การศึกษาปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณศีรษะในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว

Main Article Content

ฐาปนีย์ บุญแก้ว

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ปัจจุบันการใช้ภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อการวินิจฉัยโรคเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากความสะดวกรวดเร็ว มีส่วนช่วยในการกระบวนวินิจฉัยโรคได้หลากหลายและแม่นยำ แต่ในการเข้ารับการตรวจด้วยเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์จะทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสี ซึ่งจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางชีวภาพ จึงมีความจำเป็นต้องมีการติดตามเฝ้าระวังปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจ
วัตถุประสงค์: เพื่อหาค่าปริมาณรังสี CTDIvol และ DLP ของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณศีรษะ และคำนวณหาค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา หาค่าปริมาณรังสี CTDIvol และ DLP ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณศีรษะที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2565- 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 และมีอายุมากกว่า 15ปี โดยแบ่งตามประเภทการตรวจ 2 ประเภท คือ การตรวจ แบบไม่ฉีดสารทึบรังสี และ ฉีดสารทึบรังสี เป็นจำนวน 327 และ 146 คน ตามลำดับ
ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ย(ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน), ค่ามัธยฐาน, พิสัยควอไทล์ ของปริมาณรังสี CTDIvol และ DLP ของกลุ่มไม่ฉีดสารทึบรังสี มีค่าดังนี้ 93.8(46.6), 69.7, 52.3 และ 1968.1(1143.1), 1489.1, 1019.2 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ย(ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน), ค่ามัธยฐาน, พิสัยควอไทล์ ของปริมาณรังสี CTDIvol และ DLP ของกลุ่มฉีดสารทึบรังสี มีค่าดังนี้ 91.6(44.4), 69.7, 63.4 และ 1909.7(832), 1475.1, 1208.1 ตามลำดับ ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของ CTDIvol และ DLP ในกลุ่มไม่ฉีดสารทึบรังสีมีค่า 122 mGy และ 2508.3 mGy.cm ตามลำดับ ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของ CTDIvol และ DLP ในกลุ่มฉีดสารทึบรังสีมีค่า 126.8 mGy และ 2584.6 mGy.cm ตามลำดับ ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้วสูงกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิง ของประเทศไทย สหราชอาณาจักร และอเมริกา
สรุป: ค่าปริมาณรังสีอ้างอิง CTDIvol และ DLP ทั้งในกลุ่มไม่ฉีดสารทึบรังสีและฉีดสารทึบรังสี มีค่าสูงกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของประเทศไทย สหราชอาณาจักร และอเมริกา ดังนั้นควรมีการเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์ในการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Mettler FA Jr, Bhargavan M, Faulkner K, Gilley DB, Gray JE, Ibbott GS, et al. Radiologic and nuclear medicine studies in the United States and worldwide: frequency, radiation dose, and comparison with other radiation sources--1950-2007. Radiology 2009;253(2):520-31. doi: 10.1148/radiol.2532082010.

Brenner DJ, Hall EJ. Computed tomography--an increasing source of radiation exposure. N Engl J Med 2007;357(22):2277-84. doi: 10.1056/NEJMra072149.

Vetter RJ. ICRP Publication 103, The Recommendations of the International Commission on Radiological Protection. Health Phys 2008;95(4):445-6.

Redberg RF. Cancer risks and radiation exposure from computed tomographic scans: how can we be sure that the benefits outweigh the risks? Arch Intern Med 2009;169(22):2049-50. doi: 10.1001/archinternmed.2009.453.

Preston DL, Ron E, Tokuoka S, Funamoto S, Nishi N, Soda M, et al. Solid cancer incidence in atomic bomb survivors: 1958-1998. Radiat Res 2007;168(1):1-64. doi: 10.1667/RR0763.1.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. National Diagnostic Reference Levels in Thailand 2021. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด; 2564.

กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. จำนวนผู้ป่วยรังสี จำแนกตามกลุ่ม 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2565. สระแก้ว : โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ; 2565. (เอกสารอัดสำเนา).

Government of United Kingdom. UK National Diagnostic Reference Levels (ndrls) from 13 October 2022. [Internet]. GOV.UK; 2022. [cited 2022 Oct 29]. Available from:URL: https://www.gov.uk/government/publications/diagnostic-radiology-national-diagnostic-reference-levels-ndrls/ndrl.

Kanal KM, Butler PF, Sengupta D, Bhargavan-Chatfield M, Coombs LP, Morin RL. U.S. Diagnostic Reference Levels and Achievable Doses for 10 Adult CT Examinations. Radiology 2017;284(1):120-33. doi: 10.1148/radiol.2017161911.

Pema D, Kritsaneepaiboon S. Radiation Dose from Computed Tomography Scanning in Patients at Songklanagarind Hospital: Diagnostic Reference Levels. J Health Sci Med Res 2020;38(2):135-43. doi: 10.31584/jhsmr.2020732

วลัยรัตน์ เงาดีงาม. ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลสิชล. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2564;12(2):97-107.

Christner JA, Kofler JM, McCollough CH. Estimating effective dose for CT using dose-length product compared with using organ doses: consequences of adopting International Commission on Radiological Protection publication 103 or dual-energy scanning. AJR Am J Roentgenol 2010;194(4):881-9. doi: 10.2214/AJR.09.3462.