กรณีศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ที่มีภาวะซึมเศร้า และหอบหืดร่วม

Main Article Content

วิไลวรรณ วงศ์ทิมากร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: กลุ่มผู้เป็นเบาหวานที่เป็นผู้ป่วยเรื้อรัง และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิด ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลรายกรณีผู้ป่วยโรคบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ที่มีภาวะซึมเศร้า และหอบหืดร่วม
วิธีการศึกษา: กรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จำนวน 2 ราย โดยมีภาวะซึมเศร้า และหอบหืดร่วม ประเมินภาวะสุขภาพโดยใช้แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเรม ร่วมกับการทำ Conference case ก่อนการเยี่ยมบ้านเสริมพลัง
ผลการศึกษา: กรณีศึกษาผู้ป่วยทั้ง 2 ราย พบปัญหาทางการพยาบาลที่เหมือนกัน คือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ สาเหตุและปัจจัย คือ 1) พฤติกรรมการดูแลตนเอง เช่น การรับประทานอาหาร และผลไม้รสหวาน 3) ไม่ออกกำลังกาย ส่วนปัญหาสุขภาพที่ต่างกัน ได้แก่ 1) การนอนหลับ 2) ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล 3) การรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง 4) ปัญหา เศรษฐกิจ ต้องรับผิดชอบครอบครัวมีปัญหาที่แก้ยากมาก คือ ไม่มีพื้นที่สร้างบ้าน โดยได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ พบในผู้ป่วยเบาหวานรายที่ 1 ที่มีภาวะซึมเศร้าร่วม และรายที่ 2 เมื่อมีอาการหอบกำเริบ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการให้การพยาบาลผู้ป่วยทั้ง 2 ราย คือ รูปแบบการให้บริการที่รวมแนวทางการแก้ไขปัญหาจาก ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และสหวิชาชีพอย่างจริงจังทั้งในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมทั้งการเสริมพลังผู้ป่วย
สรุป: การดูแลผู้ป่วยเฉพาะราย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเรมร่วมกับการรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วมทั้งภาวะซึมเศร้า และหอบหืดมีความสำคัญต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและสุขภาพประชากรไทย พ.ศ. 2552. นนทบุรี : สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ; 2555.

World Health Organization. Global action plan for the prevention and control of noncommunicable disease 2013-2020. Geneva : World Health Organization ; 2013.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย,สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3 . ปทุมธานี : ร่มเย็น มีเดีย ; 2560.

เฉลาศรี เสงี่ยม . การพยาบาลผู้จัดการรายกรณีผู้ป่วยเบาหวาน. ใน : ศิริอร สินธุ,และพิเชต วงรอต , บรรณาธิการ. การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์ ; 2558 : 46-9.

โรงพยาบาลชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. รายงานสถิติประจำปี 2564 .สุรินทร์ : กลุ่มงานประกันสุขภาพยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลชุมพลบุรี ; 2564 : 25. (เอกสารอัดสำเนา).

Gordon M. Nursing diagnosis: Process and Application. Michigan: Mosby : 1994.

Orem DM, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice. 6th.ed. St. Louis: Mosby Inc.; 2001.

อรนันท์ หาญยุทธ . กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(3): 137 – 43.

นิสรา พรหมมา. กรณีศึกษาผู้ป่วยเฉพาะราย การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2554;17(1):56-68.