การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

Main Article Content

สุขวดี เกษสุวรรณ
นงเยาว์ ลาวิณห์
นิภาวรรณ รัตนานนท์
สิริลักษณ์ วงษาเนาว์
สุภาภรณ์ โต๊ะซอ
ทิพย์พาณี คุ้มเพชร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: มารดาหลังคลอดที่ออกจากโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เกิดจากการขาดความตระหนัก ความรู้ และทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งการเยี่ยมบ้านเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน จึงได้พัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีการดำเนินการ 7 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้าน 2) วางแผนการปฏิบัติและกำหนดเป้าหมาย 3) การนำไปทดลองใช้ 4) การปรับปรุง 5) การปฏิบัติตามรูปแบบการเยี่ยมบ้าน 6) การประเมินผลการดำเนินงาน และ 7) การสรุปผลและจัดทำรูปแบบการเยี่ยมบ้านในมารดาหลังคลอด โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดในชุมชน ตำบลองครักษ์ ตำบลบึงศาล ตำบลคลองใหญ่ และตำบลชุมพล จังหวัดนครนายก จำนวน 150 คน ดำเนินการระหว่าง วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา: จากการใช้รูปแบบการเยี่ยมบ้านเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน พบว่า มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30.0 และความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 99.5
สรุป: การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนครั้งนี้ มีรูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน โดยมีปัจจัยความสำเร็จคือความร่วมมือจากทีมสหวิชาชีพทั้งในชุมชนและสถานบริการ ส่งผลให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนสูงขึ้น และมารดาหลังคลอดในชุมชนมีความพึงพอใจ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Steve M, Aduke DC, Olugbenga OJ. Awareness of the benefits and practice of exclusive breastfeeding (EBF) among nursing mothers in Anyigba, North central Nigeria. IHSN 2017;5(1):1-5. http://pubs.sciepub.com/jnh/5/1/1/

UNICEF. Adopting optimal feeding practices is fundamental to a child’s survival, growth and development, but too few children benefit. [Internet]. 2017 [cited 2017 Apr 4]. Available from: Adopting Optimal Feeding Practices Is Fundamental To A Child’s Survival, Growth and Development, But Too Few Children Benefit | Nice Breastfeeding Blog (breastfeedingproductgallery.blogspot.com)

สำนักงานสถิติแห่งชาติ, องค์การยูนิเซฟแห่งประเทศไทย. การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 59. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 - ผลสำรวจที่สำคัญ.pdf (unicef.org)

สุขวดี เกษสุวรรณ. สถิติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: งานการพยาบาลผู้ป่วยในพิเศษ 8/1 และงานการพยาบาลผู้ป่วยใน 8/2.โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี; 2558. (เอกสารอัดสำเนา).

Dinour LM, Szaro JM. Employer-Based Programs to Support Breastfeeding Among Working Mothers: A Systematic Review. Breastfeed Med 2017;12:131-41. doi: 10.1089/bfm.2016.0182.

Dykes F, Moran VH, Burt S, Edwards J. Adolescent mothers and breastfeeding: experiences and support needs--an exploratory study. J Hum Lact 2003;19(4):391-401. doi: 10.1177/0890334403257562.

Fata S, Atan SU. The relationship between fatigue and breastfeeding self-efficacy. Niger J Clin Pract 2018;21(11):1408-14. doi: 10.4103/njcp.njcp_366_17.

Houghtaling B, Byker Shanks C, Ahmed S, Rink E. Grandmother and health care professional breastfeeding perspectives provide opportunities for health promotion in an American Indian community. Soc Sci Med 2018;208:80-88. doi: 10.1016/j.socscimed.2018.05.017.

Wambach K, Britt E. Breastfeeding Support Experiences of Registered Nurses in a Large Children's Hospital System. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2018;47(5):632-40. doi: 10.1016/j.jogn.2018.07.007.

Mogre V, Dery M, Gaa PK. Knowledge, attitudes and determinants of exclusive breastfeeding practice among Ghanaian rural lactating mothers. Int Breastfeed J 2016;11:12. doi: 10.1186/s13006-016-0071-z

Dwinanda N, Syarif BH, Sjarif D. Factors affecting exclusive breastfeeding in term infants. Int Breastfeed 2018;58(1):25-35. DOI:10.14238/PI58.1.2018.25-35

Lau CYK, Lok KYW, Tarrant M. Breastfeeding Duration and the Theory of Planned Behavior and Breastfeeding Self-Efficacy Framework: A Systematic Review of Observational Studies. Matern Child Health J 2018;22(3):327-42. doi: 10.1007/s10995-018-2453-x.