ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิด-19 จากการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง

Main Article Content

พรวิภา กุลรัตน์
ศราวัณ พอกเพิ่มดี
เสาวลักษณ์ บุญจันทร์
ศิริศักดิ์ นามพรม
รัตนาวดี ภูมะลา

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: บุคลากรทางการแพทย์เป็นกลุ่มเสี่ยงสัมผัสเชื้อโควิด-19 ระหว่างปฏิบัติงาน เมื่อบุคลากรเจ็บป่วยจะส่งผลกระทบต่อการรักษาพยาบาลและอาจนำไปสู่การแพร่เชื้อไปสู่สังคม
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิด-19 จากการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลตติยภูมิ
วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบ Cross-sectional descriptive and analytical study กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ที่ติดเชื้อตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564–30 กันยายน 2565 สอบสวนโรคด้วยแบบสอบสวน NovelCorona 2H สุ่มตัวอย่างแบบ Stratified random sampling จำนวน 322 คน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดย Chi-square test และ Multiple logistic regression (p< 0.05)
ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์การติดเชื้อโควิด-19 จากการทำงาน ร้อยละ 11.3 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อจากการทำงาน ได้แก่ การสัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด <2 เมตร [OR=52.75 (95% CI=9.97-279.23)] การสัมผัสพื้นผิวสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย [OR=7.09 (95% CI=2.36-21.99)] อายุ 30 ปีขึ้นไป [OR=1.89 (95% CI=1.06-3.35)] การไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันขณะดูแลผู้ป่วย [OR=1.52 (95% CI=1.04-2.23)] และเพศชาย [OR=5.30 (95% CI=1.11-25.38)]
สรุป: พบอุบัติการณ์การติดเชื้อโควิด-19 จากการทำงานในบุคลากรทางการแพทย์ค่อนข้างสูง โดยปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ การสัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด <2 เมตร และการสัมผัสพื้นผิวสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย แต่พบว่าบุคลากรหน่วยสนับสนุนมีการติดเชื้อโควิด-19 ไม่แตกต่างจากกลุ่มสัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด เนื่องจากหน่วยงานเสี่ยงมีอุปกรณ์ป้องกันตนเองและปฏิบัติตามมาตรฐาน ดังนั้นผู้บริหารของหน่วยบริการสาธารณสุข ควรส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด และกำกับติดตามเป็นระยะ จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Worldometer. COVID-19 coronavirus pandemic dashboard. [Internet]. 2019 [cited 2022 July 7]. Available from:URL: https://www.worldometers.info/coronavirus/.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ภายในประเทศ. [อินเตอร์เน็ท]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565]. ค้นได้จาก :URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/.

Centers for Disease Control and Prevention. Basics of COVID-19. [Internet]. 2020 [cited 2022 July 7]. Available from:URL: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/your-health/about-covid-19/basics-covid-19.html.

Wei JT, Liu ZD, Fan ZW, Zhao L, Cao WC. Epidemiology of and Risk Factors for COVID-19 Infection among Health Care Workers: A Multi-Centre Comparative Study. Int J Environ Res Public Health 2020;17(19):7149. doi: 10.3390/ijerph17197149.

World Health Organization. Exploration of COVID-19 health-care worker cases: implications for action. [Internet]. 2021 [cited 2020 July 7]. Available from:URL: https://apps.who.int/iris/handle/10665/333945.

PPTV Online. กรมควบคุมโรค เผย บุคลากรแพทย์ติดโควิด 880 ราย เสียชีวิต 7 ราย. [อินเตอร์เน็ท]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565]. ค้นได้จาก :URL: https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/151418.

Talevi D, Socci V, Carai M, Carnaghi G, Faleri S, Trebbi E, et al. Mental health outcomes of the CoViD-19 pandemic. Riv Psichiatr 2020;55(3):137-44. doi: 10.1708/3382.33569.

Usman N, Mamun MA, Ullah I. COVID-19 infection risk in Pakistani health-care workers: The cost-effective safety measures for developing countries. Soc Health Behav 2020;3(3):75-7 DOI: 10.4103/SHB.SHB_26_20.

Raveendran AV, Jayadevan R, Sashidharan S. Long COVID: An overview. Diabetes Metab Syndr 2021;15(3):869-75. doi: 10.1016/j.dsx.2021.04.007.

Stephen RI, Olumoh J, Tyndall J, Adegboye O. Risk Factors for COVID-19 Infection among Healthcare Workers in North-East Nigeria. Healthcare (Basel) 2022;10(10):1919. doi: 10.3390/healthcare10101919.

Dzinamarira T, Nkambule SJ, Hlongwa M, Mhango M, Iradukunda PG, Chitungo I, et al. Risk Factors for COVID-19 Infection Among Healthcare Workers. A First Report From a Living Systematic Review and meta-Analysis. Saf Health Work 2022;13(3):263-8. doi: 10.1016/j.shaw.2022.04.001.

Costantino C, Cannizzaro E, Verso MG, Tramuto F, Maida CM, Lacca G, et al. SARS-CoV-2 Infection in Healthcare Professionals and General Population During "First Wave" of COVID-19 Pandemic: A Cross-Sectional Study Conducted in Sicily, Italy. Front Public Health 2021;9:644008. doi: 10.3389/fpubh.2021.644008

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แบบสอบสวนผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข (Novelcorona 2H). [อินเตอร์เน็ท]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565]. ค้นได้จาก :URL: https:// ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_form/ novelcorona2h_160564.pdf.

ธมลวรรณ ดนัยสวัสดิ์. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายหลังการฉีดวัคซีนในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก. วารสารโรงพยาบาลระยอง 2564;38:399-413.

Sabetian G, Moghadami M, Hashemizadeh Fard Haghighi L, Shahriarirad R, Fallahi MJ, et al. COVID-19 infection among healthcare workers: a cross-sectional study in southwest Iran. Virol J 2021;18(1):58. doi: 10.1186/s12985-021-01532-0.

Gómez-Ochoa SA, Franco OH, Rojas LZ, Raguindin PF, Roa-Díaz ZM, Wyssmann BM, et al. COVID-19 in Health-Care Workers: A Living Systematic Review and Meta-Analysis of Prevalence, Risk Factors, Clinical Characteristics, and Outcomes. Am J Epidemiol 2021;190(1):161-75. doi: 10.1093/aje/kwaa191.

Al-Kuwari MG, AbdulMalik MA, Al-Nuaimi AA, Abdulmajeed J, Al-Romaihi HE, Semaan S, et al. Epidemiology Characteristics of COVID-19 Infection Amongst Primary Health Care Workers in Qatar: March-October 2020. Front Public Health 2021;9:679254. doi: 10.3389/fpubh.2021.679254.

สลีลา วิวัฒนิวงศ์. การศึกษาเชิงพรรณนาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในภาคกลาง. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565;3(2):9-18.

โรสลิน เทพจันทร์. การบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : เอกสารการสอนชุดวิชา 54102 - Occupational health and safety management. นนทบุรี : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ; 2551.

Amponsah-Tawaih K, Adu MA. Work Pressure and Safety Behaviors among Health Workers in Ghana: The Moderating Role of Management Commitment to Safety.

Saf Health Work 2016;7(4):340-6. doi: 10.1016/j.shaw.2016.05.001.

Ancarani A, Di Mauro C, Giammanco MD. Hospital safety climate and safety behavior: A social exchange perspective. Health Care Manage Rev 2017;42(4):341-51. doi: 10.1097/HMR.0000000000000118.