การพัฒนารูปแบบการให้บริการทางสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกิ้ง

Main Article Content

ดวงดาว ราตรีสุข
ญาณีกร สีสุรี
ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ส่งผลกระทบทั่วทั้งโลกอย่างรวดเร็ว และมีผลกระทบต่อการให้บริการด้านสุขภาพ ซึ่งการให้บริการผู้ป่วยจะต้องคำนึงถึงการควบคุมและการแพร่ระบาดของโรคร่วมด้วย
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการทางสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
วิธีการศึกษา: วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบ่งเป็น 3 ระยะ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง แพทย์ พยาบาล เภสัชกร เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกิ้ง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: 1) สถานการณ์ของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า มีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมาก สถานที่คับแคบ เกิดความแออัด มีระยะเวลารอคอยนาน 2) การพัฒนารูปแบบการให้บริการทางสุขภาพ โดยจัดบริการผู้ป่วยตามระดับความเสี่ยงทางคลินิก และจำแนกผู้ป่วย ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมโรคได้ดี กลุ่มควบคุมโรคได้ปานกลาง และกลุ่มควบคุมโรคไม่ดี โดยผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มจัดให้ได้บริการตามแนวทางที่กำหนดไว้ 3) ผลการประเมิน พบว่า ลดความแออัดของผู้ป่วย ลดลงเหลือ 5-10 คน ลดระยะเวลารอคอยการรับบริการ เฉลี่ย 30-45 นาที และผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการจัดบริการอยู่ในระดับมาก
สรุปผล: การจัดรูปแบบการให้บริการทางสุขภาพ เป็นบทบาทสำคัญของสหสาขาวิชาชีพ และภาคีเครือข่าย ที่ต้องจัดบริการให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษา และการดูแลได้อย่างเหมาะสม ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาด โรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต] . 2563. [สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564]. ค้นได้จาก : URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other05.pdf.

ปฐมพร ศิรประภาศิริ, สันติ ลาภเบญจกุล, บรรณาธิการ. คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน). กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ; 2563.

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, ทักษิกา ชัชวรัตน์. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา2563;21(2):29-39.

บุษยมาส บุศยารัศมี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงในยุควิถีใหม่ เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5 2566;42(1):63-77.

พรพิมล การญาณ, อรทัย ไชยมะโย. ความพร้อมในการจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2564;6(2):102-10.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกิ้ง. รายงานบริการคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกิ้ง 2564. มหาสารคาม : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ; 2564.

Kemmis S, McTaggart R, Nixon R. The action research planner: Doing Critical Participatory Action Research. 3rd. ed. Melbourne: Deakin University Press; 1988.

Bloom BS, Hastings T, Madaus GF. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill, 1971.

สมเกียรติ ขันติประเสริฐ, พุทธิพร พงศ์นันทกุลกิจ. การพัฒนารูปแบบตำบลวิถีชีวิตใหม่ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงภายใต้สถานการณ์ COVID-19 จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์ การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2565;39(1):80-8.

กฤตพัทธ์ ฝึกฝน, อภิชาติ ใจใหม่, ปัฐยาวัชร ปรากฏผล, อรัญญา นามวงศ์, เอมอร แสงศิริ, ภัทราพร เทวอักษร. การพัฒนารูปแบบการให้บริการของคลินิกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงบรรทัดฐานใหม่ เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจาย เชื้อไวรัสโคโรนา 2019. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565;49(4):369-82.

ประภา ราชา. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;39(3):414-26.