ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคปอดติดเชื้อไวรัสโคโรนา-19 ที่ได้รับการรักษา ที่โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19, Coronavirus Disease 2019 หรือ SARS-CoV-2) เป็นโรคอุบัติใหม่ มีการแพร่ระบาดทั่วโลก พบครั้งแรกในนครอู่ฮั่น ประเทศจีน ในไทยพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อต้นปี พ.ศ. 2563 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตจำนวนมาก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับความรุนแรงในผู้ป่วยปอดติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลโชคชัย และจำนวนวันนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาโดยใช้ออกซิเจน
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน วินิจฉัยปอดติดเชื้อจากเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 รักษาที่โรงพยาบาลโชคชัย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ทั้งหมด 476 คน โดยใช้ สถิติพรรณนา สถิติอนุมานได้แก่ Univariate analysis และ multiple logistic regression
ผลการศึกษา: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคปอดติดเชื้อโคโรนาไวรัส-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี, BMI ≥ 25 กก./ม2 เกิดความรุนแรง มากกว่า 1.64 เท่า (95%CI, 1.03-2.6; p-value=0.04) และ 1.77 เท่า (95%CI, 1.17-2.66; p-value < 0.05) ตามลำดับ, โรคประจำตัวที่สัมพันธ์กับความรุนแรง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส-19 จำนวน 2 เข็ม เกิดความรุนแรงของโรคน้อยกว่า คนที่ไม่ได้รับวัคซีน 0.16 เท่า
สรุป: ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคปอดติดเชื้อโคโรนา-19 ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี, มีภาวะน้ำหนักเกิน, ผู้ที่มีโรคประจำตัว และไม่ได้รับฉีดวัคซีน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มโรคติดต่อระหว่างประเทศ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) มาตราการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. ประกาศออนไลน์ 14 มกราคม 2564. [อินเตอร์เน็ท]. [ สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน2564]. ค้นได้จาก:URL: 1) วิเคราะห์สถานการณ์ covid (15 มค64cp).pdf (moph.go.th)
Hu B, Guo H, Zhou P, Shi ZL. Characteristics of SARS-CoV-2 and COVID-19. Nat Rev Microbiol 2021;19(3):141-54. doi: 10.1038/s41579-020-00459-7.
World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard. [Internet]. [Cited 2021 April 22]. Available from:URL: WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard | WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard With Vaccination Data.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [อินเตอร์เน็ท]. 2565. [ สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน2565]. ค้นได้จาก:URL: Microsoft Word - CPG_COVID_v19.5_20211102 (dms.go.th)
Du P, Li D, Wang A, Shen S, Ma Z, Li X. A Systematic Review and Meta-Analysis of Risk Factors Associated with Severity and Death in COVID-19 Patients. Can J Infect Dis Med Microbiol 2021;2021:6660930. doi: 10.1155/2021/6660930.
Singh R, Rathore SS, Khan H, Karale S, Chawla Y, Iqbal K, et al. Association of Obesity With COVID-19 Severity and Mortality: An Updated Systemic Review, Meta-Analysis, and Meta-Regression. Front Endocrinol (Lausanne) 2022;13:780872. doi: 10.3389/fendo.2022.780872.
Hayawi K, Shahriar S, Serhani MA, Alashwal H, Masud MM. Vaccine versus Variants (3Vs): Are the COVID-19 Vaccines Effective against the Variants? A Systematic Review. Vaccines (Basel) 2021;9(11):1305. doi: 10.3390/vaccines9111305.
Rees EM, Nightingale ES, Jafari Y, Waterlow NR, Clifford S, B Pearson CA, et al. COVID-19 length of hospital stay: a systematic review and data synthesis. BMC Med 2020;18(1):270. doi: 10.1186/s12916-020-01726-3.