การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย : กรณีศึกษาในหอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลมหาสารคาม

Main Article Content

พจนีย์ ขูลีลัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการพยาบาลในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
วิธีการศึกษา: ศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย จำนวน 2 ราย เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยใน แบบประเมินร่างกายและสภาพจิต การสัมภาษณ์ และการสังเกต รวบรวมข้อมูล ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ.2566 ขั้นตอนได้แก่ เลือกผู้ป่วยแบบเจาะจง ประเมินผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูล ปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล อภิปรายผล สรุปและให้ข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษา: กรณีศึกษาทั้งสองรายรับการรักษาในหอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลมหาสารคามมีประวัติขาดยา พยายามฆ่าตัวตายและทำร้ายตนเอง มาด้วยอาการ หูแว่ว เห็นภาพหลอน พยายามทำร้ายตนเองอย่างรุนแรง ได้ประเมินปัญหาสุขภาพด้านร่างกายและปัญหาสุขภาพจิต กำหนดเป็นการพยาบาลใน 2 ระยะ (1) การพยาบาลระยะเร่งด่วน ได้แก่ การป้องกันความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเองซ้ำ การส่งเสริมการทำกิจวัตรประจำวัน การส่งเสริมการรับรู้คุณค่าตนเองและดูแลการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ (2) การพยาบาลในระยะฟื้นฟู ได้แก่ การส่งเสริมทักษะการเผชิญปัญหาที่เหมาะสมและการสร้างทักษะการดูแลตนเองที่บ้าน กรณีศึกษาทั้งสองรายได้รับการรักษาและได้รับการจำหน่ายกลับบ้านอย่างปลอดภัย
สรุปผลการศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ได้แก่ (1) การประเมินผู้ป่วยครอบคลุมทุกมิติ (2) การจัดการสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย (3) ให้การพยาบาลในระยะเร่งด่วน (4) ให้การพยาบาลระยะฟื้นฟู รวมทั้งการเตรียมจำหน่ายโดยส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

World Health Organization. Suicide rates per (100,000 population) [Internet]. 2018 [cited 2023 July 25]. Available from:URL: http://www.who.int/gho/mental_health/suicide_rates_crude/en/

สุภฤกษ์ อุตรินทร์, นวลปรางค์ ดวงสว่าง. สรุปผลการดำเนินงานเพื่อจัดทำเอกสารรับตรวจราชการ รอบที่ 2 /2566. ใน : ประชุมรับตรวจราชการ รอบที่ 2 /2566 ; 29 มิถุนายน 2566 ; ณ โรงพยาบาลมหาสารคาม. จังหวัดมหาสารคาม ; 2566 : 1-17. (เอกสารอัดสำเนา).

กุศลาภรณ์ ชัยอุดมสม, ภัทรี พหลภาคย์, ภาพันธ์ วัฒนวิกย์กิจ, พงศธร พหลภาคย์. จิตเวชศาสตร์. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา ; 2559.

นันทภัค ชนะพันธ์. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า:บทบาทพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วย. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2563;32(1):75-88.

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาวดี, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม ฉบับปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63(4):321-34.

กลุ่มภารกิจการพยาบาล โรงพยาบาลสวนสราญรมย์. คู่มือแบบประเมินคัดกรองโรคจิตและปัญหาสุขภาพจิต. สุราษฏร์ธานี : โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ; 2563.

รัศมน กัลยาศิริ. การเสพติดและผลแทรกซ้อนทางจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

ภิญญดา ภัทรกิจจาธร, จิรวรรณ ชัยวิศิษฎ์. แนวทางการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยจิตเวชตามแบบแผนด้านสุขภาพของกอร์ดอน. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 2563;10(1):156-59.

สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว. การพยาบาลจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ; 2554.

วีระชัย เตชะนิรัติศัย. การบําบัดโดยวิธีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมสําหรับผู้ป่วยในโครงการเฝ้าระวัง การฆ่าตัวตายโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร. [การศึกษาอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต]. สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย ; ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2551.

ภุมรินทร์ อินชัวนี ชนานันท์ แสงปาก สุภาพ เหมือนชู. การพยาบาลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2560;18(2):14-27.

สายฝน เอกวรางกูร. รู้จัก เข้าใจ ดูแล ภาวะซึมเศร้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ส.เอเซียเพรส ; 2554.