ผลการรักษาภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานสูงด้วยการผ่าตัด 10 ปี ย้อนหลังในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

วรเวทย์ โรจน์จรัสไพศาล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานสูง พบได้ประมาณ ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไตซึ่งจะทำให้เพิ่มอัตราการเสียชีวิตมากขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือดเนื่องจากระดับแคลเซียมในเลือดสูงไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดทำให้เกิดการขาดเลือดของอวัยวะที่เส้นเลือดนั้นไปเลี้ยง ดังนั้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้การได้รับการผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ออก ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและลดอัตราการตายได้ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ายังมีความหลากหลายทั้งในแง่ของเทคนิคในการผ่าตัดและอัตราการกลับมาเป็นซ้ำของภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานสูงหลังผ่าตัด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราความสำเร็จและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการรักษาภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานสูงในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังด้วยการผ่าตัด
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ retrospective analytical cohort study กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะต่อมพาไทรอยด์สูงชนิดทุติยภูมิและตติยภูมิในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและได้เข้ารับการผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ร่วมกับการปลูกถ่ายต่อมพาราไทรอยด์ที่แผนก โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่มกราคม พ.ศ.2556 – ธันวาคม พ.ศ.2565 จำนวน 57 คน หาอัตราความสำเร็จและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ เปรียบเทียบระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ก่อนและหลังผ่าตัดที่ระยะเวลาต่างๆ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 57 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 33 ราย (ร้อยละ 57.9) และเพศหญิง 24 ราย (ร้อยละ 42.1) พบภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานสูงชนิดทุติยภูมิ 31 ราย (ร้อยละ 54.4) และตติยภูมิ 26 ราย (ร้อยละ 45.6) อัตราความสำเร็จในการรักษาผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ทำงานสูงในคนไข้โรคไตวายเรื้อรัง ร้อยละ 96.5 มีภาวะ Persistent hyperparathyroidism ร้อยละ 3.5 และไม่มี Recurrent
สรุป: อัตราความสำเร็จของการผ่าตัดภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานสูงในโรคไตวายเรื้อรัง ในโรงพยาบาลสุรินทร์ คิดเป็นร้อยละ 96.5

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

พรเอก อภิพันธุ์, สมจินต์ จินดาวิจักษณ์. อัตราความสำเร็จและปัจจัยที่สัมพันธ์ในการรักษาภาวะต่อมพาราไทรอยด์ ทำงานสูงเกิดในโรคไตวายเรื้อรังด้วยการผ่าตัดและความถูกต้องของการหาตำแหน่งของต่อมก่อนการผ่าตัด. วารสารกรมการแพทย์ 2562;44(5):127-33.

Conzo G, Della Pietra C, Tartaglia E, Gambardella C, Mauriello C, Palazzo A, et al. Long-term function of parathyroid subcutaneous autoimplantation after presumed total parathyroidectomy in the treatment of secondary hyperparathyroidism. A clinical retrospective study. Int J Surg 2014;12(Suppl 1):S165-9. doi: 10.1016/j.ijsu.2014.05.019.

Schlosser K, Veit JA, Witte S, Fernández ED, Victor N, Knaebel HP, et al. Comparison of total parathyroidectomy without autotransplantation and without thymectomy versus total parathyroidectomy with autotransplantation and with thymectomy for secondary hyperparathyroidism: TOPAR PILOT-Trial. Trials 2007;8:22. doi: 10.1186/1745-6215-8-22.

He Q, Zhuang D, Zheng L, Fan Z, Zhou P, Zhu J, et al. Total parathyroidectomy with trace amounts of parathyroid tissue autotransplantation as the treatment of choice for secondary hyperparathyroidism: a single-center experience. BMC Surg 2014;14:26. doi: 10.1186/1471-2482-14-26.

Samorn P, Supsupan W, Pak-art R, Sriussadaporn S, Sriussadaporn S, Kritayakirana K, et al. Outcome of Parathyroidectomy for Renal Hyperparathyroidism: A Single Center Experience. J Med Assoc Thai 2022;105(1):40-5. DOI: 10.35755/jmedassocthai.2022.01.13231

Iorio O, Petrozza V, De Gori A, Bononi M, Porta N, De Toma G, et al. Parathyroid Autotransplantation During thyroid Surgery. Where we are? A Systematic Review on Indications and Results. J Invest Surg 2019;32(7):594-601. doi: 10.1080/08941939.2018.1441344.

Agha A, Loss M, Schlitt HJ, Scherer MN. Recurrence of secondary hyperparathyroidism in patients after total parathyroidectomy with autotransplantation: technical and therapeutic aspects. Eur Arch Otorhinolaryngol 2012;269(5):1519-25. doi: 10.1007/s00405-011-1776-7.

Steffen L, Moffa G, Müller PC, Oertli D. Secondary hyperparathyroidism: recurrence after total parathyroidectomy with autotransplantation. Swiss Med Wkly 2019;149:w20160. doi: 10.4414/smw.2019.20160.

Tominaga Y, Matsuoka S, Uno N, Tsuzuki T, Hiramitsu T, Goto N, et al. Removal of autografted parathyroid tissue for recurrent renal hyperparathyroidism in hemodialysis patients. World J Surg 2010;34(6):1312-7. doi: 10.1007/s00268-010-0412-9.

Faye M, Keita N, Lemrabott AT, Algouzmari I, Faye M, Mbengue M, et al. Surgical management of secondary hyperparathyroidism in dialysis patients in Senegal. Saudi J Kidney Dis Transpl 2021;32(5):1424-30. doi: 10.4103/1319-2442.344763.

Puccini M, Carpi A, Cupisti A, Caprioli R, Iacconi P, Barsotti M, et al. Total parathyroidectomy without autotransplantation for the treatment of secondary hyperparathyroidism associated with chronic kidney disease: clinical and laboratory long-term follow-up. Biomed Pharmacother 2010;64(5):359-62. doi: 10.1016/j.biopha.2009.06.006.

Konturek A, Barczyński M, Stopa M, Nowak W. Subtotal parathyroidectomy for secondary renal hyperparathyroidism: a 20-year surgical outcome study. Langenbecks Arch Surg 2016;401(7):965-74. doi: 10.1007/s00423-016-1447-7.

Kuo YC, Wang SY, Hung YL, Hsu CC, Kou HW, Chen MY, et al. Risk factors of recurrent secondary hyperparathyroidism after adequate primary surgical treatment. Front Endocrinol (Lausanne) 2023;14:1063837. doi: 10.3389/fendo.2023.1063837.

Lee JB, Kim WY, Lee YM. The role of preoperative ultrasonography, computed tomography, and sestamibi scintigraphy localization in secondary hyperparathyroidism.

Ann Surg Treat Res 2015;89(6):300-5. doi: 10.4174/astr.2015.89.6.300.

Patel CN, Salahudeen HM, Lansdown M, Scarsbrook AF. Clinical utility of ultrasound and 99mTc sestamibi SPECT/CT for preoperative localization of parathyroid adenoma in patients with primary hyperparathyroidism. Clin Radiol 2010 Apr;65(4):278-87. doi: 10.1016/j.crad.2009.12.005.

Lando MJ, Hoover LA, Zuckerbraun L, Goodman D. Autotransplantation of parathyroid tissue into sternocleidomastoid muscle. Arch Otolaryngol Head Neck Surg 1988;114(5):557-60. doi: 10.1001/archotol.1988.01860170087025.