อัตราการรอดชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตจากการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: โรงพยาบาลศรีสะเกษเป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่มีการช่วยฟื้นคืนชีพ (cardiopulmonary resuscitation:CPR) โดยปฏิบัติตามมาตรฐานและมีแนวทางการดูแลที่ปรับเป็นปัจจุบันตามแนวทางการรักษาที่เป็นสากล อย่างไรก็ตาม พบว่ายังไม่มีการเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพและนำข้อมูลมาเพื่อการพัฒนาที่ชัดเจน
วัตถุประสงค์: เพื่อทราบอัตราการรอดชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตจากการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลศรีสะเกษ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษา Retrospective cohort studyเก็บข้อมูลโดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยผู้ใหญ่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 15ปี ที่มีหัวใจหยุดเต้นในโรงพยาบาลศรีสะเกษ และได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2563 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ผลการศึกษา: ในระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2564 มีผู้ป่วยทั้งหมด 344 รายที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยเป็นเพศชาย จำนวน 228 รายและเพศหญิงจำนวน 116 ราย โดยมีผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นจาก severe sepsis and septic shock มากที่สุด จำนวน 97 ราย (ร้อยละ 28) และลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่พบมากที่สุดคือ Pulseless electrical activity (PEA) จำนวน 179 ราย (ร้อยละ 52.0) มีความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพ (return of spontaneous circulation :ROSC) จำนวน 304 ราย (ร้อยละ 88.6) และอัตราการรอดชีวิต (survival rate) อยู่ที่ร้อยละ 12.8 (44 ราย) ในกลุ่มผู้รอดชีวิต 25 ราย (ร้อยละ 7.2) มีระบบประสาทและสมองทำงานอย่างปกติ (cerebral performance category: CPC 1) ผลการวิเคราะห์ multivariable logistic regressionพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตจากการช่วยฟื้นคืนชีพที่สำคัญคือลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิด Ventricular Fibrillation (VF)ที่มีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้น3.6เท่า(adjusted OR=3.6,95%CI (1.08-11.94) และพบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการช่วยชีวิตเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 นาทีจะทำให้อัตราการรอดชีวิตลดลง 0.9 เท่า (adjusted OR=0.9,95%CI(0.8-0.9)
สรุปผลการศึกษา: อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลศรีสะเกษมีอัตราค่อนข้างต่ำ จึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพการช่วยฟื้นคืนชีพโดยการเชื่อมโยงห่วงโซ่การรอดชีวิตแต่ละขั้นตอนในกระบวนการช่วยฟื้นคืนชีพทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตที่สำคัญคือระยะเวลาที่ใช้ในการช่วยฟื้นคืนชีพ ดังนั้น จึงควรพัฒนาบุคลากรและเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการช่วยฟื้นคืนชีพให้เป็นที่ถูกต้องและรวดเร็ว การฝึกฝนและอบรมบุคลากรเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในการดำเนินกระบวนการช่วยฟื้นคืนชีพจะมีประโยชน์อย่างมากในกรณีฉุกเฉิน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Panchal AR, Bartos JA, Cabañas JG, Donnino MW, Drennan IR, Hirsch KG, et al. Part 3: Adult Basic and Advanced Life Support: 2020 American Heart Association Guidelines for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care. Circulation 2020;142(16_suppl_2):S366-S468. doi: 10.1161/CIR.0000000000000916.
Mozaffarian D, Benjamin EJ, Go AS, Arnett DK, Blaha MJ, Cushman M, et al. Executive Summary: Heart Disease and Stroke Statistics--2016 Update: A Report From the American Heart Association. Circulation 2016;133(4):447-54. doi: 10.1161/CIR.0000000000000366.
Chan PS, Berg RA, Spertus JA, Schwamm LH, Bhatt DL, Fonarow GC, et al. Risk-standardizing survival for in-hospital cardiac arrest to facilitate hospital comparisons. J Am Coll Cardiol 2013;62(7):601-9. doi: 10.1016/j.jacc.2013.05.051.
Suraseranivongse S, Chawaruechai T, Saengsung P, Komoltri C. Outcome of cardiopulmonary resuscitation in a 2300-bed hospital in a developing country. Resuscitation 2006;71(2):188-93. doi: 10.1016/j.resuscitation.2006.04.004
Jintapakorn W, Tasanapitak J, Intaraksa P. Results of cardiopulmonary resuscitation at Songklanagarind Hospital. Songkla Med J 2005;23(Suppl 2): S223-7.
Suraseranivongse S, Somprakit P, Soontranant P, Katesumparn Y, Wongchuengam W.Factors influencing CPR outcome in Siriraj Hospital. J Med Assoc Thai 1998;81(11):835-43.PMID: 9803082
ธวัช ชาญชญานนท์, ปิยวรรณ สุวรรณวงศ์ , ศศิกานต์ นิมมานรัชต.ผลของการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2554;29(1):39-49.
Saghafinia M, Motamedi MH, Piryaie M, Rafati H, Saghafi A, Jalali A, et al. Survival after in-hospital cardiopulmonary resuscitation in a major referral center. Saudi J Anaesth 2010;4(2):68-71. doi: 10.4103/1658-354X.65131.
Sittichanbuncha Y, Prachanukool T, Sawanyawisuth K.A 6-year experience of CPR outcomes in an emergency department in Thailand. Ther Clin Risk Manag 2013;9:377-81. doi: 10.2147/TCRM.S50981.
Fredriksson M, Aune S, Thorén AB, Herlitz J.In-hospital cardiac arrest--an Utstein style report of seven years experience from the Sahlgrenska University Hospital. Resuscitation 2006;68(3):351-8. doi: 10.1016/j.resuscitation.2005.07.011.
ปพิชญา พิเชษฐบุญเกียรติ.ปัจจัยที่ผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร 2564;13(1):43-57.
Pepe PE, Levine RL, Fromm RE Jr, Curka PA, Clark PS, Zachariah BS.Cardiac arrest presenting with rhythms other than ventricular fibrillation: contribution of resuscitative efforts toward total survivorship. Crit Care Med 1993;21(12):1838-43. doi: 10.1097/00003246-199312000-00009.