ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงโรคในผู้ป่วยโคโรน่าไวรัส 2019 ที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลนางรอง

Main Article Content

จิตตรา ศรีธัญรัตน์
ปทมพร อภัยจิตต์

บทคัดย่อ

หลักการเหตุผล: สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโคโรน่าไวรัส 2019 ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก หากทราบปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรค จะช่วยให้แพทย์เฝ้าระวัง และวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม และลดอัตราการตายของผู้ป่วยได้
วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงโรคในผู้ป่วยโคโรน่าไวรัส 2019 ในกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิต ในโรงพยาบาลนางรอง
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางย้อนหลัง (Retrospective Cross-sectional study) เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงโรคในผู้ป่วยโคโรน่าไวรัส 2019 ในกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลนางรอง ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Chi-Square Test
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโคโรน่าไวรัส 2019 จำนวน 50 คน พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลเป็นเพศชาย (ร้อยละ 54) อายุ 71- 80 ปี (ร้อยละ38) 2) ปัจจัยด้านสุขภาพ ดัชนีมวลกาย น้อยกว่า (ร้อยละ 40) ไม่ฉีดวัคซีนโคโรน่าไวรัส 2019 (ร้อยละ 52) มีโรคประจำตัว โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน (ร้อยละ 48) 3) ปัจจัยทางคลินิก มีอาการหายใจ หอบเหนื่อย (ร้อยละ 82) เหนื่อยอ่อนเพลีย (ร้อยละ 72) มีเสมหะและไข้ (ร้อยละ 62) ไอและกลืนลำบาก (ร้อยละ 58) 4) ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์และการรักษา มีผลเอกเรย์ปอดชนิด Acute respiratory distress syndrome (ร้อยละ 64) การใส่ท่อช่วยหายใจ (ร้อยละ 36) การใช้ High flow nasal cannula (ร้อยละ 24) ออกซิเจนในเลือด < 94% (ร้อยละ 50) ด้านการใช้ยาในการรักษา Favipiravir (ร้อยละ 46) ยาปฏิชีวนะ อื่นๆ (ร้อยละ 88) Dexamethasone (ร้อยละ 64) Morphine (ร้อยละ 56) การวางแผนล่วงหน้า (ร้อยละ 64) และการดูแลแบบประคับประคอง (ร้อยละ 38) และ 5) ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงโรค ในผู้ป่วยโคโรน่าไวรัส 2019 กลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลนางรอง ได้แก่ ดัชนีมวลกาย p-value > 0.001 (odds ratio 1.688) โรคประจำตัว p-value > 0.001 (odds ratio 1.339) ผลเอกเรย์ปอด p-value > 0.001 (odds ratio 4.769) อายุ p-value = 0.003 (odds ratio 4.769) และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโคโรน่าไวรัส 2019 p-value = 0.008 (odds ratio1.625)
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงโรคในผู้ป่วยโคโรน่าไวรัส 2019 ที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลนางรอง ได้แก่ 1) ดัชนีมวลกาย 2) โรคประจำตัว 3) ผลเอกเรย์ปอด 4) อายุ และ 5) การฉีดวัคซีนโรค โคโรน่าไวรัส 2019

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโคโรนาไวรัส 2019. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/.

โรงพยาบาลนางรอง. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโคโรน่าไวรัส 2019. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลนางรอง ; 2565. (เอกสารอัดสำเนา).

Yin RK. Case Study Research : Design and Method. 3rd ed. Thousand Oaks, California : Sage Publications, Inc ; 2003.

World Obesity Federation. COVID-19 and Obesity: The 2021 Atlas. [Internet]. [cited 2022 March 22]. Available from:URL:https://www.worldobesity.org/resources/ resource-library/covid-19-and-obesity-the- 2021-atlas

พิทยภูมิ สิริเพาประดิษฐ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของอาการผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2565:29(3):70-5.

นงนุช จตุราบัณฑิต.ปัจจัยทำนายระดับความรุนแรงของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดพังงา. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2565;53(27):409-19.

Guan WJ, Liang WH, Zhao Y, Liang HR, Chen ZS, Li YM, et al. Comorbidity and its impact on 1590 patients with COVID-19 in China: a nationwide analysis. Eur Respir J 2020;55(5):2000547. doi: 10.1183/13993003.00547-2020.

Bajpai J, Kant S, Verma A, Patwa AK, Atam V, Chaudhary SC, et al. The Severity of COVID 19 Pneumonia in Vaccinated vs. Non-vaccinated Patients in the Second Wave: An Experience From a Tertiary Care Center in India. Cureus 2022;14(5):e25378. doi: 10.7759/cureus.25378.

Abbasi J. COVID-19 mRNA Vaccines Blunt Breakthrough Infection Severity. JAMA 2021;326(6):473. doi: 10.1001/jama.2021.12619.

Antonelli M, Penfold RS, Merino J, Sudre CH, Molteni E, Berry S, et al. Risk factors and disease profile of post-vaccination SARS-CoV-2 infection in UK users of the COVID Symptom Study app: a prospective, community-based, nested, case-control study. Lancet Infect Dis 2022;22(1):43-55. 22. doi: 10.1016/S1473-3099(21)00460-6.

ปิยนุช ปฏิภาณวัตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2564;7(1):64-71.

กาญจนา เทียบกลาง, ธันยพร จันทร, เฉลิมชัย เลิศอนันต์สิทธิ์. การศึกษาเพื่อหาความรุนแรงและปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์2565;37(3):599-607.

รุจิรา อนุสุริยา. การศึกษาผลของการใช้ยามอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อมเพื่อรักษาอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยระยะท้าย โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2560;25(2):190-8.

จิระ สร้อยสุวรรณ.ความผิดปกติของภาพถ่ายรังสีทรวงอก (Chest X-ray) ของผู้ป่วยติดเชื้อ Covid-19 ในโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2562;10(2):74-9.