ผลของโรงเรียนเบาหวานสามัคคีต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองความพึงพอใจในการรับบริการและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยเบาหวานยังแนวโน้มที่สูงขึ้น และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดดังนั้นผู้วิจัยซึ่งปฏิบัติงานในบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เล็งเห็นความสำคัญในการจัดระบบบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จึงได้พัฒนาโปรแกรมโรงเรียนเบาหวานสามัคคี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการตนเองในการออกแบบโปรแกรม และดำเนินการวิจัยเรื่องผลของโรงเรียนเบาหวานสามัคคีต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ความพึงพอใจในการรับบริการและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาแนวทางการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมโรงเรียนเบาหวานสามัคคี2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในการรับบริการก่อนและหลังได้รับโปรแกรมโรงเรียนเบาหวานสามัคคี3) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมในเลือดก่อนและหลังได้รับโปรแกรมโรงเรียนเบาหวานสามัคคี
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ที่มีค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ที่มารับบริการตรวจในศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสามัคคี ปีพ.ศ. 2563 จำนวน 67 ราย ได้รับโปรแกรมโรงเรียนเบาหวานสามัคคี โดยประยุกต์แนวคิดการจัดการตนเองในการออกแบบโปรแกรม ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมของโรงเรียนเบาหวานสามัคคี คู่มือการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง แบบสอบถามความพึงพอใจในการรับบริการ และแบบบันทึกค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t-testมีการทดสอบความตรงตามเนื้อหา ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.86 และ 0.80 ตามลำดับ
ผลการศึกษา: หลังได้รับโปรแกรมโรงเรียนเบาหวานสามัคคีกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมโรงเรียนเบาหวานสามัคคีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการรับบริการมีมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุป: โปรแกรมโรงเรียนเบาหวานสามัคคีมีผลให้ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ มีพฤติกรรมจัดการตนเองสูงขึ้น มีความพึงพอใจในการรับบริการมากขึ้น และมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ลด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. Diabetes Fact sheet 2001. [Internet]. [cited 2023 Jan 9]. Available from:URL:http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs312/en.
ปิยนุช ภิญโย, กิตติภูมิ ภิญโย, กันนิษฐา มาเห็ม, ชลทิพย์ สุภาพินิจ, ปานทิพย์ พึ่งไทย. การพัฒนาแนวทางสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2564;41(4):100-14.
วิศรุดา ตีเมืองซ้าย, สุชาติ ทองแป้น. การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงของคลินิกพิเศษโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2561;15(2):194-205.
จรวยพร ใจสิทธิ์, รติรัตน์ มีธรรม, พัชรินทร์ คำแก่น. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2560;40(2):65-73.
จันจิรา วิทยาบำรุง, ปัทมา สุธิต. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้: การทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2563;43(4):36-47.
Likhitluecha N, Atthachaiwat A, Wongsuvansiri S, Sathira-angkura T, Leelawong S. Development of care management model for patients with uncontrolled diabetes. JONAE2017;44(2):141-58.
Wankham C, Wattana C, Khampalikit S. The effects of a self-management program on hypertension-controlling behaviors, and mean arterial pressure among persons with hypertension. Nursing J 2015;42(1):49-60.
Sairat P, Wattana C, Takviriyanun N. Effects of a self-management training program on functional performance, acute exacerbation and quality of life among patients chronic obstructive pulmonary disease. Nursing J2014;41(4):23-35. (In Thai).
Ritklar L, Wattana C, Kitipawong P. Effects of a self-management program on self-management behaviors, dyspnea, activities of daily living, and quality of life among patients with congestive heart failure. Nursing J 2012;39(1):64-76.(In Thai).
กนกวรรณ ด้วงกลัด, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563;36(1):66-83.
Kanfer FH. Self-management method: Helping people change. United States of America: Pergamon; 1980.
คณิตตา อินทบุตร, สุรินธร กลัมพากร, ปาหนัน พิชยภิญโญ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 รายใหม่ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560;31(2):11-27.
ประพิมศรี หอมฉุย, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร, ชญานินท์ ประทุมสูตร. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในกระแสเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2563;12(1):240-54.
กฤตกร หมั่นสระเกษ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, สุนีย์ ละกำปั่น. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2562;25(2):87-103.
ธัสมน นามวงษ์, รัชชนก กลิ่นชาติ, สุมาลี ราชนิยม, พนัชกร ค้าผล, นฤมล ทองภักดี. พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการตนเองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561;29(3):179-93.
เพ็ญบุญญา สัตยสมบูรณ์, สุวรรณี สร้อยสงค์, ภัณฑิรชา เฟื่องทอง, คุณญา แก้วทันคำ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ 2563;6(1):32-47.