ผลของระบบสนับสนุนงานเตรียมยาด้วยคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นต่อความคลาดเคลื่อนทางยาในงานเตรียมสารอาหารทางหลอดเลือดดำและน้ำเกลือเฉพาะราย

Main Article Content

วรพจน์ แก้วมะเริง
ปิ่นอนงค์ กิจจนศิริ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การให้อาหารทางหลอดเลือดดำและน้ำเกลือเฉพาะราย จัดเป็นการให้อาหารโดยวิธีพิเศษ มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาความไม่สมดุลของความต้องการพลังงาน, nitrogen , fluids, electrolytes, vitamins และ trace elements ของผู้ป่วย โดยไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หากผู้เตรียมไม่ละเอียดรอบคอบหรือทักษะไม่เพียงพอก็จะเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาในเรื่องปริมาณการเตรียมไม่เหมาะสม หลอดเลือดดำอักเสบหรือการตกตะกอนได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความคลาดเคลื่อนทางยาในงานเตรียมสารอาหารทางหลอดเลือดดำและน้ำเกลือเฉพาะราย เมื่อใช้ระบบสนับสนุนงานเตรียมยาด้วยคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น
วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือใบสั่งเตรียมสารอาหารทางหลอดเลือดดำและน้ำเกลือเฉพาะราย ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างปีงบประมาณ 2563 และ 2564 จำนวนทั้งสิ้น 2,987 ใบ โดยการใช้โปรแกรม Microsoft Excel TPN V.1 ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบความคลาดเคลื่อนทางยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยการหาค่าความถี่ร้อยละ
ผลการศึกษา: จากใบสั่งเตรียมสารอาหารทางหลอดเลือดดำและน้ำเกลือเฉพาะราย 2,987 ใบ ตรวจพบความคลาดเคลื่อนทางยาทั้งหมด 227 ครั้ง ในขั้นตอน Prescribing error ระดับ A, B, C จำนวน 211 ครั้ง (ร้อยละ 93.0) Transcribing error ระดับ A, B, C จำนวน 8 ครั้ง (ร้อยละ 3.5) Dispensing error ระดับ A, B, C จำนวน 4 ครั้ง (ร้อยละ 1.8) และระดับ D จำนวน 4 ครั้ง (ร้อยละ 1.8) ปีงบประมาณ 2563 เภสัชกรสามารถดักจับ Prescribing error ได้จากการแจ้งเตือน 120 ครั้ง จากจำนวนใบสั่งเตรียม 1,606 ใบและปีงบประมาณ. 2564 ดักจับ Prescribing error ได้จากการแจ้งเตือน 91 ครั้ง จากจำนวนใบสั่งเตรียม 1,381 ใบ ปีงบประมาณ 2563 พบ ความคลาดเคลื่อนทางยา Prescribing error ระดับ A, B, C ได้จากการแสดงของโปรแกรม 120 ครั้ง (ร้อยละ 92.3) และปีงบประมาณ 2564 พบความคลาดเคลื่อนทางยา Prescribing error ระดับ A, B, C ได้จากการแสดงของโปรแกรม 91 ครั้ง (ร้อยละ 93.8) ถ้าไม่สามารถดักจับได้อาจส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาในระดับที่สูงได้ (ระดับ D-I) ในปีงบประมาณ 2563 และ 2564 เภสัชกรได้ทำการปรึกษาแพทย์มากที่สุดคือ ปริมาณสารอาหารทางหลอดเลือดดำไม่เหมาะสมกับปริมาณการให้ต่อวันจำนวน 110 ครั้ง (ร้อยละ 48.5) รองลงมาคือ ปรับค่าอิเล็กโตรไลท์ใน TPN จำนวน 77 ครั้ง (ร้อยละ 33.9) ปรับค่า osmolarity ไม่เหมาะสมจำนวน 20 ครั้ง (ร้อยละ 8.9) ปรับค่าสัดส่วนของ calcium และ phosphate อาจทำให้ตกตะตอนจำนวน 4 ครั้ง (ร้อยละ 1.8) ในปีงบประมาณ 2563 และ 2564 พบความคลาดเคลื่อนทางยาระดับ E ขึ้นไปจำนวน 0 ครั้ง และผลการปรึกษาแพทย์ทั้งหมด 211 ครั้ง แพทย์ยอมรับทั้งหมด
สรุป: การใช้ระบบสนับสนุนงานเตรียมยาด้วยคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นในงานเตรียมสารอาหารทางหลอดเลือดดำและน้ำเกลือเฉพาะรายสามารถช่วยป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

โพยม วงศ์ภูวรักษ์. ความรู้ด้านเภสัชกรรมคลินิก : การให้อาหารทางหลอดเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โอเอส พริ้นติ้งเฮาส์ ; 2559.

Bayer-Berger M, Chioléro R, Freeman J, Hirschi B. Incidence of phlebitis in peripheral parenteral nutrition: effect of the different nutrient solutions. Clin Nutr 1989;8(4):181-6. doi: 10.1016/0261-5614(89)90071-x.

Ali A, Walentik C, Mantych GJ, Sadiq HF, Keenan WJ, Noguchi A. Iatrogenic acute hypermagnesemia after total parenteral nutrition infusion mimicking septic shock syndrome: two case reports. Pediatrics 2003;112(1 Pt 1):e70-2. doi: 10.1542/peds.112.1.e70.

McKinnon BT. FDA safety alert: hazards of precipitation associated with parenteral nutrition. Nutr Clin Pract 1996;11(2):59-65. doi: 10.1177/011542659601100259.

Rustico SE, Calabria AC, Garber SJ. Metabolic bone disease of prematurity. J Clin Transl Endocrinol 2014;1(3):85-91. doi: 10.1016/j.jcte.2014.06.004.

Baratloo A, Haroutunian P, Rouhipour A, Safari S, Rahmati F. Hyperkalemia-induced complete heart block. JEPT 2015;1(1):35-8.

อมรรัตน์ แพงไธสง. บทบาททางคลินิกของเภสัชกรในการให้บริการสารอาหารทางหลอดเลือดดำในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.[วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะเภสัชศาสตร์ (เภสัชกรรมคลินิก), บัณฑิตวิทยาลัย ; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2546.

Such Díaz A, Saez de la Fuente J, Esteva L, Alañón Pardo AM, Barrueco N, Esteban C, et al. Drug prescribing in patients with renal impairment optimized by a computer-based, semi-automated system. Int J Clin Pharm 2013;35(6):1170-7. doi: 10.1007/s11096-013-9843-3.

Aworn N,Ratanadechsakul P,Ratanadechsakul J,Sriudorn P,Phadungsai N,Sommart S, Effect of developed “CKD alert pop up” ; Case study in Phanomphrai Hospital, Roiet Province. Routine development program for national research and R2R network partners; 2014 July 23-25; IMPACT Arena, exhibition and convention, Muang thong thani. Bangkok ; 2014 : 56-7.

กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์. รายงานประจำปีกลุ่มงานเภสัชกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 – 2564. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ; 2563. (เอกสารอัดสำเนา).

ชนิดาภา เรืองธุระกิจ, ทิพวรรณ วงเวียน, สุธาบดี ม่วงมี. การพัฒนาโปรแกรมสั่งสารอาหารทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยเด็ก CPOE PEDIATRIC TPN. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2562;44(2):130-6.