ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ถาวรีย์ แสงงาม
ปิยลักษณ์ จันทร์สม
สุกัญญา บุรวงศ์
สุดา ทองทรัพย์
วรีภรณ์ ชัยยะเตชานนท์
วิไลลักษณ์ ไชยมงคล
วาสนา จันทร์ดี
ปัณณทัต บนขุนทด

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การดูแลด้านสุขภาพของบุคคล พยาบาลเป็นวิชาชีพที่มีบทบาทชัดเจนในการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนและทำให้พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นคงอยู่ การสร้างเสริมสุขภาพควรปลูกฝังให้กับนักศึกษาพยาบาล ไม่ใช่เฉพาะในบริบทการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ควรมุ่งหวังให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานพยาบาลในอนาคตด้วย โดยการพัฒนาทั้งทฤษฏีและการปฏิบัติพร้อมๆ กันในตัวนักศึกษาพยาบาล
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้-การรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล
วิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 159 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษา: นักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่านิยม ทัศนคติต่อการรับรู้ประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับดี มีการรับรู้ความสามารถแห่งตน และการรับรู้อุปสรรคต่อการส่งเสริมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษายังบ่งชี้ว่า นักศึกษาพยาบาลที่มีเพศ อายุ รายรับต่อเดือน และระดับการศึกษาของมารดาที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านความรู้-การรับรู้ อันได้แก่ค่านิยม ทัศนคติ การรับรู้ ความสามารถแห่งตน และการรับรู้ประโยชน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคต่อการส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางลบต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
สรุป: การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพเป็นสิ่งที่จำเป็น และต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ควรจัดให้นักศึกษาพยาบาลได้ใช้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ควรจัดกิจกรรมหรือโครงการส่งเสริมสุขภาพในด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการกับความเครียด และด้านการป้องกันอุบัติเหตุให้แก่นักศึกษาพยาบาล เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง และเพื่อพัฒนาให้นักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ธนพร แย้มศรี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35(2):158-68.

Pender NJ. Health promotion in nursing practice. 2nd ed. New York: Applenton Century Crofts; 1987.

Krejcie RV, Daryle WM. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607-10.

กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS FOR WINDOWS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

สราวุฒิ พงษ์พิพัฒน์, ภัทร ยันตรกร, ธัชกร พุกกะมาน. พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2560;1(1):34-45.

Orem DE. Nursing Concept of Practice 4th ed. St Louis: Mosky Inc.; 1991.

Kutner NG, Ory MG, Baker DI, Schechtman KB, Hornbrook MC, Mulrow CD. Measuring the quality of life of the elderly in health promotion intervention clinical trials. Public Health Rep 1992;107(5):530-9.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing Practice. 5th ed. New Jersey : Pearson Prentice Hall ; 2006.

จุมพล รามล, ไกรสร อมัมวรรธน์. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวมของนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต . [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัย และฟื้นฟูสุขภาพ, คณะวิทยาศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย ; ปทุมธานี : วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธรุกิจบัณฑิตย์ ; 2559.

พานทิพย์ แสงประเสริฐ, จารุวรรณ วิโรจน์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน กึ่งเมืองกึ่งชนบทแห่งหนึ่งในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558;23(1):113-26.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ, ชบา คำปัญโญ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ที่ฝึกปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร 2560;25(3):67-76.

ศิโรธร มะโนคำ, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขศึกษา 2562;42(1):146-56.

Becker MH, Haefner DP, Kasl SV, Kirscht JP, Maiman LA, Rosenstock IM. Selected psychosocial models and correlates of individual health-related behaviors. Med Care 1977;15(5 SUPPL):27-46. doi: 10.1097/00005650-197705001-00005.

Bandura A. Self-efficacy: toward a unifying theory of behavioral change. Psychol Rev 1977;84(2):191-215. doi: 10.1037//0033-295x.84.2.191.

Rosenstock IM. The health belief model and preventive health behavior. In: Becker MH., edited. The health belief model and personal behavior. New Jersey: Charles B. Slack; 1974: 27-59.