อัตราการรอดชีพและผลการรักษาของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ประภา ธีรลีกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน(Acute Lymphocytic Leukemia, ALL) เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดให้ผลเป็นที่น่าพอใจ พบอัตราการรอดชีพมากกว่า ร้อยละ 90 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่พบบ่อยคือ การติดเชื้อรุนแรงจากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำหลังให้ยาเคมีบำบัดและโรคกลับ
วัตถุประสงค์: เพื่อทราบอัตราการรอดชีพและผลการรักษาของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในผู้ป่วยเด็ก ที่ใช้ Thai Pediatric Oncology Group-based protocol(ThaiPOG-based protocol) และปัจจัยที่อาจจะมีผลต่ออัตราการรอดชีพของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ปี พ.ศ.2554 - 2565
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในเด็กที่เข้ารับการวินิจฉัยและรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ที่โรงพยาบาลศรีสะเกษปี พ.ศ. 2554 – 2565 จำนวน 53รายวิเคราะห์อัตราการรอดชีพผลการรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยสถิติเชิงพรรณนา survival analysis และ Cox’s proportional hazard model
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 53 ราย ส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี เพศชายมากกว่าเพศหญิง 1.1 เท่าพบชนิด pre-B cell ALL มากที่สุด ร้อยละ 86.8 อัตราการรอดชีพรวม ร้อยละ 72.6 relapse rate ร้อยละ 13.2, ผู้ป่วยเสียชีวิต ร้อยละ 24.5, ผู้ป่วยความเสี่ยงมาตรฐานมีอัตรารอดชีพที่ 3 ปีดีที่สุดตามด้วยความเสี่ยงสูงและสูงมาก ร้อยละ 79.4, 76.4 และ 42.9 (p = 0.01) ตามลำดับ ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงมาก
สรุป: อัตรารอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในเด็กที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว พบมีอัตราการรอดชีพที่ต่ำกว่า แต่ใกล้เคียงกับการศึกษาที่ทำในประเทศไทยการติดเชื้อรุนแรงและโรคกลับเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตซึ่งส่งผลต่ออัตราการรอดชีพของผู้ป่วย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Wiangnon S, Veerakul G, Nuchprayoon I, Seksarn P, Hongeng S, Krutvecho T, et al. Childhood cancer incidence and survival 2003-2005, Thailand: study from the Thai Pediatric Oncology Group. Asian Pac J Cancer Prev 2011;12(9):2215-20. PMID: 22296359

Bhojwani D, Yang JJ, Pui CH. Biology of childhood acute lymphoblastic leukemia. Pediatr Clin North Am 2015;62(1):47-60. doi: 10.1016/j.pcl.2014.09.004.

Lanzkowsky P, Lipton JM, Fish JD. Lanzkowsky’s manual of pediatric hematology and oncology. 6thed. London : Academic Press; 2016.

Pizzo P, Poplack D. Principles and Practice of Pediatric Oncology. 7th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2016.

Locatelli F, Schrappe M, Bernardo ME, Rutella S. How I treat relapsed childhood acute lymphoblastic leukemia. Blood 2012;120(14):2807-16. doi: 10.1182/blood-2012-02-265884.

ชมรมโรคมะเร็งเด็กแห่งประเทศไทย, สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). แนวทางการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : ชมรมโรคมะเร็งเด็กแห่งประเทศไทย; 2561.

Bunyatisai W, Jia-Mahasap B, Chitapanarux I. Treatment Outcomes of Acute Lymphoblastic Leukemia in both children and adults using the Thai Pediatric Oncology Group-based protocol at Chiang Mai University hospital. มะเร็งวิวัฒน์ วารสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย 2562;25(1):12-28.

Wongmeerit P, Suwanrungruang K, Jetsrisuparb A, Komvilaisak P, Wiangnon S. Trends in Survival of Childhood Cancers in a University Hospital, Northeast Thailand, 19932012. Asian Pac J Cancer Prev 2016;17(7):3515-9. PMID: 27510002

Seksarn P, Wiangnon S, Veerakul G, Chotsampancharoen T, Kanjanapongkul S, Chainansamit SO. Outcome of Childhood Acute Lymphoblastic Leukemia Treated Using the Thai National Protocols. Asian Pac J Cancer Prev 2015;16(11):4609-14. doi: 10.7314/apjcp.2015.16.11.4609.

Hunger SP, Lu X, Devidas M, Camitta BM, Gaynon PS, Winick NJ, et al. Improved survival for children and adolescents with acute lymphoblastic leukemia between 1990 and 2005: a report from the children's oncology group. J Clin Oncol 2012;30(14):1663-9. doi: 10.1200/JCO.2011.37.8018.

Teachey DT, Pui CH. Comparative features and outcomes between paediatric T-cell and B-cell acute lymphoblastic leukaemia. Lancet Oncol 2019;20(3):e142-e154. doi: 10.1016/S1470-2045(19)30031-2.

Chotsampancharoen T, Songthawee N, Chavananon S, Sripornsawan P, McNeil EB. Relapsed Childhood Acute Lymphoblastic Leukemia: Experience from a Single Tertiary Center in Thailand. Asian Pac J Cancer Prev 2022;23(10):3517-22. doi: 10.31557/APJCP.2022.23.10.3517.

Oskarsson T, Söderhäll S, Arvidson J, Forestier E, Montgomery S, Bottai M, et al. Relapsed childhood acute lymphoblastic leukemia in the Nordic countries: prognostic factors, treatment and outcome. Haematologica 2016;101(1):68-76. doi: 10.3324/haematol.2015.131680.

Öztürk AP, Koç B, Zülfikar B. Acute Complications and Survival Analysis of Childhood Acute Lymphoblastic Leukemia: A 15-year Experience. Clin Lymphoma Myeloma Leuk 2021;21(1):e39-e47. doi: 10.1016/j.clml.2020.08.025.

Marwaha RK, Kulkarni KP, Bansal D, Trehan A. Pattern of mortality in childhood acute lymphoblastic leukemia: experience from a single center in northern India.

J Pediatr Hematol Oncol 2010;32(5):366-9. doi: 10.1097/MPH.0b013e3181e0d036.