การพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายในผู้ป่วยระยะกลางผ่านระบบไลน์ออฟฟิตเชียล

Main Article Content

มนัสวี ให้ศิริกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: เมื่อผู้ป่วยระยะกลางกลับพักฟื้นที่บ้านมักพบปัญหาผู้ดูแลจดจำวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพไม่ได้ และผู้ดูแลที่บ้านไม่ใช่ผู้ที่ผ่านการอบรมที่โรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ไม่ถูกต้อง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย และความพึงพอใจในการที่ใช้ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายในผู้ป่วยระยะกลางผ่านทางระบบไลน์ออฟฟิตเชียล “การฟื้นฟูผู้ป่วย IMC”
วิธีการศึกษา: การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi-experimental research) แบบการวิจัยกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The one group Pretest Posttest design) การใช้ไลน์ออฟฟิตเชียลเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผลการศึกษา: อาสาสมัครเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยระยะกลาง 26 ราย อายุเฉลี่ย 46.3 ปี(S.D.=12.2) มีคะแนนความรู้ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังได้รับความรู้จากสื่อวิดิทัศน์ในไลน์ออฟฟิตเชียล“การฟื้นฟูผู้ป่วยIMC”คะแนนเฉลี่ย 8.9 (S.D.=1.1) และ 12.1 (S.D.=1.6)ตามลำดับ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญสถิติ(p < 0.05) มีความพึงพอใจในไลน์ออฟฟิตเชียล“การฟื้นฟูผู้ป่วย IMC” อยู่ในระดับดีมาก
สรุป: การพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยการใช้ไลน์ออฟฟิตเชียล“การฟื้นฟูผู้ป่วยIMC” สามารถเพิ่มศักยภาพ และความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะกลางเมื่อกลับไปฟื้นฟูผู้ป่วยที่บ้าน ด้วยการดูวิดีทัศน์เพื่อทบทวนความรู้แล้วนำไปปฏิบัติได้บ่อยเท่าที่ต้องการ สามารถแนะนำต่อบุคคลในครอบครัว และเป็นช่องทางในติดต่อสอบถามปัญหาระหว่างผู้ดูแลกับบุคลากรสาธารณสุขผ่านทางข้อความ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

บุษกร โลหารชุน, ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล, อุไรรัตน์ ศิริวัฒน์เวชกุล, ศุภศิลป์ จำปานาค, วิชนี ธงทอง, และคณะ, บรรณาธิการ. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลางสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ : บริษัทบอร์นทูบีพับลิชชิ่งจำกัด ; 2562.

ทศพล ดีเลข, ปิยกานต์ พัฒนวงศ์, ณัฐพร พุทธิเมธี, รัฐระวี พัฒนรัตนโมฬี, นภสร จรูญศรีโชติกำจร, วลี โชคชัยชำนาญกิจ และคณะ. ปัญหาการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยอัมพาต ณ หมู่บ้านโนนม่วง ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2548;20(4):202-7.

สุภาพร แนวบุตร. ผลโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2558;8(4):88-100.

มนัสวี ให้ศิริกุล. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังเมื่อกลับพักฟื้นที่บ้าน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2562;34(3):385-97.

อนุสรา มั่นศิลป์. ผลการประยุกต์ใช้โปรแกรมการสอนสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านอินเทอร์เน็ตต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองในผู้ป่วยที่ได้รับการทำทางเบี่ยงหลอดเลือดแดงโคโรนารี่. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2565;32(1):88-100.

พรรัตติกาล พลหาญ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และทักษะการใช้ยาสูด โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด. วารสารพยาบาลทหารบก 2562;20(3):93-103.

ดวงกมล สุวรรณ์, วิภา แซ่เซี้ย, ประณีต ส่งวัฒนา. ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2565;9(2):14-25.

Hong SE, Kim CH, Kim EJ, Joa KL, Kim TH, Kim SK, et al. Effect of a Caregiver's Education Program on Stroke Rehabilitation. Ann Rehabil Med 2017;41(1):16-24. doi: 10.5535/arm.2017.41.1.16.

Jeon E, Park HA. Development of the IMB Model and an Evidence-Based Diabetes Self-management Mobile Application. Healthc Inform Res 2018;24(2):125-38. doi: 10.4258/hir.2018.24.2.125.

สุภัทรา สีเสน่ห์, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, วิชชุดา เจริญกิจการ, ฉัตรกนก ทุมวิภาต, วชิรศักดิ์ วานิชชา. ผลของโมบายแอพพลิเคชั่นต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังได้รับการจำหน่าย ออกจากโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561;28(1) :61-74.

โสภาพันธ์ สะอาด. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพโดยใช้สื่อเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2558;26(2):41-9.