อาการทางคลินิกและผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโควิด-19 ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

นวกร อิงคไพโรจน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ แต่พบปอดติดเชื้ออย่างรุนแรงจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจและเสียชีวิตมากกว่าคนปกติ พบว่าการติดเชื้อ SARS-CoV-2 เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดน้ำหนัก น้อยและทารกตายคลอดเมื่อเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ติดเชื้อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะอาการทางคลินิกและผลลัพธ์ต่อมารดาและทารกของสตรีตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโควิด-19
วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษาครั้งนี้เป็น retrospective study โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของสตรีตั้งครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ทุกรายที่ได้รับการยืนยันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี RT-PCR หรือ Rapid antigen test แล้ววิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: ในระหว่างกรกฎาคม พ.ศ.2564 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2565 มีสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 และคลอด จำนวน 185 ราย มีอายุเฉลี่ย±SD 27.4(±6.8) ปี โดยอายุครรภ์ขณะติดเชื้อเฉลี่ย 37.2(±4.6) สัปดาห์ ร้อยละ 1.6 ของสตรีตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโควิด-19 มีประวัติติดเชื้อจากสมาชิกในครอบครัว พบการติดเชื้อชนิดมีอาการร้อยละ 50.8 โดยส่วน ใหญ่มีอาการเพียงเล็กน้อยคือมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ และมีน้ำมูก และภาวะปอดติดเชื้อรุนแรงจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตร้อยละ 1.1 พบอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 0.5 สำหรับข้อมูลทารกที่คลอดจากมารดาติดเชื้อ SARS-CoV-2 พบภาวะคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 18, ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยร้อยละ 18 ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดร้อยละ 4 และไม่พบการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในทารกแรกเกิด
สรุป: สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 และคลอดบุตรส่วนใหญ่มีอาการเพียงเล็กน้อยและรักษาหาย ไม่พบการติด SARS-CoV-2 ในทารกแรกเกิด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Riou J, Althaus CL. Pattern of early human-to-human transmission of Wuhan 2019 novel coronavirus (2019-nCoV), December 2019 to January 2020. Euro Surveill 2020;25(4):2000058. doi: 10.2807/1560-7917.ES.2020.25.4.2000058.

World Health Organization. WHO Director-General’s opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 11 March 2020 [Internet]. [cited 2021 Nov 1]. Available from:URL: https://www.who.int/director-general/speeches/detail/who-director-general-s-opening-remarks-at-the-media-briefing-on-covid-19---11-march-2020

Worldometer. COVID Live Update: 672,684,005 Cases and 6,740,503 Deaths from the Coronavirus -Worldometer [Internet]. [cited 2023 Jan 20]. Available from:URL: https://www.worldometers.info/coronavirus/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.2564. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/94_19_64.aspx.

Zambrano LD, Ellington S, Strid P, Galang RR, Oduyebo T, Tong VT, et al. Update: Characteristics of Symptomatic Women of Reproductive Age with Laboratory-Confirmed SARS-CoV-2 Infection by Pregnancy Status - United States, January 22-October 3, 2020. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2020;69(44):1641-7. doi: 10.15585/mmwr.mm6944e3.

สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย. สถานการณ์ติดเชื้อ COVID 19 ในหญิงตั้งครรภ์หลังคลอด 6 สัปดาห์และทารกแรกเกิดระหว่าง 1ธันวาคม 2563-16 พฤษภาคม 2564. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://www.nso.go.th/.

Allotey J, Stallings E, Bonet M, Yap M, Chatterjee S, Kew T, et al. Clinical manifestations, risk factors, and maternal and perinatal outcomes of coronavirus disease 2019 in pregnancy: living systematic review and meta-analysis. BMJ 2020;370:m3320. doi: 10.1136/bmj.m3320.

Gurol-Urganci I, Jardine JE, Carroll F, Draycott T, Dunn G, Fremeaux A, et al. Maternal and perinatal outcomes of pregnant women with SARS-CoV-2 infection at the time of birth in England: national cohort study. Am J Obstet Gynecol 2021;225(5):522.e1-522.e11. doi: 10.1016/j.ajog.2021.05.016.

Sze S, Pan D, Nevill CR, Gray LJ, Martin CA, Nazareth J, et al. Ethnicity and clinical outcomes in COVID-19: A systematic review and meta-analysis. EClinicalMedicine 2020;29:100630. doi: 10.1016/j.eclinm.2020.100630.

Menni C, Valdes AM, Polidori L, Antonelli M, Penamakuri S, Nogal A, et al. Symptom prevalence, duration, and risk of hospital admission in individuals infected with SARS-CoV-2 during periods of omicron and delta variant dominance: a prospective observational study from the ZOE COVID Study. Lancet 2022;399(10335):1618-24. doi: 10.1016/S0140-6736(22)00327-0.

Overton EE, Goffman D, Friedman AM. The Epidemiology of COVID-19 in Pregnancy. Clin Obstet Gynecol 2022;65(1):110-22. doi: 10.1097/GRF.0000000000000674.

Bilinski A, Thompson K, Emanuel E. COVID-19 and Excess All-Cause Mortality in the US and 20 Comparison Countries, June 2021-March 2022. JAMA 2023;329(1):92-94. doi: 10.1001/jama.2022.21795.

Wang CL, Liu YY, Wu CH, Wang CY, Wang CH, Long CY. Impact of COVID-19 on Pregnancy. Int J Med Sci 2021;18(3):763-7. doi: 10.7150/ijms.49923.

Cosma S, Carosso AR, Cusato J, Borella F, Carosso M, Bovetti M, et al. Coronavirus disease 2019 and first-trimester spontaneous abortion: a case-control study of 225 pregnant patients. Am J Obstet Gynecol 2021;224(4):391.e1-391.e7. doi: 10.1016/j.ajog.2020.10.005.

Fenizia C, Vanetti C, Rana F, Cappelletti G, Cetin I, Biasin M, et al.

SARS-CoV-2 vertical transmission during the first trimester of pregnancy in asymptomatic women. Int J Infect Dis 2022;124:159-63. doi: 10.1016/j.ijid.2022.09.020.

Malik S, Jain D, Bokade CM, Savaskar S, Deshmukh LS, Wade P, et al. Outcomes in neonates born to mothers with COVID-19 during the second wave in India. Eur J Pediatr 2022;181(9):3537-43. doi: 10.1007/s00431-022-04546-0.