ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 1-2
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การที่บุคคลมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคไตวายเรื้อรังย่อมส่งผลให้มีพฤติกรรมในการปฏิบัติตนที่เหมาะสม เมื่อมีการปฏิบัติตนที่เหมาะจะส่งผลให้มีสุขภาพดี เมื่อมีสุขภาพดีย่อมมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 1-2
วิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ โดยดำเนินการศึกษากลุ่มตัวอย่าง อายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 115 คน ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบประเมินคุณภาพชีวิตวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง การหาความสัมพันธ์ พบว่า มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในทักษะการจัดการตนเองสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.20,p=0.03) และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในทักษะการตัดสินใจสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.37, p=0.00)
สรุป: ความรอบรู้ด้านสุขภาพทักษะการจัดการตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองและความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านทักษะการตัดสินใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กันตพร ยอดใชย. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง: การพยาบาลและการจัดการอาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: บริษัทนี โอพ้อยท์ (1995) จำกัด; 2563.
คณะอนุกรรมการการลงทะเบียนการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย. ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ.2563. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564] ค้นได้จาก:URL: คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565 – สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย (nephrothai.org)
กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเขตรับผิดชอบจำแนกตาม Stage. [อินเตอร์น็ท]. [สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564]. ค้นได้จาก:URL: HDC - Report (moph.go.th)
Boonstra MD, Reijneveld SA, Foitzik EM, Westerhuis R, Navis G, de Winter AF. How to tackle health literacy problems in chronic kidney disease patients? A systematic review to identify promising intervention targets and strategies. Nephrol Dial Transplant 2020;36(7):1207-21. doi: 10.1093/ndt/gfaa273.
Stømer UE, Wahl AK, Gøransson LG, Urstad KH. Exploring health literacy in patients with chronic kidney disease: a qualitative study. BMC Nephrol 2020;21(1):314. doi: 10.1186/s12882-020-01973-9.
สายฝน สารินทร์, สุทธีพร มูลศาสตร์, วรวรรณ ชัยลิมปมนตร. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพใน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562(2);29:86-101.
จตุพร จันทะพฤกษ์, ลักขนา ชอบเสียง. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองในการชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-2. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2563;14(34):243-58.
ชญาภา วรพิทยาภรณ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, นพวรรณ พินิจขจรเดช. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคไตเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2564; 27(1):77-91.
พรรณทิพา ศักดิ์ทอง. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2562.
Pagels AA, Söderkvist BK, Medin C, Hylander B, Heiwe S. Health-related quality of life in different stages of chronic kidney disease and at initiation of dialysis treatment. Health Qual Life Outcomes 2012;10:71. doi: 10.1186/1477-7525-10-71.
สมพร ชินโนรส, ชุติมา ดีปัญญา. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 2562;5(2):54-67.
Hakeem Ismael N, Omer Rashid A. Health-Related Quality of Life in End-Stage Renal Disease Patients and Healthy Individuals. Galen Med J 2020;9:e1987. doi: 10.31661/gmj.v9i0.1987.
Baker DW. The meaning and the measure of health literacy. J Gen Intern Med 2006;21(8):878-83. doi: 10.1111/j.1525-1497.2006.00540.x.
Green LW, Krueter M.W. Health promotion planning an education and ecological approach. 4th. ed. Michigan : McGraw-Hill Education ; 2005.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของ ทาโรยามาเน และเครจซี-มอร์แกน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2562 ; 6(1): 26-58.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ,
วราณี พรมานะรังกุล. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564]. ค้นได้จาก: https://dmh.go.th/test/whoqol/.
ลัลนา แกล้วกล้า, อทิตยา สระทองแว่น, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น, นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, ยุวดี ตรงต่อจิต, อภิรัก แสนใจ และคณะ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง ; วันที่ 8-9 กรกฎาคม 2564 ; ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม : 2564.
.Yu PS, Tsai YC, Chiu YW, Hsiao PN, Lin MY, Chen TH, et al. The Relationship between Subtypes of Health Literacy and Self-Care Behavior in Chronic Kidney Disease. J Pers Med 2021;11(6):447. doi: 10.3390/jpm11060447.
Wong KK, Velasquez A, Powe NR, Tuot DS. Association between health literacy and self-care behaviors among patients with chronic kidney disease. BMC Nephrol 2018;19(1):196. doi: 10.1186/s12882-018-0988-0.
Tsai MD, Tsai JP, Chen ML, Chang LC. Frailty, Health Literacy, and Self-Care in Patients with Chronic Kidney Disease in Taiwan. Int J Environ Res Public Health 2022;19(9):5350. doi: 10.3390/ijerph19095350.