลในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Frink M, Lechler P, Debus F, Ruchholtz S. Multiple Trauma and Emergency Room Management. Dtsch Arztebl Int 2017;114(29-30):497-503.

Butcher NE, Balogh ZJ. Update on the definition of polytrauma. Eur J Trauma Emerg Surg 2014;40(2):107-11.

Aleksandra S, Ivan M, Randal SB. Teamwork errors in Trauma resuscitation. ACM Trans Comput HumInteract 2012;19(2):1-30.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี พ.ศ. 2563. นนทบุรี : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

จันทิมา พรเชนศวรพงศ์, เพ็ญศรี ลออ, กวินทร์นาฏ บุญชู. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครนายก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559;26(2):89-102.

Bach JA, Leskovan JJ, Scharschmidt T, Boulger C, Papadimos TJ, Russell S, et al. The right team at the right time - Multidisciplinary approach to multi-trauma patient with orthopedic injuries. Int J Crit Illn Inj Sci 2017;7(1):32-7.

กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์. ข้อมูลสถิติผู้ป่วย กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ ปี 2561. สุรินทร์ : กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสุรินทร์; 2561. (เอกสารอัดสำเนา)

Soukup SM. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am 2000;35(2):301-9.

Melnyk BM, Fineout-Overholt E, Mays MZ. The evidence-based practice beliefs and implementation scales: psychometric properties of two new instruments. Worldviews Evid Based Nurs 2008;5(4):208-16.

ฟองคํา ดิลกสกุลชัย. การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์: หลักการและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พรี-วัน; 2549.

Alghamdi AA, Alaklabi MH, Alanazi MK, Makeen NM. Systematic review of Evidence-based in beneficial preventing hypothermia for adult trauma patients in accident. international journal of advanced research 2016;5(1), 2718-28.

ดวงกมล สุวรรณ์, วิภา แซ่เซี้ย และประณีต ส่งวัฒนา. ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์การดูแลในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารสภาการพยาบาล 2561;33(4):33-45.

กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร, ฐิติ ภมรศิลปะธรรม และลัดดา มีจันทร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

อุตรดิตถ์ 2557;6(1):24-37.

ดวงกมล พงศ์ศรีโรจน์, ดวงเพ็ญ แวววันจิตร, ภินวนันทน์ นิมิตพันธ์ และโอสรี อัครบวร. ผลของใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำ จำนวนวันนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารสภาการพยาบาล 2565;37(2):46-60.

Saesia W, Songwathana P, Ingkavanich P. The development of clinical nursing practice guidelines for initial assessment in multiple injury patients admitted at trauma ward. Australas Emerg Nurs J 2012;15:93-9.

Koyfman L, Brotfain E, Frank D, Bichovsky Y, Kovalenko I, Benjamin Y, et al. The clinical significance of hyperglycemia in nondiabetic critically ill multiple trauma patients. TAEM 2018;9(8):223–30

สุพรพรรณ กิจบรรยงเลิศและ วงศ์จันทร์ เพชรพิเชษฐ์เชียร. รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลอย่าง เร่งด่วนตามมาตรฐานเชิงประจักษ์ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง. วารสารการปฏิบัติติการพยาบาลและผดุงครรภ์ไทย 2561;5(1):5-18.

นวลทิพย์ ธีระเดดชากุล, นุชศรา พรมชัย และนงลักษณ์ พลแสน. ประสิทธิผลการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบด้วย Multiple Injury Nursing Management Guideline แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561;33(2):165-77.

นริศรา อาจอ่อนศรี, ธีรพงศ์ โตเจริญโชค, จอรกิตต์ ดวงจักร และวิศัลย์ศยา คำภูเขียว. แนวปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นสูงสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด:บทบาทพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล 2565;37(2):5-19

ณัฐณิชา พรมโสภา, อรพรรณ โตสิงห์, สุพร ดนัยดุษฎีกุล และกฤษณ์ แก้วโรจน์. ปัจจัยทำนายภาวะช็อคจากการเสียเลือดของผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรงแรกรับ ณ ห้องฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2559; 10(2):131-41.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า, ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง. ผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการปฏิบัติของพยาบาลและอุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. พยาบาลสาร 2558;42(ฉบับพิเศษ):95-104.

Saesia W, Songwathana P, Ingkavanich P. The development of clinical nursing practice guidelines for initial assessment in multiple injury patients admitted at trauma ward. Australas Emerg Nurs J 2012;15(2):93-9. https://doi.org/10.1016/j.aenj.2012.02.003